เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Miss Peregrine’s Home for Peculiar Children & A Silent VoiceTina Suwanjutha
Miss Peregrine’s Home for Peculiar Children: บ้านเด็กประหลาดของมิสเพริกริน และทิม เบอร์ตัน
  • ภาพยนตร์เรื่อง  Miss Peregrine เรื่อง "Home For Peculiar Children" ของ  ทิมเบอร์ตัน  (ผู้กำกับ Sweeney Todd, อลิซในแดนมหัศจรรย์, ชาร์ลีและช็อกโกแลต ฯลฯ ) สร้างจากนิยาย YA ชื่อของ  Random Riggs

    ชื่อเรื่อง: บ้านของ Miss Peregrine สำหรับเด็กพิเศษ 
    ชื่อหนัง
    : ภาพยนตร์
    แนว: แฟนตาซี / ผจญภัย
    ผู้กำกับ: Tim Burton
    ผู้ประพันธ์: Ransom Riggs

    ค่าย: 20th Century Fox   

    เรื่องย่อ  บ้านของ Miss Peregrine สำหรับเด็กพิเศษ

            Jake ( Asa Butterfield  จาก Hugo, Ender's Game, X + Y) เดินทางไปเกาะเวลส์กับพ่อของเขา ( Chris O'Dowd  จาก Thor) เพื่อไปเที่ยวสงเคราะห์เด็กพิเศษที่ปู่ Abe ( Terence Stamp  จาก Star Wars) ของเขาเจริญมา Jake ได้พบกับเด็กพิเศษตามคำบอกเล่าของปู่วัน 

    • Emma ผู้ควบคุมอากาศและลอยได้ ( Ella Purnell  จาก Kick-Ass 2)
    • เอนอ็อคผู้เล้าโลมด้วยหัวใจ ( Finlay MacMillan )
    • Olive ผู้เสกไฟได้ ( Lauren McCrostie )
    • Millard มนุษย์ล่องหน ( คาเมรอนคิง )
    • Bronwyn สาวน้อยจอมพลัง ( Pixie Davies )
    • Fiona ผู้ควบคุม ( จอร์เจีย Pemberton )
    • แคลร์เด็กที่มีขนาดใหญ่ที่ด้านหลังหัว ( Raffiella Chapman )
    • มนุษย์ขนาดใหญ่ผึ้ง ( Milo Parker )
    • ฮอเรซเด็กผู้ฉายนิมิตทั้งความฝันและอนาคตได้ ( Hayden Keeler-Stone )
    • และโจเซฟ Odwell  &  โทมัส Odwell )

    Jake ได้พบว่าทุกคนเป็นเพื่อนของเขาที่วนลูปอยู่ที่นี่ไม่ต้องการไม่ตายมาตั้งแต่ 3 ก.ย. 1943 ด้วยพลังของ  มิส Peregrine  ( Eva Green  จาก 300: Rise of Empire) ครูใหญ่ของบ้านเด็กพิเศษนี้


    ภาพรับรอง: @Mintmovie (https://pbs.twimg.com/media/Cr-61WYVIAE7SvV.jpg:large)

    รีวิว วิเคราะห์ วิจารณ์ Miss Peregrine’s Home for Peculiar Children

    เราไม่เคยอ่านและไม่เคยรู้จักนิยายต้นฉบับ Miss Peregrine’s Home for Peculiar Children มาก่อน แต่ชื่นชม Tim Burton ที่เนรมิตโลกแฟนตาซีจากตัวหนังสือปลายปากกาของ Random Riggs ได้ออกมาสวยเกินจินตนาการอย่างน่าอัศจรรย์ โดยเฉพาะบ้านหรือเครื่องแต่งกายสไตล์วิกตอเรียนของเด็กประหลาด เด็กประหลาดแต่ละคนก็ได้รับการกระจายบทมากน้อยอย่างเหมาะสม โดยได้มีโอกาสโชว์พลังและความน่ารักตั้งแต่ยังไม่ถึงช่วงไคลแมกซ์หรือช่วงที่ต้องต่อสู้กับตัวร้าย (โดยส่วนตัวประทับใจหนูจิ๋วจอมพลังสุดละ )https://www.youtube.com/watch?v=pxv1xhlGhFkหนังแบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรกคือช่วงก่อนที่ Jake จะเดินทางมายังบ้านเด็กประหลาด ซึ่งช่วงนี้แอบเนือย ๆ ปูเรื่องยืดไปหน่อย หนังเริ่มมาสนุกขึ้นมาเอาช่วงที่สอง คือช่วงที่ Jake เข้ามาในบ้าน ดูชีวิตประจำวันอันวนลูปและได้รู้จักกับเพื่อน ๆ ที่มีพลังแตกต่างกัน ซึ่งดูได้เรื่อย ๆ เพลิน ๆ และช่วงสุดท้ายคือช่วงที่เด็ก ๆ ต้องสู้กับพวก Bad Peculiar ซึ่งก็ทำฉากแอ็คชั่นได้ดีในสไตล์หนังเด็กของ ทิมเบอร์ตัน


    เนื่องจากเด็กประหลาดในเรื่องมีพรสวรรค์อย่างมนุษย์กลายพันธุ์ ขณะดู Miss Peregrine’s Home for Peculiar Children มันจึงให้ความรู้สึกที่ว่าเหมือนเรากำลังดู X-Men เวอร์ชั่นเด็กอยู่ เพิ่มเติมคือโลกของ Miss Peregrine (Eva Green) นั้นมีการย้อนเวลาหรือวนลูปเวลาทุกวัน ๆ มาตั้งแต่ปี 1943 หรือช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

    เราเชื่อว่ามันคงไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่คนเขียนหนังสือเลือกให้วันที่บ้านเด็กประหลาดต้องวนลูปอยู่ที่นี่ตลอดกาลเป็นวันที่นาซีทิ้งระเบิดลงที่เกาะแห่งนี้ (3 ก.ย. 1943) และไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่เขาเรียกอสูรกายตัวร้ายที่ไล่ล่าเด็กประหลาดว่าพวก “Hollowgast” ซึ่งคล้องกับคำว่า Holocaust หรือการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ซึ่งอาจจะพูดได้ว่า ปู่ของ Jake และเด็กประหลาดทุกคนในบ้าน Miss Peregrine เป็นสัญลักษณ์ของชาวยิว

    ซามูเอลแจ็คสัน รับบทเป็นหัวหน้าอีกครั้ง แต่คาร์เทอร์โพรเซสซิงอาจเป็นเพราะฮิตเลอร์ซะทีเด็ดเพราะ  ทิมเบอร์ตัน ให้โอกาสเขาได้แสดงความรู้สึกเพย์ ๆ ตามสไตล์ของเขาทั้งสองคน เรารู้สึกยินดีกับ "ความ  Samuel L. Jackson " ด้วยเหตุนี้ความรู้สึก ของ Barron จึงไม่ธรรมดา

    ส่วนตัวละคร  นางสาวเพเรกริน ก็เหมือนครูใหญ่เหมือนขุ่นแม่ที่  ต้องการปกป้องลูก ๆ ให้ปลอดภัยที่สุดราวกับไข่ในหินซึ่ง เอวากรีน ก็แสดงได้สง่าและมีจริตส่วนตัว ละคร เจคเหมือนมาสอนให้เด็ก ๆ ใช้พลัง อย่างฉลาดและกล้าหาญซึ่งทำให้เด็ก ๆ รู้ว่าบางครั้งความกล้าหาญ (ความกล้าหาญ) ก็สำคัญกว่าความปลอดภัย (Safety) ซึ่งเราเฉย ๆ กับ  เอเอสเอฟีลด์  ในเรื่องนี้ (ทั้ง ๆ ที่ปกติเราชอบน้องนะ) รู้สึกบทมันเด็กเกินไปส หรับน้องอย่างบอกไม่ถูก

    แต่ฉันก็รู้สึกว่าหนังมันน่าจะยิ่งใหญ่มากขึ้นนะว่าเขาไม่รีบล้วน ๆ คนที่ไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อนอย่างนี้ เราอาจจะไม่เข้าใจเรื่องนี้แหละ แต่เป็นเรื่องที่ดีที่สุดคือตอนจบหรือบทสรุปนี่แหละดูรวบรัดตัดตอนจนเริ่มเละ ทะอย่างน่าเสียดาย ... คือถ้าตั้งใจทำดี ๆ หรือขยายจุดนี้ให้หนังยาวขึ้นอีกสัก 10-15 นาทีคงมีคนดูหลายคนอินกับตอนจบมากกว่านี้

     

    โดยสรุป  นางสาว Peregrine's Home for Peculiar Children เป็นหนังที่เด็ก ๆ น่าจะชอบส่วนผู้ใหญ่ต้องดูดีกว่าปกติ  ทิมเบอร์ตัน , แฟนหนังสือ, หรือคนที่ชอบดูถูกเวิร์ทวังแบบ  X-Men หรือพ่อมด แม่  ทิมเบอร์ตัน หลายเรื่องเรื่องช่วงที่ผ่านมานี่แหละ







  •                                              รีวิว A Silent Voice: รักไร้เสียง


    เราไม่เคยรู้จักและไม่เคยอ่านการ์ตูนมังงะ A Silent Voice หรือ Koe No Katachi มาก่อน ครั้งแรกที่เห็นเทรลเลอร์ของการ์ตูนอะนิเมะเรื่อง A Silent Voice ซึ่งชื่อไทยว่า รักไร้เสียง นี่ก็นึกว่าเป็นการ์ตูนแนวรัก ๆ โรแมนติกเหมือน Your Name ที่ประสบความสำเร็จเปรี้ยงปร้างในบ้านเราเมื่อปลายปีที่แล้ว แต่เอาเข้าจริง A Silent Voice เป็นการ์ตูนที่ดาร์ค รุนแรง และมีความเรียลอยู่ไม่น้อย เป็นการ์ตูนสะท้อนสังคมญี่ปุ่น ชีวิตวัยรุ่นกับมิตรภาพ ที่มาพร้อมกับปัญหา bullying, violence, และ suicide ซึ่งหลายฉากไม่ค่อยเหมาะกับเด็กนัก

    พอไม่ใช่หนังรักแบบ Your Name คนดูทั่วไปก็อาจจะอินน้อยกว่า โดยส่วนตัวเราก็ยอมรับว่าเราไม่อินกับตัวละครใน A Silent Voice เท่าไหร่ แต่ไม่ใช่เพราะหนังไม่ดีอะไร แต่แค่เพราะเราในสมัยเด็กไม่ค่อยมีประสบการณ์โดยตรงกับเคส bullying เท่าไหร่ก็เท่านั้น ตรงกันข้าม เรากลับรู้สึกจริง ๆ ว่านี่เป็นหนังการ์ตูนที่ดี ตีแผ่สังคม และทำให้เราเข้าใจคนอีกกลุ่มหนึ่งมากขึ้น

    เราเชื่อว่าคนที่เคยถูก bullied หรือเคยเจอเหตุการณ์ bullying กับคนใกล้ตัวคงจะอินมันมาก ๆ จนน้ำตาไหล แต่สำหรับเรา ถึงแม้จะอยู่ในฐานะของคนคนหนึ่งที่เคยรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกจากสังคมส่วนใหญ่อยู่บ้าง แต่เราก็ไม่เคยมองปัญหาและไม่เคยคิดพยายามจะก้าวข้ามผ่านปัญหาหรือความรู้สึกนั้นด้วยวิธีการแบบตัวละครในเรื่อง เราเลยไม่ได้อินอย่างที่ควรจะเป็น



    เรื่องของเรื่องเริ่มต้นสมัยตัวละครอยู่ ป.6 กัน เด็กหญิงหูหนวก Shoko Nishimiya ย้ายมาใหม่ ถึงแม้เธอจะพยายามทำดี แต่เธอก็เข้ากับเพื่อนไม่ค่อยได้ ที่หนักหนาสาหัสที่สุดคือเธอโดน Shoya Ishida จอม bully กลั่นแกล้งเธออย่างรุนแรงทุกวัน ห้าปีผ่านไป ต่างคนก็ต่างแยกย้ายและโตขึ้น แต่คราวนี้ Shoya กลายเป็นคนแปลกแยกที่ไม่มีใครคบเสียเอง เขาได้กลับมาเจอ Shoko อีกครั้ง และพยายามแก้ไขทุกอย่างที่เคยทำไว้ในวัยเด็ก

    ถึงแม้นางเอกจะมีความน่าสงสารด้วยธรรมชาติหรือความ disablility ของเธอที่ทำให้เธอแตกต่างจากเพื่อน แต่ความไม่เข้าพวกของเธอจริง ๆ แล้วหาใช่ความพิกลพิการ หากคือความเป็นคนดีเสมอต้นเสมอปลายของเธอ ดีจนเหมือนเธอมีข้อเสียอยู่ข้อเดียวคือความอ่อนแอ

    บางครั้งเราก็ไม่รู้จะเรียกว่า โชคดีหรือโชคร้าย ที่เธอไม่ต้องมาได้ยินคำล้อเลียนจากเพื่อนร่วมชั้น แต่ที่ร้ายแรงแน่ ๆ คือ ถึงเธอจะไม่ได้ยิน แต่เธอก็ยังโดนรังแก physically ซึ่งนั่นก็ฝากแผลใจให้กับเธอไม่น้อยไปกว่า abusive words ที่เธอไม่ได้ยิน

    ตัวละครที่เป็นคนปกติคนอื่น ๆ รวมถึงตัวพระเอก ต่างมีความเป็น monster กันทั้งนั้น ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม แสดงออกมากหรือแสดงออกน้อย จะเห็นได้ว่าทุกคนพยายามทำตัว mean เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในหมู่คณะ ตอนนั้นพระเอกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมนางเอกต้องทำตัวดีตลอดเวลา มันแปลก ทำไมไม่พยายาม fit in กับคนอื่น ทั้งที่ตัวเองและเพื่อน ๆ ในชั้นยังไม่พยายามที่จะเรียนรู้ภาษามือเพื่อสื่อสารกับเธอเลยด้วยซ้ำ แล้วบ่อยครั้งก็คิดเองเออเอง เข้าใจอะไรไปผิด ๆ



    ถึงจุดนี้ เรากล้าพูดได้ว่า สิ่งหนึ่งที่คนดูทั่วไปอาจจะรู้สึกมีอารมณ์หรือประสบการณ์ร่วมกับพระนางในหนังเรื่องนี้คือ ตัวละครแต่ละตัว ทั้งตัวละครหลักและสมทบ ล้วนแต่ดูมีอยู่จริงในโรงเรียนของเราแต่เล็กจนโต คือดูแล้ว เราต้องนึกถึงเพื่อนสมัยเรียนอย่างน้อยสักคนหนึ่งบ้างแหละ เราล้วนเคยเจอคนที่ mean หรือไม่เราเองด้วยซ้ำที่เคย mean กับคนอื่น ไม่มากก็น้อย

    แต่ความ mean บางครั้งก็ไม่ได้แปลว่าเขา bad เสมอไป อย่างพระเอกเนี่ย อย่างน้อยที่สุดคือ เขาเติบโต เขาค่อย ๆ เรียนรู้คำว่า ‘เพื่อน’ ที่แท้จริง เขาค่อย ๆ เข้าใจ สำนึกผิด และพยายามแก้ไข แต่แค่สังคมแช่แข็งความคิดตัวเองไปแล้วว่า อีตานี่เป็น bully มันก็ต้องเป็น bully ตลอดไป และเชื่อมั่นว่าตัวเองไม่ได้ bully แบบอีตานี่ คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันไม่รุนแรงหนักหนาเท่าที่อีตานี่ทำ โดยลืมคิดไปว่า จะมากจะน้อย จะหนักจะเบา กรรมก็คือกรรม ทำก็คือทำ และส่งผลลัพธ์ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น



    ถึงจุดนี้ เรากล้าพูดได้ว่า สิ่งหนึ่งที่คนดูทั่วไปอาจจะรู้สึกมีอารมณ์หรือประสบการณ์ร่วมกับพระนางในหนังเรื่องนี้คือ ตัวละครแต่ละตัว ทั้งตัวละครหลักและสมทบ ล้วนแต่ดูมีอยู่จริงในโรงเรียนของเราแต่เล็กจนโต คือดูแล้ว เราต้องนึกถึงเพื่อนสมัยเรียนอย่างน้อยสักคนหนึ่งบ้างแหละ เราล้วนเคยเจอคนที่ mean หรือไม่เราเองด้วยซ้ำที่เคย mean กับคนอื่น ไม่มากก็น้อย

    แต่ความ mean บางครั้งก็ไม่ได้แปลว่าเขา bad เสมอไป อย่างพระเอกเนี่ย อย่างน้อยที่สุดคือ เขาเติบโต เขาค่อย ๆ เรียนรู้คำว่า ‘เพื่อน’ ที่แท้จริง เขาค่อย ๆ เข้าใจ สำนึกผิด และพยายามแก้ไข แต่แค่สังคมแช่แข็งความคิดตัวเองไปแล้วว่า อีตานี่เป็น bully มันก็ต้องเป็น bully ตลอดไป และเชื่อมั่นว่าตัวเองไม่ได้ bully แบบอีตานี่ คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำมันไม่รุนแรงหนักหนาเท่าที่อีตานี่ทำ โดยลืมคิดไปว่า จะมากจะน้อย จะหนักจะเบา กรรมก็คือกรรม ทำก็คือทำ และส่งผลลัพธ์ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น



    หนังเล่าเรื่อย ๆ และค่อนข้างยาว (2 ชั่วโมง 9 นาที) บางช่วงเราก็เบื่อ แต่ยังดีที่มันยังพอมีมุกหรือตัวละครตลกโปกฮา และเราก็ชอบการเล่าเรื่องด้วยภาพหลาย ๆ อย่างของหนัง อย่างเช่น พระเอกในวัยรุ่นกลายเป็นคนไม่เอาสังคม (หรือสังคมไม่เอาเขา) จึงไม่ค่อยสบตาใคร ดังนั้นภาพหลายภาพ ซึ่งเป็นมุมมองของพระเอก ส่วนใหญ่จึงเป็นภาพมองต่ำ ยังไม่นับที่การ์ตูนเอาเครื่องหมายกากบาทมา cross หน้าทุกคนที่อยู่ในสายตาของพระเอกด้วยอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งแปลกดี ถ้าไม่ใช่การ์ตูนอาจทำแบบนี้ไม่ได้

    ความน่าสนใจคือ พระเอกที่เคยมีเพื่อนมีฝูง แต่เขากลับกลายเป็นคนที่พูดได้แต่ไม่ค่อยได้พูด สูญเสียเพื่อนและการยอมรับทางสังคมไปแทบสิ้นได้อย่างไร? คำตอบคือ ทุกคนไม่ได้เกลียดเขาที่เขาชอบ bully จริง ๆ แต่ทุกคนเริ่มเกลียดเขา เมื่อเขาพูดความจริงบางอย่างเกี่ยวกับคนอื่น แล้วนั่นเป็นความจริงที่คนคนนั้นไม่อยากได้ยินหรือไม่ยอมรับมันว่าตัวเขาทำ…ตัวเขาเองเป็น…โดยเฉพาะอะไร ๆ ที่มันแย่ ๆ

    ความเงียบในความหมายของ A Silent Voice หรือ เสียงที่ไม่ได้ยิน นี้ จึงมีความหมายที่ลึกซึ้ง และบางครั้งก็น่ากลัวกว่าที่คิด

    อย่างไรก็ขอเชิญชวนให้ทุกคนลองไปตีความหมายของ A Silent Voice และสัมผัสความ bullying อีกครั้งด้วยตัวเองในโรงภาพยนตร์ หนังเข้าฉาย 23 มีนาคม 2017 นี้

    คะแนนตามความชอบส่วนตัว 7.5/10




เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Anuson Ngamsub (@fb6153076720089)
อ่านแล้วอยากดูมากกกกก
A38 (@fb1000003814022)
อธิบายได้ดีครับ