เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
คิดเป็นระบบ สยบทุกปัญหาNairienroo
บทที่ 4 การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis)
  • เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 4.1

    รูปที่ 4.1

    ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาปรับใช้ได้

    โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดวิเคราะห์สาเหตุหาวิธีการปรับปรุงเพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis)

    จากบทที่ 2 ถ้าเราเชื่อมโยงแผนภาพความคิดเชิงระบบในแบบวงจรสมดุล (Balancing Loop) เข้ากับปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 ก็จะได้วงจรสมดุลที่ระบบพยายามปรับตัวเองเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการดังแสดงในรูปที่ 4.2


  • รูปที่ 4.2 Balancing Loop with Systems Analysis

                ดังนั้นหลักสำคัญที่จะบรรลุสิ่งที่ต้องการ (Target) ในวงจรนี้ เราจะต้องทำการวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) โดยเริ่มต้นจะต้องเข้าใจลักษณะอาการของปัญหาก่อนว่าเป็นอย่างไร ?เพื่อที่จะได้เลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาที่เหมาะสม

                ประเภทของปัญหาหากเราจำแนกตามลักษณะอาการของปัญหา จะพบได้อยู่ 2 ลักษณะ

    1.       ปัญหาที่มีลักษณะอาการแบบเรื้อรัง (Chronic Problem)

    ปัญหาแบบ Chronic Problem จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้กระบวนการวิเคราะห์ปัญหาโดยที่ต้องเก็บข้อมูลในรายละเอียดของกระบวนการมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุต่าง ๆโดยกระบวนการวิเคราะห์ที่นิยมใช้ ได้แก่

    a)       LeanSix Sigma (D-M-A-I-C)

    b)       7 Steps of QC Story and 7 QC Tools

    c)       8 Disciplines of Problem Solving           

    2.       ปัญหาที่มีลักษณะอาการแบบครั้งคราว (Sporadic Problem)

    ปัญหาแบบ Sporadic Problem มีลักษณะปัญหาที่เกิดจากสาเหตุที่เรียกว่า Special Causes ซึ่งปรากฎขึ้นมาเฉพาะเหตุการณ์นั้น ๆ ซึ่งสามารถใช้กระบวนการวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้าของปัญหา (Root Cause Analysis) ด้วยวิธีการตั้งคำถามทำไม-ทำไม (Why-Why)

                การใช้กระบวนการวิเคราะห์สาเหตุด้วยวิธีการต่างๆ ก็จะทำให้ได้มาตรการแก้ไขปัญหา (Corrective Action) เพื่อทำการปิดGap แก้ปัญหาให้หมดไป โดยเราจะเจาะลึกในแต่ละเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาในบทต่อๆ ไป


  • แบบฝึกหัดท้ายบท

                จงระบุปัญหาในงานที่เจออยู่ในปัจจุบันแล้วจำแนกว่าเป็นปัญหาในลักษณะใด ควรจะเลือกใช้เครื่องมือใดในการวิเคราะห์ปัญหา

     

    “นายเรียนรู้”

    “อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร”

    “วิทยากร Systems ProblemSolving” และ “วิทยากร Systems Thinking”

    [email protected]

    086-7771833

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in