เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ยChaitawat Marc Seephongsai
อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง By รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
  • รีวิวเว้ย (175) ตั้งแต่โคตรตระกูล ญาติผู้ใหญ่ รู้จักกับสื่ออนไลน์อย่าง facebook และ app สำหรับสื่อสารเพื่อให้ทันโลกอย่าง LINE ดูแล้วชีวิตของใครหลาย ๆ คนที่เป็นลูก ๆ หลาน ๆ ดูจะใช้ชีวิตลำบากขึ้นพอควร เพราะเรามักจะได้รับสวัสดีวันจันทร์ ยันสวัสดีวันอาทิตย์ ที่พอเปิดอ่านแล้วไม่ตอบก็ดูละเป็นลูกหลานที่เหี้ยเข้าไส้ เลยต้องแก้เก้อด้วยการส่ง "สติ๊กเก้อ" รูปอะไรก็ได้ไปสักอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกตัดออกจากกองมรดกในโทษฐาน read แล้วเสือกไม่ตอบ (ใครให้มึงทำว่า read แล้ววะ) 
    หนังสือ : อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง
    โดย : รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์
    จำนวน : 256 หน้า
    ราคา : 210 บาท

               ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ญาติผู้ใหญ่ของเราสามารถ connect โลกได้ตลอดเวลา หรือส่งสวัวดีพร้อมกับดอกไม้ลายพร้อยมาให้ทุกวัน แต่หลายครั้งปัญหามันเริ่มจากข่าวสารในวงการวิทยาศาสตร์สักอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อโลก ร่างกาย ชีวิต จิตใจ ที่มีคนส่งกันต่อ ๆ มาว่า "สำคัญ" "สำคัญสุด ๆ" รักใครให้ส่งต่อให้คนนั้น

              เมื่อเรากดเข้าไปอ่านแล้วเราก็จะพบว่า ข่าวหรือเรื่องต่าง ๆ ที่ส่งมานั้นดูจะพิกลพิการในเรื่องของการให้น้ำหนักข้อมูลที่น่าเชื่อถือ แต่กับญาติผู้ใหญ่ หรือเพื่อนใน facebook ที่ใช้นิ้วนำสมอง แชร์ก่อนคิดทีหลัง เชื่อก่อนค่อตั้งคำถามตามมา หลายครั้งเรื่องราวไม่เป็นเรื่องเหล่านี้มันเป็นเรื่องขึ้นมา เพราะใครหลาย ๆ คนแชร์โดยไม่เช็กว่าข้อมูลต่าง ๆ จริงหรือไม่จริง

              หลายคนอาจจะคิดในใจว่า "กูจะรู้ได้ไงว่าอันไหนจริงอันไหนหลอก" นั่นแหละปัญหาใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นบนโลกทุกวันนี้ ยิ่งเป็นสิ่งที่มีการอ้างอิงเอาวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ง คนยิ่งเชื่อกันแบบไม่ต้องหาเหตุผลมารองรับ เพราะมีเครื่องหมายการค้าว่า "วิทยาศาสตร์" เป็นเครื่องการัญตี

              หลายคนพอเห็นว่ามันมีความเป็น "วิทยาศาสตร์" เลยยอมเชื่ออย่างหมดจิตหมดใจ โดยที่ขาดการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ไปโดยทันที โดยที่หลายคนไม่รู้เลยว่าบนโลกใบนี้มีคำเรียก "วิทยาศาสตร์" ที่ข้อมูลดูเหนือกว่าความเป็นจริงและดูยังไง ๆ ก็ไม่น่าจะเป็นความจริงในทางวิทยาศาสตร์ว่า "pseudo science (สูโดไซน์)" หรือ "วิทยาศาสตร์ลวงโลก"

               "pseudo science (สูโดไซน์)" คือ เรื่องราวของการนำเอายิทยาศาสตร์ มาผูกโยงเข้ากับข้อมูล ความเชื่อ บางอย่างเพื่อสร้างชุดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ดูน่าเชื่อถือ ซึ่งหลายครั้งข้อมูลเหล่านี้ดูเหนือจริงไปมา แต่ด้วยความที่ "วิทยาศาสตร์" เป็นสิ่งที่เข้าใจยากและยากที่จะทำความเข้าใจ หลายคนจึงสยบยอมให้กับวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ และไม่ว่าอะไรที่มีเรื่องวิทย์ ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเรื่องเหล่านั้นคือเรื่องจริง เหตุนี้ "pseudo science (สูโดไซน์)" จึงเป็นที่แพร่หลายอยู่ในโลกใบนี้ (ไม่ใช่แค่คนไทยที่เชื่อในวิทยาศาสตค์ลวงโลก แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าลวง "โลก")

               ตัวอย่างที่ดีของ "pseudo science (สูโดไซน์)" ที่เราสามารถเห็นได้ชัดเจนน่าจะที่สุดในประเทศไทยคงเป็นเรื่องของ "เหรียญควอนตัม" ที่มีการโฆษณาว่าแขวนแล้วจะช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ให้สอดรับกับพลังของจักรวาล แขวนแล้วจะป้องกันโรคภัย ช่วยให้นอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาสดใส มีพลังประดุดควายวัยหนุ่มกลัดมัน และเหรียญดังกล่าวมีการรับรองโดยสถาบัน xxx ที่ถือว่าเป็นสถาบันวิทยาศาสตร์ระดับโลก เพียงเท่านี้หลายคนก็พร้อมที่จะควักเงินหลาย 1,000 กระทั่งถึงหลาย 100,000 เพื่อให้ได้เหรีญตราพลังจักรวาลมาไว้ในครอบครอง เพื่อความเป็นอมตทางร่างกายตามที่โฆษณา ซึ่งนี่เป็นเพียงตัวอย่างเล็กน้อยของ "pseudo science (สูโดไซน์)" เท่านั้น เพราะถ้าให้ไล่เรียงกันว่าโลกเคยเจอกับ "pseudo science (สูโดไซน์)" อะไรมาบ้าง เราอาจจะต้องใช้เวลาค่อนชีวิตเพื่อจัดการรวบรวมข้อมูลของสิ่งาี่เคยเกิดขึ้น

              เหตุนี้เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องของ "pseudo science (สูโดไซน์)" ก็ดี หรือข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือในโลกออนไลน์แต่มันอาจจะเป็นความจริง หรือไม่จริงก็ได้ในทะเลข้อมูล เพื่อความสามรถในการจำแกแยกแยะข้อมูลในระดับพื้นฐาน รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ จึงได้มีความพยายามในการแผยแพร่ข้อมูลในเรื่องของวิทยาศาสตร์ที่มีความถูกต้อง และเรื่องราวต่าง ๆ ที่อยู่เหนือความการความเชื่อของใครหลาย ๆ คนด้วยวิทยาศาสตร์ หรืออาจจะเรียกง่าย ๆ ว่าวิชา "หลักการการใช้เหตุผลในทางวิทยาศาสตร์เบื้งต้น" ในรูปของข้อมูลและการตอบคำถามในเรื่องที่ดูเหนือจริงต่าง ๆ ที่มีการแชร์กันในโลกออนไลน์

               ซึ่งได้กลายมาเป็นหนังสือชื่อ "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" ที่ทำการรวบรวมเอาข้อมูลเบื้องต้นของปัญหาต่าง ๆ ที่มีการผลิตซ้ำอยู่บ่อย ๆ บนโลกออนไลน์มาไว้ด้วยกัน เพื่อสื่อสารให้คนได้เข้าใจว่าอะไร "จริง" อะไร "หลอก" อะไรเป็น "วิทยาศาสตร์จริง" อะไรเป็น "วิทยาศาสตร์ลวงโลก" เหตุนี้ "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" จึงทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวกลางในการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชนในเรื่องต่าง ๆ ที่เป็นกระแสสังคมในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อการใช้ชีวติของคนในสังคม

              หากอยากรู้ว่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นในโลกออนไลน์ อะไรจริง อะไรหลอก สามารถศึกษาข้อมูลกันได้จาก "อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง" และเราจะเข้าใจว่าเรื่องราวต่าง ๆ นั้นมัน อ๋อ! มันเป็นอย่างนี้นี่เอง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in