social in law
อนุญาโตตุลาการ คืออะไร ?
อนุญาโตตุลาการ คือ การระงับข้อพิพาททางแพ่งชนิดหนึ่ง หรือ การระงับข้อพิทพาททางเลือก (Alternative dispute resolution - ADR ) โดยไม่ใช้วิธีการฟ้องศาล โดยการระงับข้อพิพาทมี 4 ขั้นตอน ดังประการต่อไปนี้
1. การเจรจา (Negotiation) : คือการเจรจารหาจุดร่วมหาแนวทางที่จะสามารถยุติข้อพิพาท ได้
2. ไกลเกลี่ยหรือประนอมยอมความ (Mediation and Conciliation ) : การไกล่เกลี่ยโดยการ อาศัยบุคคลที่สาม หรือ ผู้ประนอม มาช่วยในการหาแนวทางหาจุดร่วมกัน ไม่ใช่ในทางการ ตัดสินแต่เน้นไปการเจรจา โดยให้บุคคลที่สามหรือผู้ประนอม เป็นผู้ประสาน ช่วยหาจุดร่วมให้ แก่คู่พิพาทไม่ใช่การตัดสินแต่เน้นไปที่การพูดคุย เจรจากัน โดยคนกลางเป็นคนประสาน
3. อนุญาโตตุลาการ (Arbitration) : การระงับข้อพิพาทโดยคู่พิพาทได้ตกลงให้มีการทำกระบวนการอนุญาโตตุลาการ มีผู้ตัดสินคำชี้ขาดโดยคนกลางผู้มีความเชี่ยวชาญในแต่ล่ะด้านที่ผ่านการคัดเลือกมาด้วยความสมัครใจของคู่พิพาท ซึ่งกระบวนการทำอนุญาโตตุลาการมักจะใช้ในคดีทางแพ่งเกือบทุกคดี ยกเว้น คดีอาญาที่เป็นความผิดต่อแผ่นดิน จะไม่สามารถทำอนุญาโตตุลาการได้ มีสถาบันจัดทำการทำอนุญาโตตุลาการอยู่หลายแห่ง อาทิ สถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (Thai Arbitration Institute)tai ดำเนินการภายใต้ศาล สถาบันอนุญาโตตุลาการของสภาหอการค้านานาชาติ (ICC - Internaltial Chamber of Commerce) และ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC - Thailand Arbitration Centre) เป็นต้น
การทำอนุญาโตตุลการ โดยส่วนมากจะมีการตกลงกันไว้ล่วงหน้าในสัญญา หรือหากไม่มีการตกลงกันไว้ล่วงหน้า จะต้องอาศัยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย การยืื่นคำรองขออนุญาโตตุลาการ สำนักงานก็จะพิจาราณารายละเอียด ข้อบังคับ หากผ่านก้สามารถทำอนุญาโตตุลการได้ คู่พิพาททั้งสองฝ่ายจะสามารถเลือกผู้มาตัดสินได้ โดย หากเป็นตามสถาบัน จะคัดเลือกคนมาตัดสินให้ แล้วมาให้คู่พิพาทเลือกเอง แต่ถ้ามีบุคคลที่ต้องการอยู่แล้ว ก็สามารถนำมาได้จากนั้นจะมีการกำหนด วิธีพิจาณา คล้ายๆกับการชี้สองสถาน กำหนดประเด็นข้อพิพาทกันว่าจะโต้แย้งเรื่องอะไรกัน
ซึ่งบรรยากาศจะเหมือนนั่งในห้องประชุม เจรจา แต่อยู่ในกระบวนการเดียวกับศาล โดยจัดการทำนอกศาล ซึ่งไม่ใช่คำพิพาทษา แต่เป็นคำชี้ขาดซึ่งสิ่งที่หลายคนสงสัยใร่รู้ว่าหากอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อตกลงแล้วจะทำเช่นไร ซึ่งเป็นปัญหาของกระบวนการอนุญาโตตุลาการ อยู่นอกการบังคับของรัฐ เป็นการกระทำของเอกชนล้วนๆ จึงทำให้บังคับได้ยาก แต่ก็มีการกำหนดบังคับตามคำชี้ขาด ตาม พ.ร.บ หากคู่พิพาทไม่ยอมทำ ก็เอาคำชี้ขาดไปฟ้องต่อศาลได้
กระบวนเหล่านี้จะช่วยกระชับเวลา ลดหลั่นขั้นตอนของกระบวนการพิจารณาศาล การฟ้องด้วยคำชี้ขาดจะช่วยได้เยอะมาก เพราะศาลก็จะพิจารณาจากคำชี้ขาดเลยไม่มีการมาพิจารณาซ้ำอีก ซึ่งกระบวนการอนุญาโตตุลาการตามปกติจะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 ปี แต่มีอีกรณีคือ small claim
ทุนทรัยพ์ไม่เกิน 35 ล้านบาท ภายใน 5 เดือนแรกต้องมีคำชี้ขาด ส่วนจะมีค่าธรรมเนียมหรือไม่ มี โดยพิจารณาจากทุนทรัพย์ ค่าธรรมเนียม สามส่วน หนึ่งค่าธรรมเนียมเริ่มต้น อย่างต่ำ 5000 บาท ยื่นพร้อมคำร้อง ต่อมาดูทุนทรัยพ์ การร้องแย้งต่างๆ แปรพันตามจำนวนทุนทรัพย์ ถ้าไม่เกิน สองล้านห้าแสนบาท ก็จ่ายประมาณสามหมื่นบาท กระบวนการยุติธรรมทางเลือกนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเป้าหมาย บริษัท หรือนิติบุคคลต่างๆ
ข้อดี คือ คดีเป็นความลับ ไม่ต้องเปิดเผย คำพิพากษาหรือเปิดเผยการประชุม เพราะการกระทำของเอกชนทำต่อเอกชนด้วยกันเอง
ปัจจุบันในไทยยังมีคนที่ไม่รู้จักอยู่เยอะมาก ไม่รู้ว่าคืออะไร ทำอย่างไร ไม่เข้าใจ และไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งจะเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เสียหาย ลดความเคร่งเครียดของกระบวนศาล สามารถทำเองได้ อยากให้ลองศึกษาหรือหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มอาชีพให้แก่นักกฎหมาย มีอาชีพ สร้างรายได้
การเป็นอนุญาโตตุลาการไม่จำเป็นต้องจบทางด้านกฎหมาย หรือต้องจบใบประกอบวิชาชีพทนาย เพียงแต่ต้องผ่านตามเงื่อนไขและได้รับการรับรองของตามสถานบันของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น และอีกทั้งยังเป็นความยุติธรรมทางเลือกให้ผู้เสียหาย ให้ได้รับความยุติธรรมอย่างรวดเร็วมากขึ้น
"ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม"
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in