เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ชิมไปชมไปP. PIM
eat 001: eat clean eat Lebanese food
  • ขอออกตัวไว้ก่อนเลยว่าเราเป็น มนุษย์สาย junk food, ( ความเข้มข้นของการเป็นสมาชิกสาย junk ระดับว่า พิซซ่าเป็นของว่างรอรถติดอะ ซื้อมากินในรถระหว่างทางกลับบ้าน แล้วก็กลับไปกินข้าวเย็นที่บ้านอีกรอบด้วยนะ ) แต่ช่วงนี้กระแสอีทคลีนกำลังมา ก็เลยอยากอินเทรนด์กับเค้าบ้าง เมื่อมนุษย์ผู้หลงใหลใน junk food อยากลอง eat clean ปฎิบัติการหาเมนูใหม่จึงเริ่มขึ้น

    ถ้าให้นึกถึงอาหารสายเพื่อสุขภาพ ใครๆ ก็คงนึกถึงอาหารญี่ปุ่น เวียดนาม หรือร้านมังสวิรัติชิคๆ แต่แบบนั้นมันธรรมดาไป (พูดให้ชัด คือ ผักมันเยอะไปอ่า -.-") ก็เลยขอเจอกันครึ่งทาง ที่ อาหารเลบานอน กินเพื่อสุขภาพฉบับเริ่มต้น (หาข้อมูลมาแล้วว่ามันสุขภาพจริงๆ ไม่ได้โม้)


    ขอมีสาระนิดนึง จากการหาข้อมูลมา อาหารคลีนหรืออาหารสะอาดนั้นเป็นการกินอาหารแบบใส่ใจสุขภาพรูปแบบหนึ่ง ไม่ใช่อาหารเจหรือมังสวิรัติ แต่สะอาดด้วย...

    1. วัตถุดิบ คือ ปราศจากสารพิษ ผ่านการแปรรูปน้อยที่สุด มีไขมันและคลอเรสเตอรอลต่ำ
    2. กรรมวิธีการปรุง คือ ปรุงแต่งน้อย ทำให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด รสไม่จัด หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมัน

    ที่สำคัญต้อง มีครบทั้งห้าหมู่ กินในปริมาณพอดี เพื่อให้ได้พลังงานตามที่ร่างกายต้องการ

    ซึ่งอาหารเลบานอน ตอบโจทย์เหล่านี้อย่างครบถ้วน :D

    อาหารเลบานอนนั้นขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในที่สุดของอาหารเพื่อสุขภาพ และเป็นที่นิยมในแถบตะวันออกกลาง โดยส่วนประกอบหลักจะเน้นไปที่เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักสดและถั่วหลากหลายชนิด ปรุงด้วยการย่าง อบ หรือ ผัดในน้ำมันมะกอก ใช้สมุนไพรและเครื่องเทศในการปรุงรส นอกจากนั้นอาหารเลบานอนยังจัดเป็นอาหารฮาลาล ซึ่งช่วยการันตีความเป็นอาหารสะอาดอีกด้วย


    มือใหม่หัดกินคลีน มื้อแรกจะเป็นยังไง มาดูกัน

    จานแรก

    เรียกน้ำย่อยกันด้วย ผักดองนานาชนิด เสิร์ฟพร้อมซอส 3 แบบ Garlic Mousse ครีมกระเทียม Tahini Sauce ซอสครีมเปรี้ยว นุ่มๆ คล้ายโยเกิร์ต (อันนี้เด็ด) และ Spicy Sauce คล้ายน้ำจิ้มซีฟู๊ด (ใครไม่ใช่สายแซ่บ ระวังลิ้นด้วะ)

    ต่อด้วย Fatouche (ฟาทูส)

    สลัดสไตล์เลบานอน มีเอกลักษณ์พิเศษคือ ใส่ sumac พืชตระกูลเบอร์รี่ ที่ส่งตรงมาจากเลบานอน มีรสเปรี้ยว นำมาปั่นคลุกกับผักสดนานาชนิด ที่เห็นเป็นจุดสีแดงๆนั่นแหละ (โทรไปถามพี่พนักงานว่ามันคืออะไร พี่เค้าบอก "ใส๊ สะแหมะด้วยค่า เป็น ผลลาม้ายมาจากเลบานอนค่า" บทความนี้เขียนนานสุดตรงหาสะแหมะของพี่นี่แหละค่า -,-")  ราดด้วยน้ำสลัดที่มีส่วนผสมของ มิ้นท์ เลมอน เกลือและน้ำมันมะกอก เพิ่มความกรุบกรอบด้วยแป้ง พิต้าอบ ชิ้นเล็กๆ จานนี้รสหนักไปทางเปรี้ยว กินคำแรกทำเอาตาหยี แนะนำว่าให้ทาน.... ครั้งเดียวพอ เห้ย ไม่ใช่ ทานคู่กับขนมปังจะเข้ากันมากกว่า

    # สาระ #อาหารเลบานอนจะใช้เนื้อสัตว์หลักๆ อยู่ 4 ชนิด คือ ไก่ แกะ ลูกแพะ และวัว ซึ่งชาวเลบานอนจะนิยมทานสัตว์ปีกมากกว่าเนื้อแดง ส่วนเนื้อที่นำมาใช้นั้นจะเป็นเนื้อที่ไม่ติดมัน (แต่วันนี้เราขอหนักไปทางเนื้อวัวละกัน)

    ที่พลาดไม่ได้คือ Yellow rice with beef ข้าวอบเนื้อและสตูว์ (เมนูเพลย์เซฟ 5555) จานนี้ส่วนใหญ่นิยมทานเป็นเนื้อลูกแกะ ดูคล้ายข้าวหมกแต่กลิ่นไม่แรงเท่า

    Beef shawarma (ชวาม่าเนื้อวัว)

    ชวาม่า คือ การนำเนื้อสัตว์ไปหมักด้วยเครื่องเทศแล้วนำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆเสียบด้วยแท่งเหล็กที่หมุนได้แล้วอบ เวลาเสิร์ฟจะใช้มีดสไลด์ลงมาเป็นชิ้นเล็กๆ หรือที่เรามักจะเห็นกันบ่อยๆเวลากินเคบับนั่นแหละ (พี่พนักงานกระซิบว่าปรุงแบบนี้เนื้อนุ่มที่สุดในเมนู) สามารถเลือกทานคู่กับข้าว ขนมปังพิต้า หรือเฟรนฟรายด์ (ขอเซนเซอร์ความไม่คลีนละกัน มันอดไม่สั่งไม่ได้จริงๆ)

    และเมนูสุดท้าย ขอกินชีสสักนิดเถอะ.. พี่พนักงานเลยแนะนำเมนูชีสสุดฮิตของที่ร้าน คือ

    Fatayer Cheese (ฟาตาเยอร์ชีส)

    ฟาตาเยอร์คือแป้งพายสไตล์เลบานอน แล้วโป๊ะหน้าด้วยมอสซาเรลล่าชีส (อันนี้ไม่ค่อยคลีนละ :p)

    หิวล่ะซี :P 

    ถึงแม้เมนูที่เอามาเล่าจะดูไม่น่าผ่านกองเซนเซอร์ความคลีน แต่อาหารเลบานอนมีความคลีนอยู่จริง!! ในเมนูอื่นๆอะนะ เช่น hammus เป็นคล้ายๆเนยถั่ว และจานอื่นๆ อยากรู้ต้องลองไปทานเองละกัน


    สรุปมื้อนี้: การกินคลีนไม่ใช่เรื่องยาก (แต่ก็ไม่ง่ายนัก ถ้าคุณเป็นมนุษย์สาย junk เช่นกัน เราเข้าใจจจจจ ค่อยเป็นค่อยไปก็ได้เนอะ)
    เราค้นพบเคล็ดลับ 2 อย่าง

    1. เมื่อเราเปิดใจ อาหารมักจะอร่อยขึ้น
    2. เริ่มด้วยความอยากลอง ลองอาหารบรรยากาศใหม่ๆ ลองร้านเก๋ๆ หรืออย่างเราที่เริ่มจากลองอาหารชาติแปลกๆ ที่ไม่เคยกิน ทำให้รู้สึกสนุกแล้วก็ได้เรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆไปด้วย


    เหมือนได้อันล็อคการกินของตัวเองไปอีกหนึ่งเลเวล เย่!! :D



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in