เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เล่าJacelyn_D
เมาคลีลูกหมาป่า วรรณกรรมอำพลางของลัทธิล่าอาณานิคมสมัยใหม่
  • Disclaimer: ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อการเล่าเรื่องเท่านั้น เนื้อหาในบทความอาจไม่ตรงตามประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัด ผู้ที่สนามารถค้นหาต่ดยอดได้โดยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่งหาก เล่า เกิดความผิดพลาดต่างๆ ขอบคุณทุกท่านที่ผ่านมารับชมค่ะDisclaimer: ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อการเล่าเรื่องเท่านั้น เนื้อหาในบทความอาจไม่ตรงตามประวัติศาสตร์อย่างเคร่งครัด ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาต่ดยอดได้โดยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่งหาก เล่า เกิดความผิดพลาดต่างๆ ขอบคุณทุกท่านที่ผ่านมารับชมค่ะ

    Disclaimer: ทั้งหมดเป็นเพียงเพื่อการเล่าเรื่องเท่านั้น เนื้อหาในบทความมาจากการค้นหาของผู้เขียนอาจมีข้อผิดพลาด ผู้ที่สนใจสามารถค้นหาต่อยอดได้โดยการค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยตนเอง ทั้งนี้ผู้เขียนขออภัยเป็นอย่างยิ่งหาก เล่า เกิดความผิดพลาดต่างๆ ขอบคุณทุกท่านที่ผ่านมารับชมค่ะ

      
              เด็กชายที่ถูกเลี้ยงดูขึ้นมาโดยหมาป่า เรียนรู้กฏแห่งพงไพร และการใช้ชีวิตร่วมกันกับมนุษย์ ทว่าทั้งหมดที่กล่าวมานั้นมันเกี่ยวข้องกับชื่อบทความอย่างไร เราคงต้องพาย้อนไปถึงผู้เขียนวรรณกรรม
    เรื่องนี้เสียก่อน 


    Joseph Rudyard Kipling


                  Joseph Rudyard Kipling เกิดเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2408 ที่เมืองบอมเบย์ ประเทศอินเดียเขาเกิดในบริติชอินเดียช่วงกลางศตวรรษที่สิบเก้า พ่อแม่ของเขาตั้งชื่อเขาตาม Rudyard Lake ใน Staffordshire ซึ่งพวกเขาได้พบกันครั้งแรก 


              คิปลิงเป็นกวีชาวอังกฤษ นักเขียนเรื่องสั้นและนักประพันธ์โดยผลงานส่วนใหญ่ของเขาล้วนสนับสนุนลัทธิจักรวรรดินิยมของอังกฤษ หนึ่งในผลงานสำคัญของเขานั่นก็คือ The White Man's burden ภาระของคนผิวขาว กวีของเขาถูกตีความว่าชาวอังกฤษนั้นเป็นผู้รับภาระจากพระเจ้าให้ขยายอาณาจักรของพระองค์บนโลก เป็นการกระทำเพื่อนำส่ง “ความศิวิไลซ์” ไปให้ประเทศต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับประชาชนของประเทศนั้นๆ และอีกหนึ่งเรื่องที่เราได้ยกมากล่าวถึงในวันนี้ คือ คอลเล็กชั่นเรื่องสั้นของเขา 'The Jungle Book' ประกอบด้วยเจ็ดเรื่องสั้นของ เมาตลี ลูกคนที่ถูกเลี้ยงเลี้ยงโดยหมาป่า


    The Jungle Book กฎแห่งพงไพรที่ตราตรึงอยู่ในคนทุกยุคทุกสมัย


                     The Jungle Book ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารช่วงปี ค.ศ.1893-1894 และถูกนำมาพิมพ์รวมเล่มในภายหลัง โดยภายในหนังสือจะเป็นเรื่องสั้นที่เป็นลักษณะนิทานสัตว์ สัตว์ต่างๆสามารถทำท่าทาง หรือพูดคุยได้เฉกเช่นเดียวกับมนุษย์ มีพฤคิกรรมเป็นแบบอย่างเพื่อเป็นบทเรียนสั่งสอนกฏของการอยู่ร่วมกัน

                   เรื่องเล่าของเมาคลีนั้นประกอบด้วยเรื่องสั้นๆ ทั้งหมด 9 ตอน แต่ละตอนมีตอนจบในตัวเอง โดยเรื่องสั้นทั้ง 9 เรื่องนี้มีเมาคลีเป็นผู้ดำเนินเรื่อง เชื่อมโยงเหตุการณ์  โดยทั้ง 9 เรื่องนั้น ได้แก่ พี่น้องของเมาคลี, การล่าของคา, อาณาจักรแห่งความกลัว, เสือ! เสือ!, ทำลายหมู่บ้าน, พระแสงขอช้างของมหาราชา, หมาแดง, การวิ่งในฤดูใบไม้ผลิ, และ ในไพรพฤกษ์ 

              

    หลากหลายมุมมอง


                    แม้ว่าเรื่อง เมาคลีลูกหมาป่า จะสามารถเล่าและตีความหมายออกมาได้หลายมุมมอง ทั้งในเชิงมิตรภาพ หรือเชิงระบบอุปถัมภ์ แต่แก่นเรื่องโดยแท้ของเรื่องเล่าโดยรวม เป็นประเด็นความเชื่อทางสังคมด้วยมุมมองของเจ้าอาณานิคม โดยมองได้สองระดับ 
     

                     ระดับแรก เป็นทัศนะต่อของเจ้าอาณานิคมที่เหยีดชาวอินเดียพื้นเมืองให้ต่ำกว่าสัตว์ เห็นจากสังคมหมาป่าในเรื่องนี้ที่ดีกว่าสังคมของชาวพื้นเมือง คิปลิงสร้างเรื่องราวให้สังคมหมาป่าอยู่ร่วมกันอย่างมีวัฒนธรรม ที่สำคัญ หมาป่ายังสามารถเลี้ยงดูลูกคน สอนให้รู้จักกฏเกณฑ์ ระเบียบวินัย มีความกล้าหาญ แตกต่างจากในหมู่บ้านที่มีวัฒนธรรม ความเชื่อ ที่ล้าหลังและงมงาย จนสุดท้ายต้องถูกทำลายไปโดยสัตว์ที่มี ความศิวิไลซ์ กว่า


           ระดับที่สอง เป็นทัศนะที่แสดงให้เห็นถึงความฉลาดของเจ้าอาณานิคมในการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทรัพยากรบุคคล โดยในเรื่อง นายฝรั่งใช้เมาคลีซึ่งเป็นผู้ที่มีความคุ้นชินกับผืนป่ามากกว่าใครนั้นมาเป็นผู้ดูแลป่า นอกจากจะได้ผู้คุ้นชินมาเป็นลูกจ้างแล้ว ยังได้สัตว์ต่างๆที่สนิทสนมกับเมาคลีมาเป็นบริวารอีกด้วย ขณะที่ผู้คนพื้นเมืองต่างขับไล่เมาคลี จนเมาคลีต้องหนีกลับเข้าป่า 

                   ทั้งสองมุมมองต่างทำให้เห็นภาพอย่างชัดเจนว่า เจ้าอาณานิคมอังกฤษในดินแดนบริติชอินเดีย มีความฉลาดที่สุด เก่งที่สุด ต่อมาเป็นสัตว์ป่า เพราะในความรู้สึกของเจ้าอาณานิคมสัตว์ป่านั้นมีประโยชน์ และดีกว่า และชนพื้นเมืองอินเดียตามลำดับ


    ภาพลวงตาทางวรรณศิลป์


                     แนวคิดที่ว่ามานั้นเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์สมัยอาณานิคมที่ถูกบันทึกโดยคิปลิงในรูปแบบวรรณกรรม แต่ด้วยความกำกวมของบท ประกอบกับการที่เนื้อเรื่องเเต่ละตอนมีตอนจบในตนเอง ยิ่งเป็นการยากในการตีความออกมาในทิศทางเดียวกัน เราจึงสามารถตีความจากบทเรื่องเมาคลีไปได้อย่างอิสระ กว้างขวาง ทำให้เกิดภาพลวงตาทางวรรณศิลป์ ซึ่งผู็อ่านสามารถนำประโยชน์หรือแนวคิดที่ได้มาใช้โดยละทิ้งแก่นแท้ของความหมายเชิงสังคมไปอย่างสิ้นเชิง อย่างเช่น ในกิจกรรมลูกเสือสำรอง


    บทส่งท้าย


                วรรณกรรมเรื่อง เมาคลีลูกหมาป่า เป็นปรากฏการณ์ไปทั่วทุกภูมิภาคในโลก รวมถึงประเทศไทย ที่เป็นผลมาจากการฝึกอบรมลูกเสือสำรอง ที่มีเครือข่ายไปทั่วโลก และทรรศนะที่อันน่าอดสูของเจ้าอาณานิคมในศตวรรษที่ 18 นั่นคือทรรศนะการเหยียดเพื่อนมนุษย์ให้ต่ำต้อยกว่าสัตว์เดียรัจฉานปรากฏการณ์นี้จึงเป็นตัวอย่างการซ่อนความจริงอย่างแยบยลผ่านกลไกลวัฒนธรรมระดับมหาภาค โดยปราศจากข้อโต้แย้งจากผู็ใด อีกทั้งยังสามารถเปลี่ยนแปลงฐานะของ เมาคลีลูกหมาป่า จากวรรณกรรมอาณานิคมไปสู่วรรณกรรมสำหรับเยาวชนได้อย่างชอบธรรม
    .
    .
    .

    "For the strength of the Pack is the Wolf, and the strength of the Wolf is the Pack."

                Rudyard Kipling 
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in