เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรื่องเล่าจิปาถะD E A R
พฤติกรรมการเล่นโซเชียลที่เห็นแล้วน่าระอา
  •                 ชื่อว่าคนที่กำลังอ่านเรื่องนี้อยู่เล่นโซเชียลเป็นทุกคน จะ Facebook ก็ดี หรือ Twitter ก็ดี แล้วเคยมีไหมครับเวลาที่เราเห็นพฤติกรรมการเล่นโซเชียลของเขาหรือเธอแล้ว รู้สึกระอา อยากจะขายหน้าแทน ผมจึงได้แบ่งจำพวกของคนที่เห็นแล้วรู้สึกน่าระอาเหล่านั้นเพื่อมาเล่าต่อ เผื่อว่าใครจะมีความคิดเห็นตรงกัน แต่ขอออกตัวก่อนนะครับว่าทั้งหมดที่อ่านไปคือความคิดเห็นส่วนตัวล้วน ๆ  และผมเขียนค่อนข้างเหยียด(มั้ง?) อ่านเอาบันเทิงนะครับอย่าซีเรียส มีความเห็นตรงกัน หรือต่างกัน หรือเจออย่างอื่นมาก็มาแสดงความคิดเห็นกันได้นะครับ
    ต่อไปนี้คือตัวอย่างพฤติกรรมดังกล่าว

    • จำพวกที่ 1. ภาษาวิบัติ
                    บางคนจงใจพิมพ์ผิดไปเล็ก ยังพออ่านออกบุคคลประเภทนี้ไม่เข้าค่ายเพราะ อาจเพราะมีจุดประสงค์เพื่อกวนประสาทผู้อ่านเล่น ๆ หรือเพื่อให้แซะบุคคลที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ นั่นคือพิมพ์ผิดจนแทบจะไม่เป็นภาษาอยู่แล้ว ชีกกทุกกฎการใช้ภาษาไทยทั้ง สระ วรรณยุกต์ หรืออาจหนักถึงขั้นเปลี่ยนไวยกรณ์เลยก็มี เราคนธรรมดาไม่มีทางอ่านออกได้ง่าย ๆ เป็นแน่ ซึ่งพวกเขามีจุดประสงค์เพื่ออะไรไม่อาจทราบได้ เพราะเมื่อเราถามพวกเขาว่าทำไมถึงทำแบบนี้ เราก็มักจะได้คำตอบว่า 

    หรือไม่ก็



    • จำพวกที่ 2. คนเหงา
                    คนพวกนี้มักจะขึ้นสถานะว่า "เหงาจัง" "โสดมากมาย" "ไม่มีใครเดินข้างๆ" และก็มักจะแชร์โพสต์อะไรทำนองนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าคนพวกนี้เป็นอะไรกันนักหนา เหมือนพวกเขาจะขาดความอบอุ่น หรือมีปมวัยเด็กที่ไม่มีใครรัก หรืออะไร แต่น่าแปลกที่ในชีวิตจริงๆของคนพวกนี้99% เขาก็มีชีวิตที่ปกติดีนี่ (0.5%คือคนที่เป็นโรคซึมเศร้าจริงๆ 0.5%คือผมไม่แน่ใจ (อิ_อิ) )






    • จำพวกที่ 3. สายเฮิร์ต
    ก็เข้าใจว่าเวลาถูกทิ้ง อกหัก หรือน้อยใจมันก็อย่างจะมีที่ระบายบ้าง แต่คนที่ผมพูดถึงอยู่ ณ ที่นี้ คือ พวกที่เจ็บปวดเสียจนจะปานตาย และที่เห็นได้ชัดคือ อกหักตลอดเวลา! (O_o) คนจำพวกนี้ก็จะคล้ายๆกับจำพวกที่แล้ว หรืออาจจะผสมปนเปกันอยู่ก็ได้ ความต่างมันอยู่ที่ เปลี่ยนจากสเตตัสเหงา มาเป็นสเตตัส "ถูกทิ้ง" "อกหัก" "เขาไม่กลับมา" และคนพวกนี้ก็มักจะโพสต์ประชดประชันตัวเองเสียด้วย! เช่น



                    แน่นอนอย่างที่บอกว่าเขาเหมือนกับจำพวกที่แล้ว ชีวิตเขาก็ปกติเช่นกัน ดูไปแล้วเขาก็ยังเฮอา ยังไปสังสรรค์กับเพื่อนๆได้เหมือนปกติ แต่พอไปถามว่าทำไมแกเฮิร์ตอยู่ตลอดเวลาเลยวะ พวกเขาก็มักจะตอบกลับมาว่า "มึงไม่เข้าใจกูหรอก" โอเคถ้างั้นสิ่งที่เราทำได้ก็คือปล่อยนางเฮิร์ตต่อไป
    • จำพวกที่ 4. แชร์คำคม
                    ก็ตามชื่อเลยครับ ฟีดของคนจำพวกนี้ก็ไม่มีอะไรมาก มีเพียงคำคมที่หรูหรา แต่ทำไมดูไม่มีราคาเอาเสียเลย ผมคงอธิบายได้ว่า เพราะเราเห็นไทม์ไลน์ของเขา มันต่ากับชีวิตจริงของเขามากนัก
                    ทำไมล่ะ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น ? ทำไมคนที่อ่านคำคมเพื่อหาแรงบันดาลใจให้ตัวเองมากมายขนาดนั้นถึงทำตัวสวนทางกัน มีผลงานวิจัยนะครับ บอกว่าคนชอบแชร์คำคม มักไม่ค่อยฉลาด สังเกตได้ง่าย ๆ นั่นคือ คำคมที่คนจำพวกนี้แชร์นั้นถึงจะดูหรูหรา แต่ไม่ความหมายอะไรเลย หรือไม่ก็เป็นคำคมของสายเฮิร์ตและคนเหงาข้างบน ส่วนลิงก์ของงานวิจัยผมจะแปะไว้ด้านล่างเพื่อใครจะไปอ่าน วิจัยชิ้นนี้ผมอ่านแล้วน้ำตาจะไหลเลยครับ อ่านไม่ออก เพราะมันเป็นภาษาอังกฤษ

    • จำพวกที่ 5. พ่อค้าแม่ขาย
                    คนจำพวกนี้ฉลาดมากครับ พวกเขาใช้โซเชียลเป็นเครื่องมือทำมาหากิน แต่เพื่อน ๆ คิดเหมือนกันไหมครับว่าเอ๊ะ ? ขายของก็เป็นเรื่องที่ดีนี่ หาตังค์ใช้ แต่ทำไม่เรารู้สึกเอือม ๆ นั่นก็เพราะของที่เขาขายมักจะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริม กินแล้วขาว กินแล้วผอม ดูดี อกฟู รูฟิต อะไรก็ว่ากันไป แต่ทำไมลักษณะจองคนขายมันสวนทางกับสรรพคุณของผลิตภัณฑ์ของมันทุกอย่างเลยวะ !? เราเลยค่อนข้างที่จะคิดว่า "มันไม่ใช่แล้ว" และรู้สึกเอือมระอากับคนพวกนี้เป็นภาพจำกันไป
                     อย่างไรก็ตาม คนพวกนี้ก็คงไม่แคร์หรอกครับว่าเราจะมองยังไง เพราะในขณะที่เราเอือม เขาก็ได้ตังค์ของจากลูกค้าผู้มีอุปการะคุณของเขา ที่มาซื้อผลิตภัณฑ์ของเขาโดยไม่สนด้วยว่าคนขายจะหน้าตาสวนทางกับผลิตภัณฑ์ขนาดไหน เราเองถ้าไม่คิดจะไปขายด้วย ก็คงทำได้เพียง ภาวะนาขอให้ขายดี ลูกค้าก็ให้ใช้แล้วมีชีวิตเห็นของผลผลิตภัณฑ์ล่ะ




  • คุยกันท้ายตอน

                    เป็นอย่างไรกันบ้างครับ บุคคลที่อ่านมาข้างต้น อาจจะมีเยอะกว่านี้แต่ยังไม่ได้เขียน เพราะอย่าที่บอกนะครับว่าทั้งหมดคือมุมมองและความคิดความอ่านของผมเอง งานวิจัยที่พูดถึงเลยมีแค่ 2 แหล่ง อย่างที่ 2 ก็หยิบเขาอย่างแรกนั่นแหละมาเขียนให้ง่ายขึ้น ผมอาจแก้ไข เพิ่มเติมเรื่องนี้เรื่อย ๆ นะครับ อาจจะเอาจากคอมเม้นต์นั่นแหละมาเล่าต่อ ฉะนั้นก็คอมเม้นต์กันเยอะ ๆ นะครับ 
    D E A R
  • งานวิจัยที่พูดถึง

    Gordon Pennycook, James Allan Cheyne, Nathaniel Barr, Derek J. Koehler,
    Jonathan A. Fugelsang. (2015). On the reception and detection of pseudo-profound bullshit. Judgment and Decision Making, Vol. 10, No. 6. (p. 549–563)
    URL : http://journal.sjdm.org/15/15923a/jdm15923a.pdf?fbclid=IwAR2SKfQ8dEHXsWhlXxFec5h79AG1J_x5R58bKYGdVAF6Yw_IAhCty9dippg

    Jeremy Dean, PhD. (2015). Why You Should Avoid Wise-Sounding But Meaningless Quotes. URL : https://www.spring.org.uk/2015/12/why-you-should-avoid-wise-sounding-but-meaningless-quotes.php?fbclid=IwAR0PovKA273V-Dy5Jt43psCcLs0PHvDS17wdAuxFbsNwRa6sYrZ5lgKGf2U

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in