เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เขียนอะไรก็ได้writearaikordai
ทำไมซีรีส์วาย ≠ ซีรีส์ Queer ?
  • ซีรีส์วายคืออะไร?




               ต้องบอกก่อนว่ารากฐานดั้งเดิมของซีรีส์วายมาจากงานเขียนของญี่ปุ่น หรือที่เรารู้จักกันในชื่อของ Yaoi ที่แปลว่า ไม่มีไคลแม็กซ์ ไม่มีประเด็น ไม่มีความหมาย ง่าย ๆ ก็คือไร้แก่นสารนั่นเอง โดย Yaoi นั้นเป็นวรรณกรรมงานเขียนมาก่อน ในส่วนของโครงเรื่องก็จะเป็นแนว Rom-Com ที่ถูกเขียนขึ้นโดยผู้หญิงจากในมุมมองของผู้หญิง เพื่อผู้หญิง และเป็นเพียงความแฟนตาซีของคนแต่ง (ที่มีต่อความรักแบบชายรักชาย)



    มาพูดถึงงานประเภท Rom-Com กันก่อน 


               งานประเภท Rom-Com คือแหล่งผลิตความแฟนตาซีชั้นดี ซึ่งจะมีความไม่สมจริง มีลักษณะของความเป็น Cis Heterosexual (รักต่างเพศที่มีสำนึกตรงเพศ) อยู่สูงมาก โดยเนื้อหาจะเน้นไปที่ความรักความเบาสมอง มุกตลกโปกฮา รวมสิ่งที่เป็นปัญหามากมายรวมกันอยู่ เช่น เนื้อหา Dub-Con / เนื้อหาที่ขัดกับหลักศีลธรรม / ความ Toxic ของปิตาธิปไตย (ชายเป็นใหญ่)

              ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ เช่น การพยายามลักหลับใน เรื่อง Sixteen Candles งาน Rom-Com ยุค 80s ก็กลายเป็นเรื่องขำขันเบาสมอง หรือตัวละคร AB เป็นแฟนกัน แต่วันนึง เกิดตกหลุมรัก ก็เลยเลิกกับ เพื่อมารักกับ C ด้วยเหตุผลที่ไม่น่าพึงพอใจ แต่สิ่งนี้ดันกลายเป็นเรื่องโรแมนติกที่ยอมรับได้ซะงั้น (ซึ่งมันไม่ได้ไง!) ยังไม่นับลักษณะ Rom-Com แบบอื่น (ไม่ได้เจาะจงแค่วาย) พระเอกที่ขี้หึงหวงหัวรุนแรงก็ได้รับความชอบธรรม หรือเลวร้ายกว่าคือเป็นสิ่งที่น่ารักน่าชังโดยหารู้ไม่เป็นการสนับสนุน Abuser หรือ Toxic Relationship ไปในตัว 


    ? แนะนำสารคดีเรื่อง Romantic Comedy ปี 2019 เพื่อดูเพิ่มเติมว่าปัญหาของ Rom-Com มีอะไรบ้าง



               ซึ่งสิ่งที่เป็นปัญหาคือ งาน Yaoi ดันไปหยิบเอาความ Rom-Com มาใช้ แต่ว่างานประเภท Rom-Com ไม่ได้เป็นงานที่ถูกสร้างขึ้นมารับผิดชอบสังคมตั้งแต่แรกอยู่แล้ว (ปัจจุบันที่เป็นยุคตื่นรู้เราก็จะเห็นงาน Rom-Com หรืองานที่อาศัยโครงสร้างแบบ Rom-Com น้ำดีมากขึ้น อย่าง The Big Sick) มันเป็นงานที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อความแฟนตาซี เพื่อความเพ้อฝันความฟุ้งฝันต่าง ๆ ที่อยู่ในโลกแห่งจินตนาการและตัวซีรีส์ก็ไม่ได้มาเพื่อนำเสนอเรื่องความหลากหลายทางเพศแต่อย่างใด


               ดังนั้น ตัวซีรีส์วายค่อนข้างไม่ให้ความสนใจในสิ่งที่คนในคอมมู LGBTQIA+ โดนกดทับอยู่เลย อีกทั้งยังพยายามอย่างมากที่จะไม่ลงลึกด้านเพศ มาแค่แตะนิดแตะหน่อย มากสุดก็แค่สร้าง Conflict ให้คนดูเห็นว่า “เป็นชายรักชายมันอยู่ยาก”  ทำเพียงแค่ให้คนดูเห็นตัวละครร้องไห้ก็พอ แต่ไม่เคยพาคนดูไปสำรวจชีวิตว่า เขาต้องพบเจอกับความ Struggle ยังไงบ้างที่มากกว่าแค่มาร้องไห้โชว์คนดู


               กลายเป็นว่าซีรีส์วายไม่เคยสะท้อนหรืออธิบายให้ "คนดูที่ไม่ได้สนใจในเรื่องเพศเข้าใจอะไรได้มากขึ้นเท่าที่ควร จากการได้ดูซีรีส์วายเลย" และคนดูจะเห็นเพียงแค่ว่า อ้อ มันก็คือผู้ชายสองคนมายืนกอดกัน จูบกัน มีทะเลาะกันนิดหน่อยแล้วก็กลับมารักกัน จบ .


               และที่แย่ไปกว่านั้นคือ เมื่อซีรีส์วายหยิบเอางานประเภท Rom-Com มาใช้ ก็เลยทำให้ซีรีส์โดนสวมทับด้วยบรรทัดฐานรักต่างเพศ (Heteronormative) เช่น "พระเอก" หรือเมะ จะต้องหล่อ ล่ำ กล้ามใหญ่ ดูมีความเป็น "ผู้ปกป้อง" และในส่วนของ "นายเอก" (หรือพระเอกที่ Feminine กว่า แต่คำว่าพระเอกไม่ถูกนำมาใช้เพราะ Heteronormative อย่างที่กล่าวไป) หรือเคะ จะต้องตัวเล็ก นุ่มนิ่ม หวานเจี๊ยบแบบต้องดูน่าทะนุถนอม หรือมีอำนาจต่อรองบางอย่างที่ด้อยกว่าอีกฝ่าย


               เรียกได้ว่าเนื้อหาทั้งหมดนั้นล้วนแต่เติมเต็มจินตนาการของผู้เสพ และไม่ได้รับผิดชอบต่อสังคมเลยแม้แต่น้อย



    แล้วซีรีส์ Queer คืออะไรล่ะ?




               ถ้าให้อธิบายง่าย ๆ เลยก็คือ ซีรีส์ Queer จะมาพร้อมกับเนื้อหาที่พาคนดูไปสำรวจว่า การที่ตัวละครเป็นคนในคอมมู LGBTQIA+ เขาต้องเจอกับอุปสรรคอะไรบ้าง เช่น การโดนกดทับจากสังคมรอบข้าง การไม่ถูกยอมรับจากที่บ้านหรือคนใกล้ตัว การโดนกีดกันจากโอกาสต่าง ๆ หรือตัวซีรีส์มาพร้อมกับความตั้งใจที่อยากจะสะท้อนให้คนดูได้เห็นว่ามันมีสิ่งนี้อยู่จริง ๆ ในสังคม มันมีคนที่โดนกดทับอยู่จริง ๆ และพวกเขาเหล่านั้นต้องพบเจอกับความยากลำบากมามากแค่ไหน เป็นการส่งสารออกไปให้คนข้างนอก(คนดู) ได้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง และเข้าใจพวกเขาเหล่านั้นมากขึ้น 


               เมื่อเป็นแบบนั้น เราถึงจะเรียกซีรีส์แบบนั้นได้ว่าเป็นซีรีส์ Queer แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าซีรีส์ Queer จะต้องเล่าประเด็นอย่างตรงไปตรงมา หรือดู “ขับเคลื่อน” นั่นเป็นสิ่งที่ผู้สร้างต้องทำการบ้านเองว่า ทำอย่างไรให้ไม่ทุกครั้งที่ทำงานเกี่ยวกับ Queer ต้องโศกเศร้าเคล้าน้ำตาหรือผลักดันขับเคลื่อนอย่างมุทะลุ แต่สามารถนำเสนอภายใต้แนวคิดแบบ show don’t tell ซ่อนไว้ข้างใต้ให้ขบคิด


              อีกข้อแตกต่างที่ชี้ระหว่าง กับ Queer คือ เมื่อพูดถึงงาน จะหมายถึงงานที่มีขนบชายรักชาย (อย่างผิวเผิน) แบบ rom-com (อ้างอิงจากรากเหง้าเดิม) ส่วนงาน Queer หมายถึงงานที่พูดถึง Queer People เป็น Subject ของเรื่อง 


    ? สรุปอีกครั้งคือ 

    • งาน เป็นขนบ เป็นรูปแบบการนำเสนอ 
    • งาน Queer สนใจเรื่อง Subject คือ Queerness 
    • ไม่ใช่เพศ 
    • แต่ Queer เป็นเพศ



    ซึ่งนี่แหละคือความแตกต่างและเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ทำไมซีรีส์วาย  ซีรีส์ Queer


    ? สรุป/เรียบเรียงจากการบรรยายใน Spaces on Twitter ของ @lawen__27 
    ? Cover by: @happywindz

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in