เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
องค์การบรรเทาอาการหมดไฟ หน่วยนิเท่ดศิลป์broccoliman
ช่วงปรึกษาผู้รู้กับคุณ Hiruna
  • สวัสดีค่ะ พวกเราองค์การบรรเทาอาการหมดไฟ หน่วยนิเท่ดศิลป์

    เป็นกลุ่มเพื่อส่งเสริม passion ในการทำงานให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อทำให้มีความสุขกับการทำงานมากยิ่งขึ้นค่ะ


    วันนี้ขอนำเสนอบทสัมภาษณ์ปรึกษาผู้รู้กับคุณ Hiruna ค่ะ!!


    Hiruna

    ณัฎฐณิชา กระจ่างวงษ์
    คณะมัณฑนศิลป์ ภาควิชาออกแบบนิเทศศิลป์ ม.ศิลปากร


    ช่องทางการติดต่อ :   Facebook 

                                  :   Twitter





    สวัสดีค่ะ ช่วยแนะนำตัวหน่อยค่ะ


    สวัสดีค่ะ ฉัน HIRUNA เป็นนักวาดภาพประกอบ นักวาดการ์ตูน งานที่รู้จักกันดีของฉันคือผลงานปกนิยายต่างๆ กว่า 100 ปกวางแผงอยู่ในร้านหนังสือ และเว็บไซด์นิยายออนไลน์ต่างๆค่ะ นอกจากนี้ก็จะมีงานสินค้าที่เป็น Original วางขายในร้านค้า และงานวาดภาพประกอบอื่นๆด้วย



    ลักษณะงานที่ทำเป็นยังไงบ้างเหรอคะ


    งานภาพประกอบของฉันส่วนใหญ่เป็นปกนิยายดังนั้นงานส่วนใหญ่จะวนๆ อยู่ในวงการหนังสือ นอกจากวาดปกแล้วก็จากวาดภาพประกอบในเล่ม และบางครั้งก็มีงานที่ต้องวาดเพื่อโฆษณาหนังสือ และสินค้าย่อยๆของนิยาย หลักๆของงานออกแบบปกนิยายก็คือการออกแบบเพื่อให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจ อยากหยิบ อยากซื้อหนังสือเล่มนั้นๆ ค่ะ ปกติแล้วนักวาดจะวาดตามบรีฟที่นักเขียนหรือทางสำนักพิมพ์กำหนดมา หรือบางครั้งก็ยืดสิ่งสำคัญที่ควรยึดในบรีฟบางส่วน เช่นลักษณะคาร์แร็กเตอร์ แลนด์มาร์คสำคัญในเรื่อง เหตุการณ์บางอย่าง ที่สื่อสารต่อตัวละครหรือแม้กระทั่งงสัญลักษณ์ภาพ จุดสำคัญที่สุดของงานปกหลักๆคือการทำภาพประกอบที่ขายได้ หรือการทำงานที่ผู้จ้างรู้สึกพึงพอ

    ใจค่ะ 



     ในด้านการทำงาน มีการวางแผนการทำงานบ้างเหรอคะ


    ปกติแล้วจะดูเนื้องานและให้ความสำคัญกับเวลา เพราะว่างานหลังสือ งานตีพิมพ์ทั้งหลายมีกำหนดเวลาหนังสือออกค่ะ ดังนั้นตรงนนี้ต้องคุยกับผู้จ้างให้ดี จะทำงานเลทจนส่งโรงพิมพ์ไม่ทันไม่ได้ ลองประเมินเวลาดูคร่าวๆว่าใช้เวลาแต่งละขั้นตอนเท่าไหร่ งานแต่ละชิ้น เทคนิกและเนื้องานไม่เหมือนกัน อย่างงานปก คืองานที่ต้องการความเนี้ยบความใส่ใจมาก และมีราคาแพงกว่างานภาพที่นำไปทำโมชั่นหรืองานคอมิกที่เน้นจำนวน และตัดทอนรายละเอียดลงค่ะ  ขั้นตอนการทำงานที่รู้สึกว่าต้องชัดเจนที่สุดคืองานเสก็ต ฉันเป็นคนทำเสก็ตละเอียดตั้งแต่ครั้งแรกก็เลยตัดขั้นตอนการส่งเก็ตละเอียดรอบ 2  แต่ขั้นคอนนี้ใช้เวลานานอยู่เหมือนกัน เพราะฉันค่อนข้างละเอียดกับตัวบรีฟมากๆ ฉันจะส่งวิธีการเขียนบรีฟให้ลูกค้าแบบเดียวกัน โดยเพิ่มการเขียน background ตัวละคร Mood&tone ของเรื่องมาด้วยเพื่อที่จะทำความเข้าใจบุคคลิกและนิสัยของตัวละครให้แน่จัดก่อนจะวาดขึ้นมา ฉันให้ความสำคัญกับรายละเอียดเสื้อผ้ามากๆ เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าตัวลครมีรสนิยมอย่างไร ทำอาชีพอะไร บุคคลิกภาพเป็นแบบไหน แน่นอนว่าเสื้อผ้าคือเสน่ห์ของตัวละคร และเป็นเสน่ห์ของงานฉันด้วย แต่ก่อนจะไปถึงดีเทลตรงนั้นเราจะทำ  Thumnail Sketch ขึ้นมาก่อน วาดเยอะมาก 4 - 10 ภาพเลยกว่าจะเจอคอมโพสที่รู้สึกว่าน่าสนใจ แล้วค่อยนำภาพเล็กมาขยาย วาดลงไซส์จริง ลงดีเทล หลังจากนั้นก็เอาไปให้ลูกค้าเรื่อง บางครั้งจะมีการอธิบายคอนเสปต์ในภาพ ว่า ดีเทลงานของเรามีความหมายแบบไหน ทำไมเราถึงวาดแบบนี้ ให้เวลาลูกค้าเลือกหน่อยค่ะ เขาเลือกได้แล้วเราก็ไปทำงานลงสีอะไรต่อให้เสร็จทันตามเวลาที่กำหนด 




     แล้วมีพวกอุปสรรคในการทำงานบ้างไหมคะ


    ถ้าปัจจุบันน้อุปสรรคในการทำงานน่าจะเป็นตัวเองเวลา Burn out ค่ะ(...)  


    แต่ถ้าพูดถึงอุปสรรคระหว่างการทำงานน่าจะเป็นเรื่องบรีฟ นักวาดปกทุกคนน่าจะได้เจอกรณีที่บรีฟตัวละครที่ได้รับจากนักเขียนคนละคนดันเหมือนกันทั้งพระ-นาง  เหมือนกันที่ว่าคือไม่ว่าจะหน้าตา หรือสีผม หรือบางทีเรฟเฟอร์เรนซ์ก็ยังออกมาเหมือนกันอีก ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนะ นิยายมีเป็นพันป็นหมื่นเรื่อง ฉันก็เคยเจอนะ เหมือนกัน 3-4 ปกติดกัน ทีนี้ก็ต้องวาดให้รู้สึกว่ามันไม่ใช่ภาคต่อของกันและกันและมันคือคนละเรื่องกันค่ะ 


    อย่างที่ 3 คือ ตารางงานรวน คิดว่าตรงนี้คงเป็นปัญหากันทุกคนนะ เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เคยทำงานพลาด




     ส่วนวิธีแก้ปัญหาจากอุปสรรคคุณHirunaทำยังไงบ้างเหรอคะ


    ขอพูดเรื่องบรีฟก่อนนะคะ อย่างที่เราบอกไปในข้อของการวางแผนว่าฉันให้ความสำคัญกับบรีฟมากๆ เมื่อเจองานที่หน้าตาตัวลครเหมือนกัน เราก็เลยต้องพึ่งรายละเอียดส่วนอื่น เช่น นิสัยของตัวลคร หรือภูมิหลังที่ไม่เหมือนกัน ตรงนี้ก็จะส่งผลต่อมู้ดโทนของงานมากอยู่เหมือนกันค่ะ สมมุตว่าเป็นตัวละครหญิงสาวผมดำหน้าตาน่ารักเหมือนกันใช่มั้ย แต่นิสัยเขาคงไม่เหมือนกันทุกจุด เช่น ตัวละครเรื่อง A เป็นลูกคนเดียวมีฐานะ ค่อนข้างเอาแต่ใจ  ส่วนเรื่อง B เป็นลูกคนกลาง เป็น working woman  รายละเอียดส่งนี้จะส่งเสริมความแต่กต่างทางบุคลิก เรื่องที่สอง ถ้าเกิดว่าลูกค้าไม่ได้เขียนมาในบรีฟ เราก็จะสอบถามขอข้อมูลเพิ่มจากนักเขียนค่ะ


    เรื่อง  Burn out  นี่แก้ยากเหมือนกัน หลักๆ น่าจะเป็นการพยายามทำให้ตัวเองรู้สึกสบายใจที่จะทำงานก่อนค่ะ เมื่อร่างกายเหนื่อยล้าและเครียดสะสมก็คงถึงเวลาที่จะต้องพักงานแล้ว ปัญหาต่อเนื่องจากเบิร์นเอาท์เลยก็คือทำให้ตารางเวลารวนไปหมดค่ะ ตรงนี้เป็นปัญหาระหว่างเรากับผู้จ้าง ต้องคุยกันดีๆ ชี้แจง condition ของเราตามความเป็นจริงนะคะ จัดตารางเวลาใหม่ อันไหนเลื่อนได้เลื่อน เลื่อน อันไหนเลื่อนไม่ได้ทำอันนั้นก่อนนะคะ  หลักๆ น่าจะมีประมาณนี้ ในเรื่องการสื่อสารงานกับลูกค้า


    คิดว่าหลักๆบางทีเป็นปัญหาของการสื่อสารระหว่างกันของนักวาดนักเขียน ดังนั้นทางที่ดีที่สุดคือคุยกัน ตกลงกันให้ดีตั้งแต่ตอนเริ่มงานค่ะ



    จบไปแล้วค่ะสำหรับช่วงปรึกษาผู้รู้กับคุณHiruna 

    ต้องขอขอบคุณมากๆเลยค่ะ


    พบกันใหม่บทความหน้ากับช่วงปรึกษาผู้รู้กับองค์การบรรเทาอาการหมดไฟ หน่วยนิเท่ดศิลป์

    จะเป็นใครกันนั้น สามารถรอติดตามได้เลยค่า(・ωー)~☆


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in