เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I WRITE YOU SO MUCHJelly Pitipongpakdee
รีวิววิชาอักษรจุฬาปี 1 เทอม 2 (Versionไม่เมา)
  •            ตั้งใจไว้ว่าจะรีวิววิชาที่เรียนทุกเทอม รีวิวเทอมแรกที่เขียนไปค่อนข้างเมาและไม่เป็นทางการ แน่นอนว่าก็มีทั้งคนชมคนด่า เรามองเป็นเรื่องปกติ นำมาปรับปรุงบ้างแต่ไม่ได้ทุกอย่าง เพราะยังไงรีวิวนี้ก็เป็นเพียงความคิดเห็นเราคนเดียว เอาเป็นว่าผ่านการคิดและเขียนอย่างรอบคอบขึ้น ไม่ได้เมาและเวิ่นเว้อตามอารมณ์เหมือนอันแรก ซึ่งก็ว่าดีเหมือนกัน

    พูดถึงเทอมนี้บ้าง เป็นเทอมที่เรียนหนักขึ้นเพราะวิชาเน้นสอบ และเป็นเทอมที่กดดันเพราะจะเข้าเอก (สำหรับคนที่เอกที่เล็งไว้มี requirements) แต่ถ้าถามเรา วิชาสนุกกว่าเทอมที่แล้ว (เอ๊ะ หรือว่าไม่ T v T มันก็แอบพอๆกันนะ แล้วแต่วิชา) จะเรียงจากวิชาที่ไม่ชอบที่สุดไปจนถึงวิชาที่ชอบที่สุดเหมือนเดิม

     


    1.Introduction to Language (อินโทรแลง)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ

    ·       สอบมิดเทอมและไฟนอล งานเดี่ยว งานกลุ่ม แบบทดสอบทุกครั้งหลังเรียน

    ·       ภาษาทัศนาเป็นวิชาที่เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติของภาษา เนื้อหาหลากหลาย เช่น คำ หน่วยคำ วลีและประโยค ความหมายในภาษา ระบบเสียง ระบบตัวเขียน ภาษากับสังคม การเรียนรู้และรับรู้ภาษา ฯลฯ


    การเรียนการสอน

    ·       ฟังบรรยายเนื้อหา อาจารย์จะผลัดกันบรรยายเนื้อหาเรื่อยๆประมาณ 2 ชั่วโมง

    ·       บรรยายพิเศษจากวิทยากรที่เชิญมา

    ·       แยกเซคทำงานกลุ่ม ต้องทำทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม  


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       เป็นวิชาที่ไม่ชอบที่สุดในเทอม เรียนยาวมาก 3 ชั่วโมงติดต่อกัน ทั้งๆที่ชั่วโมงเรียนก็เท่ากับหลายๆวิชา แต่ทำไมรู้สึกว่ายาวนานและน่าเบื่อขนาดนี้

    ·       เนื้อหาก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้สนใจ แต่ละอาทิตย์เหมือนเรียนไปงั้นเอง แต่ยังดีที่อาจารย์บางคนก็สอนเข้าใจมาก (พี่ TA ในกลุ่มก็สอนดี) และเป็นวิชาที่สอนจากคลิปวิดีโอฮาๆเยอะ ชอบที่มีการเชื่อมโยงเนื้อหากับสื่อปัจจุบัน

    ·       เรื่องการสอบ อาจารย์ช่วยกันแบ่งพาร์ท ออกตามเนื้อหา มีนวิชานี้ก็สูง แต่ว่าไฟนอลยากสมกับที่รุ่นพี่บอกว่าอย่าประมาท orz ก็เป็นวิชาที่ละเลยจริงๆนั่นแหละ เอาเวลาไปอ่านเวสซีฟหมด ตอนเรียนก็ใช่ว่าตั้งใจ ก็ยอมรับชะตากรรม

    ·       รวมๆเป็นวิชาที่ไม่ยาก (ยืนยันจากมีนคณะที่สูงลิ่ว) อาจารย์ทยอยลงสไลด์ตลอด มีแบบฝึกหัดให้ทบทวน จึงเป็น 1 ในวิชาที่หลายคนเท รวมถึงเรา ไม่อินจริงๆอะ ลาก่อนวิชาจากภาคภาษาศาสตร์ คงไม่ได้เจอกันอีก

     

    2.Thai Literature (ไทยลิท)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ

    ·       สอบมิดเทอม 45% สอบไฟนอล 45% คะแนนจิตพิสัยอีก 10%

    ·       เรียนเน้นไปที่วิเคราะห์วรรณคดีทั้งตัวละคร วรรณศิลป์ จุดประสงค์ผู้แต่ง ภูมิหลัง ฯลฯ ซึ่งได้เรียนทั้งหมด 6 เรื่อง อิเหนาตอนเข้าเฝ้าท้าวดาหา+บุษบาโดนลมหอบ, เงาะป่า, รามเกียรติ์ตอนศึกไมยราพ, ลิลิตพระลอ, เตภูมิกถา (นรกภูมิ+ฉมาพจรภูมิ), ลิลิตโองการแช่งน้ำ

    การเรียนการสอน

    ·       ฟังบรรยายห้องใหญ่ จะมีอาจารย์บรรยายภูมิหลัง การวิเคราะห์ ลักษณะกลอนฯลฯ สัปดาห์ละเรื่อง ซึ่งสำหรับเราก็เหมือนอาจารย์มาอ่านสไลด์ให้ฟังนั่นแหละ บรรยากาศง่วงมาก แต่ถ้าจดตามก็ได้ตัวข้อสอบไปเยอะอยู่ ส่วนเราไม่จดและไม่ฟัง (ไม่ดีมากๆ) ข้อสอบข้อไหนที่สอนในห้องใหญ่ก็...นั่นแหละ...

    ·       เรียนวิเคราะห์ตัวบทแยกตามเซค เราอยู่เซค 4 อ.รักษ์พงษ์ ซึ่งอาจารย์สอนสนุก ไม่ง่วง ได้อ่านตัวกลอนค่อนข้างเยอะ ได้ความรู้การรำไทยก็เยอะ๕๕๕๕๕ แต่อาจารย์จะไม่ได้สรุปวรรณศิลป์เป็นหมวดๆให้เท่าไหร่ ช่วงใกล้สอบต้องมาสรุปเองอีกที แต่คิดว่าอาจารย์สอนเข้าใจ เห็นภาพ ทำให้เราจำเนื้อเรื่องบางตอนได้ ถือว่าช่วยมาก แล้วก็แนะนำให้อ่านวรรณคดีล่วงหน้ามาก่อน นี่อ่านล่วงหน้ามาแค่อิเหนาเรื่องเดียวที่เหลืออ่านอีกทีตอนสอบเลย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดมหันต์ ไฟไหม้ไฟท่วม อ่านไม่ทันเด้ออออ

    ·       ในข้อสอบ (เขียนล้วนๆ of course ให้สมุดคำตอบมาเล่มนึง มีเพื่อนในห้องคอยขอสมุดคำตอบเพิ่มเป็นการกดดันคุณ) คำถามจะ random มาก เมื่อมิดเทอมที่ผ่านมาถามโคตรกว้าง ถามนิสัยอิเหนา ถามมิติความรักในเรื่องเงาะป่า หรือพวกวรรณศิลป์ แนะนำให้ท่องกลอนหรือจำลักษณะที่บรรยายในกลอนเผื่อมาด้วย จะได้ยกตัวอย่างเวลาตอบ แต่พอถึงสอบไฟนอล คำถามแคบลงมาก อย่างเช่นลิลิตพระลอถามว่าการตีความสลาเหินและไก่แก้วแตกต่างกันอย่างไร หรือในลิลิตโองการแช่งน้ำ ก็ถามเจาะเลยว่าตอนใดที่เนื้อหาแตกต่างกับวรรณคดีก่อนหน้า เห็นชัดว่าคำตอบต้องออกมาประมาณไหน จะบอกว่าวิชานี้แถๆไปก็ไม่ใช่นะ ต้องอ่านจริงๆนั่นแหละ เพื่อจะได้รู้ว่า อาจารย์อยากได้คำตอบแบบไหน


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       บรรยายห้องใหญ่ พอเรียนกับอาจารย์บางคนนี่น่าเบื่อมากกกกกกกกกกกกกก น่ารำคาญมากกกกกกกกกกกก ก็เลยไม่ฟังไม่จดไม่อะไรเลย คือแบบนี้โยนสไลด์มาก็ได้นะอยากอ่านเอง สุดท้ายก็ยอมไปดิ้นตายเอาก่อนสอบ แต่พอเรียนเซคแยกรู้สึกแฮปปี้นะ ถึงอาจารย์จะปล่อยช้าแต่ไม่ได้รู้สึกว่าเรียนนาน (เท่าตอนเรียนห้องใหญ่) เพราะอาจารย์มีลีลาการสอนที่เผ็ดร้อน๕๕๕๕๕๕ สอนไปรำไป แต่บางคนอาจไม่ชอบเพราะอาจารย์เม้าท์ๆบ่นๆจนเลิกช้านี่แหละ๕๕๕๕๕

    ·       ส่วนตัวไม่ชอบวรรณคดีไทยก็เลยเลี่ยงไม่อ่าน ความรู้สึกเราคือ ขออ่านตอนใกล้สอบรอบเดียวพอ ไม่ยอมอ่านซ้ำไปซ้ำมาแน่ คือวรรณคดีไทยมี logic บางอย่างที่ไปด้วยกันกับเราไม่ได้ เช่นลิลิตพระลอ เราไม่เห็นความดีงามของวีรกรรมพระลอตรงไหน โอเค อาจจะมี แต่ไม่ได้มีเหตุผลรับรองขนาดที่เราจะต้องเชื่อ แต่เวลาสอบก็ยอมอวยว่าพระลอเป็นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่กล้าหาญไม่กลัวตายไม่ตกอยู่ในอำนาจเสน่ห์…แต่ก็นั่นแหละ วิชานี้ไม่ได้เปิดโอกาสให้เราวิพากษ์วิจารณ์ขนาดนั้น ก็เลยตอบแบบที่อาจารย์อยากอ่าน เรื่องเดียวที่เราเรียนแล้วรู้สึกว่าซึมซับความงามของกลอนและพล็อตได้อย่างเต็มที่จริงๆคือ เงาะป่า ล้วนทาสรักทั้งนั้นอนาถใจจริงๆ orz

    ·       รวมๆแล้วก็แค่มันไม่สนุกอะ ไม่ใช่แนว ไม่ชอบนั่งอ่านงานเขียนไทยจ๋า นั่งท่องขนบ หรือท่องตัวบทไปตอบ ชอบแค่อย่างน้อยก็ข้อสอบเขียน (แถได้ประมาณนึง) ถ้าเป็นช้อยส์หรอ ยิ่งขี้เกียจอ่านเข้าไปใหญ่ ฮึ่มมม

     

     

    3.English II (อิ๊งทู)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ

    ·       พรีเซ้นท์เดี่ยว หนังสืออ่านนอกเวลา 2 เล่ม Listening quizzes, Reading tests, Writing paragraphs (Compare &Contrast, Persuasive, Narrative) ข้อสอบมิดเทอมและไฟนอล งานกลุ่ม English Project (ได้หัวข้อ Art exhibition)

    ·       ปีนี้อ่าน More happy than not กับ Monster calls ข้อสอบเน้น textbook มีพาร์ทศัพท์ พาร์ท error พาร์ทเปลี่ยนประโยค พาร์ทช้อยส์ คล้ายๆตอนอิิ๊งวัน 


    การเรียนการสอน

    ·       เรียนเซค3 อ.โทนี่ เค้าใจดี สอนสนุก แต่ว่าแซะเก่งและแอบ technophobe การเรียนก็เลยต่างจากเรียนอิ๊งวันกับ อ.นิ มากๆ ไม่เน้น powerpoint เน้นเรียนตามหนังสือ โทนี่ชอบเรียกตอบรายคน 

    ·       เน้นแกรมมาร์แบบในหนังสือ ถ้ามีข้อสอบคำตอบเค้าจะเป๊ะมาก ตอบแบบอื่นไม่ค่อยได้

    ·       สอน readingโอเค รู้สึกว่าได้ทำความเข้าใจตัวบทความ แต่ว่าเวลาเฉลยคำตอบโทนี่ไปเร็วมาก ไม่มีการทำด้วยกันอะไรทั้งสิ้น ต้องมีสติและต้องทำมาล่วงหน้ามาก่อน orz

    ·       writing เน้นสอนตาม Model paragraph คอมเม้นกลับมาให้น้อย รู้สึกไม่ได้พัฒนาส่วนนี้เลย

    ·       Presentation เค้าก็ดูสนใจฟังเราดี แต่จะไม่กระตุ้นให้เพื่อนในคลาสร่วมถาม นอกจากนี้ในคลาสก็ไม่เปิดโอกาสให้ discuss หรือได้ฝึก speaking ด้วย

    ·       ไม่สั่งงานในเว็บเลย (โทนี่ไม่ใช่สายเทคโนโลยีนั่นเอง) ส่วนชีทแกรมมาร์จะอัดๆกันช่วงสอบ 


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       ปริมาณเนื้อหาพอๆกับอิ๊งวันแต่ก็ยากขึ้นนั่นแหละ พาร์ท reading เป็นอะไรที่เกลียด ข้อสอบมิดเทอมโอเค แต่ข้อสอบไฟนอลยาก ส่วนพาร์ท writing เสียดายเรื่อง Persuasive ทำไม่ได้ดีเท่าที่หวังไว้ แดเนียลเป็นคนตรวจด้วย ซึ่งตรวจโหด orz

    ·       บรรยากาศการเรียนมีเรียกตอบ มียิงมุก แล้วโทนี่เป็นคนที่ชอบสอนอะไรเพิ่มเติม พวกความรู้รอบตัว ข่าวสารระหว่างประเทศ เค้าจะเชี่ยวมาก (โดยเฉพาะเรื่องการด่าทรัมป์) ฟังเพลินๆดี 

    ·       แต่พอไม่ได้ให้ discuss เรารู้สึกโหวงๆ คิดถึงการเรียนกับ อ.นิ มากกว่า เพราะ อ.นิ ให้ได้พูด ได้คุยกับเพื่อนเยอะมาก อันนี้เรียนจากในหนังสือล้วนๆ รู้สึกว่าไม่ได้พัฒนาทุกด้าน

    ·       ไม่ชอบการสุ่มเรียกตอบยังไงไม่รู้ ไม่ใช่วิธีที่ encouraging  

    ·       ชอบทำโปรเจกต์กลุ่ม แฮปปี้กับส่วนนี้มาก แต่ทั้งโทนี่และแดเนียลก็ไม่ค่อยถาม ไม่ค่อยอะไรกับงานกลุ่ม เลยสรุปได้ว่าความใส่ใจค่อนข้างน้อย

    ·       เรียนอย่างเดียว เรียนจริงๆ นอกจากจะไม่มี discuss แล้วยังไม่มีเกมให้เล่นด้วยอะ;_; รู้สึกว่างเปล่ามากบางคาบความสอนสนุกของโทนี่ก็ยื้อเราไม่ไหว ง่วงๆเบื่อๆ

    ·       ดังนั้น ด้วยเนื้อหาที่ยากและสไตล์การเรียนที่ไม่ค่อยตรงสเปค จากวิชาที่ชอบเกือบที่สุดในเทอมก่อนเลยกลายเป็นวิชาที่ขี้เกียจเรียน ซัฟเฟอร์บ้างอะไรบ้าง นี่จะเข้าเอกจริงๆหรอเนี่ย ฮ่อลลลลล


    4. Principal of Acting (พริ้นแอค)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ

    ·       คะแนนปฏิบัติ คะแนนเข้าชั้นเรียน (ห้ามสาย ห้ามขาด) คะแนนความประพฤติ (ต้องพกหมอนผ้าปิดตา ป้ายชื่อ ต้องใส่เสื้อยืดกางเกงขายาว ห้ามยีนส์ ห้ามเชิ้ต) และคะแนนส่งไดอารี่ บันทึกสิ่งที่ค้นพบเกี่ยวกับตัวเอง เรียนสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงยาวๆไปอีก 

    ·       เอาแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด ก็คือวิชาแสดงละครนั่นแหละ แต่เป็นตัวเริ่มต้นแบบอินโทรมากกกกกกกกก ส่วนใหญ่ก็จะฝึกวอร์มร่างกายและ relaxation ก่อนแสดง การใช้ Magic if, fourth wall, จินตนาการต่างๆ การรู้จัก objective ของตัวเอง การ express ความรู้สึกตัวเอง เชื่อในสิ่งที่ตนเองคิดและทำ ฯลฯ เพื่อให้แสดงออกมาได้ดี


    การเรียนการสอน

    วิธีการเรียนของวิชานี้คือ The best of this semester เป็นอะไรที่ถ้าไม่ลงวิชาสายละครคงไม่มีทางมีโอกาสได้เรียน แต่ละคาบได้เรียนและส่งงานแตกต่างกันไป ครูดาวมีลูกเล่นใหม่ๆมาสอนเสมอ อ้อ ครูดาวสอนดีมาก ใจดี น่ารัก ;_; รู้สึกผูกพันเพราะต้องร้องไห้ให้ดูทุกอาทิตย์๕๕๕๕๕ จะยกตัวอย่างกิจกรรมบางสัปดาห์

    ·       จับคู่ จับมือเพื่อนของเรา จากนั้นสวมผ้าปิดตา และพยายามหาคู่ของเราจาก 30 คนในคลาสให้เจอโดยอนุญาตให้สัมผัสมือเพียงอย่างเดียว (กิจกรรมแรกเลย ไม่คิดว่ามันจะเป็นไปได้ แต่ก็ทำสำเร็จ จับมือคนตั้งเยอะแยะแต่เรากลับจำมือเพื่อนเราได้จริงๆ)

    ·       จับกลุ่ม เต้นตามเนื้อหาเพลง ฝึกการใช้ร่างกายและสีหน้าท่าทางสื่อ message ออกไปให้คนดู

    ·       สร้างโลกของตัวเอง (ปิดตา หามุมนั่งคนเดียวในห้อง แล้วจินตนาการตามสถานการณ์ที่อาจารย์มอบให้ เช่น ไฟไหม้ เจอจระเข้ อากาศหนาวจนแข็ง ฯลฯ)

    ·       แชร์เรื่องราวที่ emotional ของตัวเองกับคู่ที่สุ่มจับทุกสัปดาห์ ทำความรู้จักอารมณ์เพื่อน อารมณ์เรา

    ·       ยกเหตุการณ์ในชีวิตมาแสดง จินตนาการว่ากำลังสนทนากับคู่สนทนา

    ·       จับกลุ่มสร้างสถานที่ในจินตนาการและเพิ่มรายละเอียดให้สถานที่นั้น (เช่น อาจารย์กำหนดให้จินตนาการถึงห้องสมุด เพื่อนคนแรกบิดประตู เข้าไปนั่งเก้าอี้ แสดงว่าที่นั่นมีประตูกับเก้าอี้ เราก็ต้องจำตำแหน่งได้ด้วย ถึงตาเราเดินเข้าไปในห้องสมุด ผ่านประตูจุดเดียวกับเพื่อน เดินอ้อมเก้าอี้ ถ้าเราจับหนังสือ แสดงว่าตรงนี้มีหนังสือ คนต่อไปที่แสดงต่อจากเราก็ต้องจำว่าหนังสือวางตรงไหน เราเปิดหนังสือค้างไว้ หรือปิดแล้ว ฯลฯ ฝึกความละเอียดอ่อน ช่างสังเกต)

    ·       งานสุดท้าย ให้หาเรื่องราว 'ที่สุด' ในชีวิตมา...ทำอะไรต้องไปเจอเอง พีคมากๆ


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       เป็นวิชาที่เหนื่อยกายเหนื่อยใจมาก เพราะไม่เหมาะกับคนแบบเรา เราจะคิดมาก กำแพงสูง และไม่ค่อย express ความรู้สึกใดๆ วิชานี้เรียกร้องให้เราลดกำแพงบางอย่าง เลิกคิด (ซึ่งนี่เป็นจุดที่ยากที่สุด จนตอนนี้อาจารย์ก็ยังบอกว่าเราเหมือนมี pattern ในหัวตลอด ซึ่งการแสดงจริงๆอารมณ์ต้องนำ มี pattern ไม่ได้)

    ·       การเปิดใจให้เพื่อนก็ยาก เราจะต้องแชร์เรื่องราวในชีวิตให้ใครก็ไม่รู้ฟัง มีแต่คนไม่รู้จัก และแน่นอนว่าเรื่องที่ได้ฟังเกือบทั้งหมดในห้องนี้เป็นความลับ เป็นอะไรบางอย่างที่คนในคลาสไม่ได้แชร์กับคนอื่น แต่เราเหมือนถูกบีบให้แชร์ออกมา (ถ้าเหตุการณ์เล็กน้อยไม่ค่อยเข้มข้น จะแสดงยาก) เราไม่ได้ไว้ใจใครง่ายๆ บางครั้งก็ถึงกับแกล้งรู้สึกและอาจารย์ก็ดูออกทุกครั้ง อาจารย์เก่งจริงๆ (ฮา) อาจารย์ก็จะบอกเลยว่า รู้สึกให้จริง เชื่อจริงๆว่าตัวเองกำลังทำแบบนั้น อย่าแกล้งรู้สึก

    ·       ความยาก ความพีค ความเครียดถึงขีดสุด ได้เผชิญตอนยกเหตุการณ์ในชีวิตมาแสดงนี่แหละ ต้องจินตนาการภาพ ต้องเชื่อจริงๆว่าตัวเองกำลังพูดกับใครบางคนอยู่ ตอนที่ออกไปแสดงเราไม่เชื่อเลยว่าเรากำลัง repeat เหตุการณ์วันนั้น เชื่อยากนะเวลาที่ทั้งห้องมีแต่คนมองเราอยู่ และอาจารย์ก็อยู่ตรงหน้า เกือบจะร้องไห้ออกมาเพราะทำไม่ได้สักที T_T

    ·       แต่ถามว่าสนุกไหม เราว่าวิชานี้เรียนโคตรสนุก อาจจะกดดัน กลัว เพราะต้องแสดงออกเยอะมาก ยิ่งไม่ได้เกิดมาเพื่อแสดงยิ่งยาก แต่คุ้มค่าที่จะเรียนสักครั้งเพราะจุดมุ่งหมายสูงสุดของวิชานี้คือค้นพบตัวเอง รู้จักตัวเอง (การรู้จักตัวเองเอื้อให้แสดงละครได้จริงๆ เรารู้ว่าถ้าเราเศร้า เราจะเศร้าด้วยท่าทางแบบไหน ฯลฯ) ซึ่งเราคิดว่าตัวเองบรรลุจุดนั้น เรารู้จักนิสัยตัวเองในแง่มุมที่ไม่เคยคิด ไม่เคยมองเห็น รวมทั้งได้ประเมินและฝึกสังเกตสถานการณ์ตลอดเวลา อาจารย์จะกระตุ้นให้เราติชมเพื่อน ให้แชร์ความรู้สึกหรือสิ่งที่ค้นพบในการเรียนแต่ละคาบบ่อยๆ ทุกคนก็ต้องปรับปรุง แก้ไข กว่างานกลุ่มครั้งนึงจะออกมาได้ดังนั้น วิชานี้เลยเพิ่มทักษะสายปฏิบัติมากๆ

    ·       ถึงจะยาก แต่พอจบคลาสกลับคิดถึง เหมือนเป็นวิชาเดียวที่เราเป็นตัวเองได้แสดงออกทุกความรู้สึกออกมาได้เต็มที่ (วิชานี้ร้องไห้บ่อยกว่าทั้งปีรวมกันอี๊กกกกก) เหนื่อยก็จริง แต่ได้ระบายความอัดอั้น ได้คลายเครียด บางทีก็ได้หลีกหนีความจริง ได้ข้อคิดเยอะแยะ ดังนั้นเป็นวิชาที่แนะนำให้ลง ปล.แต่ถ้าไม่ชอบแสดง จะผ่านไปได้ยากเย็น ดังนั้นต้องเปิดใจระดับนึงเลยแหละ แต่ถ้าใครที่สนใจเอกหรือโทละคร เห็นส่วนใหญ่ก็แฮปปี้กันนะ คณะอื่นก็แฮปปี้ วิชานี้มีเพื่อนหลากหลายคณะ นิเทศ วิดยา ครุ รัดสาด ฯลฯ สนุกสนานเฮฮาเลยแหละ

     

    5. Western Civilization (เวสซีฟ)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ


    ·       สอบ100% เห็นน้ำตามั้ยคะ ;_;

    ·       เรียนอารยธรรมตะวันตกตั้งแต่เริ่มแรก อย่างอารยธรรมเมโสฯ อียิปต์ กรีก โรมัน ยุคกลาง ยุคเรเนซองส์ บลาๆ มาจนถึงช่วงที่เริ่มกลายเป็นรากฐานยุโรปในปัจจุบัน เช่น ยุค Enlightenment ปฏิวัติอุตสาหกรรม ปฏิวัติการเมือง สงครามโลก ฯลฯ โดยไม่เน้นจำรายละเอียด (แต่สุดท้ายก็เห็นเพื่อนๆจำอยู่ดี…) แต่เน้นวิเคราะห์สาเหตุ ผลกระทบ ลักษณะต่างๆของแต่ละช่วงเวลา รวมถึงเน้นเชื่อมโยงประวัติศาสตร์เข้ากับปัจจุบันด้วย


    การเรียนการสอน

    ·       เรียนโดยการฟังบรรยายจากอาจารย์ตุลย์ ซึ่งบอกเลยว่าคนนี้ตำนานมาก สอนสนุกมากกกกกกกกกกกกกกกกกกก ตลก บันเทิง ทำให้วิชาประวัติศาสตร์น่าเรียนขึ้นอีก100x อาจารย์เน้นดูตามชีท ประกอบกับ powerpoint ภาษาอังกฤษ และถึงแม้อาจารย์จะบอกว่าไม่ต้องจำดีเทลยิบย่อย แต่อาจารย์ก็สอนละเอียดยิบ รู้สึกว่าเข้าใจแต่ละยุคจริงๆ แล้วก็ได้แก้ความเข้าใจผิดหลายอย่างในชีวิต ที่สำคัญที่สุดคือ นิยม ไม่ได้มาจากคนนิยม แต่มาจากคำว่า นิยาม คืออันนี้จำจนตายแน่นอน orz อีกอย่างที่ชอบก็คืออาจารย์เอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาให้อ่านและวิเคราะห์ ทำให้เราเห็นบริบทยุคสมัย แถมจำง่ายขึ้นด้วย

    ·       การสอบ พูดแล้วหดหู่เลย (…) สอบเขียนล้วน มีสองชุด คำถามใหญ่โจทย์ยาวๆ (20pt.) 1 ข้อ คำถามย่อยแต่ตอบทั้งหน้า (10pt.) อีก 2 ข้อ และพาร์ทเติมคำ (10pt.) อีก 1 หน้า ส่วนอีกชุดก็เหมือนกัน คำถามส่วนใหญ่เน้นประยุกต์ความรู้หลายๆยุคเข้าด้วยกัน เชื่อมโยงว่าอะไรคือความหมาย สาเหตุ ผลกระทบพาร์ทเติมคำส่วนใหญ่ก็จะเป็นตัวอย่างหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เรียนไป หรือยกจุดไหนสักจุดของชีทมาออก กฎคือตอบให้เยอะ ตรงประเด็น well-structured และครอบคลุมที่สุดเท่าที่ทำได้ ตัวอย่างก็ต้องยกมาซัพพอร์ตคำตอบตัวเองให้ดีๆ คำถามว่ายากแค่ไหนคงไม่ต้องถาม ถามว่าทำทันไหมยังตอบยาก… 


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       ปกติเป็นคนไม่ชอบประวัติศาสตร์ แต่วิชานี้เปลี่ยนความคิดเราหลายอย่าง โดยเฉพาะครึ่งเทอมหลังเราชอบเรื่องสงคราม หรือเหตุผลนิยมอยู่แล้ว ก็เลยตั้งใจเรียนกว่าครึ่งเทอมแรก สิ่งที่ประทับใจเราที่สุดคงเป็นเรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซี และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว ร้องไห้สองสัปดาห์ติดเลยแหละเพราะว่าอินกับหลักฐานที่อาจารย์ยกมาประกอบการสอน เราเข้าใจบริบท ณ ตอนนั้นเยอะขึ้นมากๆ และเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมโลกมากขึ้นด้วย เป็นครั้งแรกที่เราเห็น point ของการเรียนประวัติศาสตร์ เห็นว่ามันสามารถสอนไม่ให้เราทำผิดซ้ำได้จริงๆ ก็เลยชอบวิชาเวสซีฟ ทั้งที่ไม่ชอบเรียนประวัติศาสตร์

    ·       แต่กดดันกับการสอบมาก คือเป็นคนไม่ยอมอ่านล่วงหน้า และไม่ยอมอ่านเกินตีสอง (ในขณะที่เพื่อนๆโต้รุ่ง) ก็เลยต้องเข้มงวดกับตารางการอ่านตัวเองมากขึ้น แต่สุดท้ายก็พังเอาตอนใกล้สอบอยู่ดี ไม่ทันจริงๆ ไม่เคยจำอะไรทัน เนื้อหาเยอะด้วย ตัวเองไม่เต็มที่ด้วย แม้จะคิดว่าอ่านมาพอสมควร คะแนนตอนมิดเทอมก็…T v T พอไฟนอล อาจารย์อุตส่าห์บอกข้อสอบหลายข้อ ปรากฏว่ามันก็ยังยากอะ! โทษตัวเองนี่แหละ ไม่เคยโทษวิชา โทษอาจารย์ หรือโทษใคร ก็เราไม่ถูกกับวิชาสายสังคมจริงๆ บายยยยยย

    ·       สรุปคือเป็นวิชาที่สอบเสร็จแล้วอยากกลับไปนั่งเรียน แต่ถ้าให้นั่งเรียนใหม่จริงๆก็ขอคิดอีกที ระหว่างเรียนเอนจอยมากนะแต่ก็แค่บางเรื่อง เวลาในการทำข้อสอบน้อยไปหน่อย ด้วยอะไรหลายอย่างทำให้ทั้งชอบและไม่อยากเรียนวิชานี้ไปพร้อมๆกัน โคตรพูดยาก รู้แต่จะลงนาซีเยอรมันกับอาจารย์ต่ออีกเทอม ย้อนแย้งในตัวเองเนอะ๕๕๕๕๕๕

     

     

    6. Introduction toTranslation (อินโทรทรานส์)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ

    ·       สอบย่อย 50% (5 เรื่องที่เรียน) สอบไฟนอล 50% (5 เรื่องที่เรียนเวอร์ชั่นสั้นกว่าสอบย่อย)

    ·       แปลข่าว English-Thai Thai-English แปลสารคดี English-Thai Thai-English แปลเรื่องแต่ง English-Thai


    การเรียนการสอน

    ·       เราได้เรียนเซค12กับครูพงษ์ ผู้น่ารักมากมากมากกกก บรรยากาศการเรียนดีสุดๆ อาจารย์ตลก เฮฮา สอนไม่เร็วมาก (จนตามเซคอื่นไม่ทันเลยทีเดียวT v T) ชอบกระตุ้นให้เด็กถามเยอะๆ และชอบเล่าประสบการณ์การทำงานแปลจริงๆให้ฟัง มีประโยคติดปากว่า “เราจะทำเวลากันได้ไหมวันนี้…ครูมีเรื่องจะเล่า…จะสอนทันไหม…แต่ครูคิดว่ามีประโยชน์ เล่าหน่อยละกัน” สุดท้ายก็สอนไม่ทัน(ฮา) แต่ไม่เคยหงุดหงิดเลย ดีซะอีกเพราะว่าอาจารย์สอนละเอียดยิบ เจาะทุกคำ ชอบให้ศัพท์ดีๆ และสอนแกรมมาร์แน่น ค่อนข้างรับฟังนักเรียนด้วย เราประทับใจที่อาจารย์กระตือรือร้นที่จะสอนหรือตอบคำถาม ขนาดไม่ได้อยู่ในห้องเรียน อาจารย์ก็ยังส่งเมลมาบอกว่า “ใครมีคำถามส่งมาหาครูได้เลยนะ” จากที่เขินๆ ก็ส่งไปบ่อยอยู่ อาจารย์ตอบกลับไวและอธิบายกระจ่างทุกรอบ แถมครูพงษ์ยังใจดี เอาลูกอมขนมเล็กๆน้อยๆมาฝาก บอกจะเติมกำลังให้ระหว่างเรียน น่ารักจริง <3

    ·       การสอบ…เราว่าวิชาแปลทั้งใหม่และยาก ข้อสอบครั้งแรกเห็นคะแนนแล้วบอกลาเอกอิ๊ง แต่ข้อสอบหลังๆเริ่มปรับตัวได้ บวกกับยากง่ายแล้วแต่ครั้ง อาจารย์เซคเราตรวจปานกลาง ไม่ได้เข้มหรือหย่อนมาก มีนเซคไม่ค่อยสูง การตรวจใช้มาตรฐานเดียวกันหมด คือแปลผิด/กำกวม/ผิดแกรมมาร์ หักจุดละ 0.25 แปลตก/ลืมแปล หักจุดละ 0.5 ถ้าหายไปเป็นประโยคก็โดนหักเยอะหน่อย แต่ไม่หักซ้ำคำเดิม ที่ไม่ชอบเรียนคือข่าว สารคดีโอกาสเจอข้อสอบยากสูง แต่บางทีใช้เซนส์ได้ และเรื่องแต่งแปลสนุกสุด (+ได้นิยายมาอ่านเพิ่มจากการเรียนแปลนี่แหละ) สรุปว่าเรียนและสอบอย่างเข้มข้น

    ·        เซคเราจะให้แต่ละกลุ่มแปลแต่ละเรื่อง แล้วค่อยมาแก้ด้วยกันในห้อง วิชานี้อาจารย์บอกเลยว่าเรียนในห้องไม่พอ ต้องอ่านเพิ่ม ศึกษาแกรมมาร์เพิ่ม เค้าถึงเรียกกันว่าวิชาบุญเก่า วัดสกิลภาษาอังกฤษองค์รวมจริงๆ


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       เราเครียดนะ เพราะพื้นฐานอังกฤษตัวเองไม่ได้เป๊ะเท่าเพื่อนรอบข้าง (แอบเหล่คะแนนเพื่อนมา โอ๊ย สูงลิ่วไปไหน 17/20 นี่เอาA ไปเรยยยย) และไม่เคยแปลมาก่อนเลย ได้แต่พยายามใช้สกิลการเขียนภาษาไทยถูไถไป ติดเอกไม่ติดเอกก็ลุ้นวิชานี้นี่แหละ กราบบบบ วิชานี้ทำให้รู้ซึ้งถึงคำว่าบุญเก่า หนทางพัฒนามันก็มีอยู่แหละ เช่น อ่านข่าวภาษาอังกฤษเยอะๆ แต่เราว่าก็ยังสู้คนที่เก่งจริงไม่ได้ ความขยันไม่ได้พาเราชนะ ดังนั้นเราขี้เกียจดีกว่าเพราะไม่ชนะเหมือนกัน (อ้าว)

    ·      เอ้อ อยากให้เวลาเรียนมีมากกว่านี้ เวลาสอบก็เช่นกัน เนื้อหาเยอะจนต้องรีบๆสอนรีบๆจบ เดี๋ยวไม่ทันสอบ TT 

    ·       สาเหตุที่ชอบวิชานี้เกือบมากที่สุด ไม่ใช่แค่เพราะเนื้อหาแปลกใหม่ดี แต่เป็นเพราะการเรียนการสอนให้พลังด้านบวกแก่เรา (ฟังดูยิ่งใหญ่) ทั้ง encouraging และ supportive ไม่เคยเบื่อสักคาบที่เรียน สนุกจริงๆอะ มีแต่รู้สึกว่าเนื้อหาเยอะ ไม่ไหวแล้ว (สอบเสร็จจะ depressed ทุกครั้ง) แต่ก็ได้กำลังใจจากอาจารย์ ได้รู้ว่าตัวเองยังต้องพัฒนาอีกเท่าไหร่ให้ทันคนอื่น มันก็คุ้มค่ากับการเรียนอยู่แหละ ทำให้อยากทำงานแปลนิยายเลยด้วย 


    7. General Philosophy (เจนฟิลอส)


    เนื้อหาและรายละเอียดคร่าวๆ (เซค 4 อ.วศิน)

    ·       สอบ 40%เขียน reflective learning journal (สะท้อนว่าเรียนอะไรบ้างพัฒนาแค่ไหน)10% เรียงความ 50% (ประเมินเรียงความเพื่อน 4 งาน (15pt.) เรียงความ draft แรก(5pt.) และเรียงความ final draft (30pt.) ) เปเปอร์ discussion ทั้งหมด 8 งาน พรีเซ้นกลุ่ม 1 ครั้ง เขียน overall reflection อีก 1 งาน คะแนนรวมอยู่ใน extra marks (บวกกับคะแนนสอบ)

    ·       เนื้อหาที่เรียน 4 topic หลัก Scepticism (รู้อะไรจริงๆได้บ้าง) Euthanasia (การุณยฆาต) Determinism and Free will (เราถูกกำหนดหรือเรามีอิสระที่จะเลือก) Art and morality (คุณค่าทางสุนทรียะและคุณค่าทางจริยธรรมกระทบกันหรือไม่)


    การเรียนการสอน

    ·       อาจารย์จะอัพไฟล์ Readingที่ต้องอ่านของแต่ละสัปดาห์ (สัปดาห์แรกของแต่ละ topic มักจะเป็นอินโทร ประมาณ 20+ หน้า สัปดาห์ 2 เนื้อหายากขึ้น เพราะเป็นเปเปอร์จริงๆ ส่วนใหญ่ก็ 25-36+ หน้า) เป็นแบบนี้จนครบ 4 เรื่อง ก็ควรอ่านเพราะเป็นการเรียนการสอนหลัก อาจารย์จะไม่สอนละเอียด เจอหน้าก็ดิสคัสเลย แล้วที่ต้องอ่านก็เพื่อเข้าใจ arguments ที่เจอบ่อยๆ, counter-arguments, และได้คิดประเด็นที่จะคุยกันก่อนล่วงหน้า (อันนี้คือสิ่งที่อาจารย์คาดหวัง ความจริงอ่านกันแค่ครึ่งชุดก็เริ่มยอมแพ้แล้ว orz) เรามักจะอ่านให้จบ แต่อ่านข้ามๆนะ ยาก ขี้เกียจ ไปรอเก็บเกี่ยวเอาตอนดิสคัส ถามอาจารย์เคลียร์ๆเลยดีกว่า ฮิ / แต่คอร์สนี้เน้นศึกษาเองเป็นหลัก ถ้าอ่านและทำปรัชญาเองโดยขาดอาจารย์สอนไม่ได้เลย คิดว่าไม่เหมาะอย่างแรง เพราะจะเหนื่อยเอง

    ·       ดูหนัง topic ละ 1 เรื่อง เทอมนี้ก็ดู Alice in Wonderland, Me before you, อีกเรื่องจำไม่ได้ ส่วน Art ไม่มี เราว่าการดูหนังเฉยๆไม่ได้ช่วยอะไรมาก แค่ทำเปเปอร์ส่งอาจารย์ได้

    ·       ช่วงดิสคัสเป็นสิ่งที่เคลมกันว่าจุดเด่นของการเรียนกับคุงวศิน ถ้าไม่ได้ดิสคัสคือ อ.วศิน ตัวปลอมสอน (อันนี้เคลมเอง) พูดงี้คนก็จะไม่เห็นภาพอยู่ดี ลองคิดภาพกลุ่มละ 4-7 คนนั่งตามโต๊ะ อาจารย์เปิดคำถามบนกระดานแล้วให้แต่ละกลุ่มพยายามตอบคำถามนั้น โดยใช้ความรู้ปรัชญา จากนั้นแชร์คำตอบกันทั้งห้อง เสร็จแล้วอาจารย์ก็จะเปิดช่วง (แกมบังคับ) ให้โต้แย้งคำตอบกลุ่มอื่นๆ ถ้าเวลาเหลือก็จะได้หลายคำถามหรือไม่ก็ได้ตอบสองรอบ เอาสิ่งที่เพื่อนแย้งมามาพิจารณา ประมาณนี้ ดิสคัสมัน 3  ชั่วโมงนั่นแหละ อาจารย์ก็มักจะอธิบายเรื่องที่เรียนคร่าวๆก่อน (แต่ไม่ละเอียดเหมือน reading นะ ต้องอ่านเองถึงจะได้เหตุผลที่เค้าสรุปนั่นโน่นนี่) แล้วช่วยแย้ง ช่วยดึงทุกคนกลับสู่ประเด็นหลัก ซึ่งก็จะมีทั้งวันที่ง่วง วันที่สนุกมากๆ วันที่ยาก เหนื่อย หัวจะระเบิด (อย่างหลังเยอะหน่อย) ครบรสเลย

    ·       การทำงานกลุ่ม ต้องปั่นเปเปอร์เกือบทุกอาทิตย์ ลักษณะงานก็คือเขียนเรียงความตอบคำถามแต่ละสัปดาห์ที่อาจารย์ประทานให้นั่นแหละ ส่วนตัวชอบเพราะได้ฝึกเขียนเยอะดี ดูเป็นการทำปรัชญาจริงๆ มีนิยาม ข้อเสนอ ข้อแย้ง สรุป คือเรียงความเทอมนี้ต้องส่งงานเดียวใช่ป้ะ ทำเปเปอร์เหมือนเป็นเรียงความย่อยๆมา 8 งานละอะ โฮกกกกกกกกกกก (anyway จริงๆจะทำไม่ทำก็ได้ มันแค่คะแนนเสริม แต่ส่วนใหญ่ก็ทำกันแหละ เผื่อคะแนนสอบเน่า)

    ·       Presentation คือให้แต่ละกลุ่มมาพรีเซ้นในหัวข้อที่ได้รับ ข้อกำหนดคือต้องเอื้อให้เพื่อนๆดิสคัสต่อได้ กลุ่มเราทำเรื่อง Determinism and Free will on relation of Love and LGBTQ ซึ่งก็เอนจอย เพราะได้พยายามตอบคำถามว่า ตกลงความรักกำหนดมาแล้ว หรือว่าเราเลือกรักใครก็ได้ แต่ถ้าเลือกรักใครได้จริงต้องเลือกหยุดรักได้ด้วยสิ (ฮิ้ว) หรือประเด็นที่ว่า เพศที่สามนี่เกิดจากความสมัครใจ หรือสังคมหล่อหลอม หรือยีนกำหนด ฯลฯ พรีเซ้นเสร็จแล้วถ้าเพื่อนๆให้ความร่วมมือดิสคัสต่อก็โอเค แต่ก็มีบางกลุ่มที่คำถามไม่ค่อยเหมาะจะดิสคัส หรือพรีเซ้นเนื้อหาเยอะเกิน อาจารย์ก็จะคอมเม้นตรงนั้นเลย

    ·       Peer assessment เป็นการประเมินเรียงความเพื่อน ซึ่งเราชอบมากกกกกกกกกกกก แบบมากๆ ชอบอ่านงานเพื่อน เทอมนี้ได้ประเมินงานที่ค่อนข้างดี แต่เกณฑ์ประเมินเรียกร้องความละเอียดครอบคลุมกว่าตอนประเมินเรียงความ Reasoning มาก ส่วนโชคชะตาก็จะสุ่มคนที่ประเมินงานเรา และงานที่จะได้ประเมินมาให้ (วิชานี้จะใช้ระบบ anonymous ไม่เปิดเผยชื่อถ้าเป็นงานใหญ่ๆ/สอบ)

    ·       เรียงความ เป็นเรียงความหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาที่ได้เรียนในเทอมนี้ ต้องระวังไม่เลือกหัวข้อที่ไม่เกี่ยว หรือเหมือนจะเกี่ยวแต่ไม่เกี่ยว เขียนคล้ายๆเรียงความ Reasoning เลย แต่ใส่เนื้อหาปรัชญาลงไป เรียงความนี้อาจารย์ไม่ยอมคอมเม้นเวอร์ชั่นดราฟต์ (สะเทือนใจ1) แต่ก็จะผ่านการคอมเม้นท์จากเพื่อนอย่างต่ำ4 คน ไม่มีตัวอย่างเรียงความจากเทอมก่อนให้อ่านด้วย (สะเทือนใจ2) แต่คิดว่าจาก reading ที่อ่านตลอดเทอมก็ช่วยบ้างแหละ

    ·       การสอบ สอบทุกวันเสาร์หรืออาทิตย์ทุกๆสัปดาห์ที่ 3 ของแต่ละ topic จะสอบที่บ้าน เปิดหนังสือ reading และเน็ตได้ตามสบาย (แต่ต้องมี references ด้วย) ใช้เวลาสอบ 1 ชั่วโมง มี 1 คำถาม ตอบเหมือนเขียนเรียงความส่งนั่นแหละ ไหนลองคำนวณกัน สรุปว่าเทอมนี้ได้เขียนเรียงความตัวเอง 1+ สอบ 4+ เปเปอร์ 8 = 13 เปเปอร์!! ไม่ชอบอย่างนึง ไม่เคยเข้าใจโจทย์ข้อสอบแบบถ่องแท้สักที /ล้มโต๊ะ ก็ได้แต่ตอบไปแล้วคิดในแง่ดีว่า คงเข้าใจถูกล่ะมั้งงงงงงงง


    ความคิดเห็นส่วนตัว

    ·       ปรัชญาเป็นวิชาที่น่าสนใจในตัวเอง เรียนจบคอร์สก็รู้จักและเข้าใจการทำปรัชญาขึ้นเยอะ ได้ลงมือจริง ถึงจะแค่เบื้องต้น ก็ถือว่าบรรลุจุดประสงค์วิชามั้ง แต่ก็ยอมรับว่าปวดหัว เทียบแล้วชอบ Reasoning มากกว่า อาจเพราะปรัชญาไม่มีคำตอบเหมือน Reasoning แต่ระหว่างที่เรียนก็ได้ใช้ความรู้การใช้เหตุผลเหมือนกัน เพราะไม่ว่าจะดิสคัส เขียนเปเปอร์ ก็ยังต้องแคร์ตรรกะนะ

    ·       ชอบที่ได้อ่านเปเปอร์จริงๆ (warning: ภาษาอังกฤษล้วน เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือนคนที่จะลงเซคนี้) หลากหลาย และมีประโยชน์เวลาดิสคัสหรือสอบอยู่บ้าง แต่ consume เวลาเราค่อนข้างเยอะ 

    ·       กำลังจะบอกว่างานไม่ได้เยอะเท่าที่คิด แต่จากที่ลิสต์มาทั้งหมด เออ เยอะว่ะ (…) เอาเป็นว่าก็มีงานตลอดเทอม แต่เราไม่ซัฟเฟอร์ บางคนอาจจะซัฟเฟอร์ ซึ่งก็เรื่องของเขา ไม่ซัฟเฟอร์ไม่ได้หมายความว่าไม่เหนื่อยไม่เครียด ก็มีบ้าง แต่ว่าเอนจอยไง เอนจอยการเขียนเปเปอร์ เราชอบที่ตัวเองได้ฝึก ไม่ใช่อ่าน สอบ อ่านสอบ และสกิลการเขียนที่ทั้งเราและเพื่อนในกลุ่มได้ ก็ใช้กับวิชาอื่นได้ด้วยนะ เพราะความคิดเป็นระบบระเบียบขึ้น การหาข้อมูลรอบคอบขึ้น organize เรียงความได้ดีขึ้นฯลฯ

    ·       การดิสคัสเปลี่ยนเราไปเลย ตอนแรกๆไม่ชอบดิสคัสมาก มาก มาก ไม่ชอบเลย ไม่เข้าใจการต้องมานั่งเถียงกัน แต่พอเริ่มชิน เออมันก็ดีว่ะ รับฟังคนอื่นมากขึ้น แต่ถ้าเป็นคนเงียบๆไม่ค่อยอยากคุย อาจจะเบื่อได้ เพราะดิสคัสตลอด แต่ด้วยตัวอาจารย์ ด้วยลักษณะการเรียน บรรยากาศจะไม่ถึงกับเครียดถึงกับง่วง สนุกดี คิดซะว่านั่งคุยกัน

    ·       เรื่องการสอน อาจารย์ไม่ได้สอนเยอะอะ ไม่เหมือน Reasoning ที่อาจารย์ทั้งอัดคลิปทั้งสอนทั้งพาทำแบบฝึกหัดทั้งมีควิซ เราต้องเรียนเอง ดังนั้น ถ้าอยากจะเลกเชอร์คือไม่ใช่เลย วิชานี้อาจารย์แค่กระตุ้นให้คิด ให้ดิสคัส ให้โต้แย้งกัน คุยกัน ถ้าผิดเดี๋ยวอาจารย์จะแก้ ถ้าสงสัยให้ถาม แนวๆนี้มากกว่า แต่ด้วยความที่ชอบเรียนกับเค้าอยู่แล้วไง๕๕๕๕๕ อาจารย์ก็เหมือนเดิม สบายๆ ตลก แต่คือเค้าเก่งมาก เราคิดในใจว่ามีใครเคยเถียงชนะเค้ามั้ยอะ ฮืออออออออออ ดังนั้นสิ่งนึงที่เราคิดว่าใช่คืออาจารย์มีความโปร รู้จักเรื่องที่จะสอนดี ความรู้กว้าง ถ้านั่งแย้งกับเค้ามันจะยาวนานแบบ endless อะ หาว่าอวยก็ได้ มันแล้วแต่คนชอบ (คนไม่ชอบถอนไปแล้วจำนวนหนึ่ง ถอนไม่ทันอีกจำนวนหนึ่ง) แต่แนะนำว่าเลือกอาจารย์ดีๆ ถูกจริตตัวเอง เลือกเซคที่เรียนแล้วได้อะไรจริงๆ อาจารย์ดีก็มีกำลังใจเรียน 

    ·       เทอมนี้ได้เพื่อนดีด้วย เพื่อนช่วยผลักดันจนถึงฝั่งฝัน (นั่นคือเขียนเรียงความจบ) เราว่าเพื่อนเป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะเรียงความวิชานี้มีหลายดราฟต์ สมมุติดันซวยได้คนที่ peer ให้ไม่ดี ก็ยังให้เพื่อนช่วยดูให้ได้ หรือดูให้เพื่อนบ้าง แล้วต้องดิสคัสทั้งเทอมด้วย ถ้าเพื่อนดี เพื่อนตั้งใจ ก็จะดีกว่า

    ·       สรุปชอบวิชานี้มากที่สุดตรงได้คิดอะไรเยอะ ได้มองอะไรหลายๆมุมบ้าง ได้อ่าน ได้เขียน ต้องมีประโยชน์กับชีวิตบ้างแหละ ทางใดทางหนึ่ง ถึงแม้ปรัชญาจะเป็นวิชาที่คิดแทบตายก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรในชีวิตเลยก็ตาม... เพราะจุดนี้ทำให้เราชอบ Reasoning มากกว่า เราว่าตรรกะเป็นอะไรที่เจ๋ง เรียนแล้วรู้สึกฉลาดขึ้น ในขณะที่ปรัชญาเรียนแล้วจะมึนๆ อึนๆ ชอบก็ไม่เชิง ไม่ชอบก็ไม่ใช่ แต่ว่าอยากเรียนเรื่อยๆ อยากพัฒนาต่อไป แบบนี้ละกัน

    ·       ปล.แต่ก่อนเราถามพี่คนอื่น ถามอาจารย์ ว่า Reasoning กับเจนฟิลอส วิชาไหนซัฟเฟอร์กว่า เราให้คำตอบได้แล้วว่า Reasoning เจนฟิลอสรู้สึกไม่เครียดเท่า ไม่ยากเท่า หลายอย่างอะ ก็จะมีคนแซวอีกแล้วว่า เอกปรัชญามั้ย ไม่ค่ะ orz ไม่โทด้วย ไม่ได้อินเว่อวังและไม่ได้เก่งขนาดจะเรียนเมตาฟิสิกส์ได้ ขอเก็บเป็นเสรีพอแล้วกัน แหะๆ




               สรุปได้ว่า เทอมนี้เจอวิชาที่เอนจอยเยอะ ตั้งแต่เอาหลายๆวิชาเทอมก่อนออกไป (ex.เรสคอม อีสซีฟ ฯลฯ) เราก็ทรมานน้อยลง เครียดน้อยลงด้วย อาจเพราะเทอมก่อนเป็นเทอมแรก ทุกอย่างมันแปลกใหม่ไปหมด ระแวงไปหมด ไม่รู้จะเจอกับอะไร ตอนนี้สิ่งเดียวที่ทำให้ใจเต้นได้คือตอนเห็นเกรดล่ะมั้ง เริ่มปลงตกแล้ว ชินชาแล้ว ยังคงรักในการเรียนที่อักษรเหมือนเดิม ยังไม่มีอะไรมาทำให้ท้อใจจนถึงขั้นแบบ อืมมมม ซิ่วละกัน และไม่อยากเจออะไรแบบนั้นด้วย เป็นกำลังใจให้ตัวเองและให้ทุกคน T w T ต่อไปเป็นการเอนจอยกับช่วงปิดเทอม เฮ!





Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
youko_twt (@youko_twt)
พรีเซ้นยากไหมคะอยากรู้รายละเอียดเพิ่ม กลัวการพรีเซ้นมากTT
Jelly Pitipongpakdee (@fb1535607769789)
@youko_twt ไม่รู้เปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว แต่ถ้าท่องสคริปต์เตรียมตัวดีๆ ไม่ยากเกินไปแน่นอนค่ะ
zzhanya_ (@zzhanya_)
ขอทวิตเตอร์ของพี่หน่อยได้มั้ยคะะ
Jelly Pitipongpakdee (@fb1535607769789)
@zzhanya_ จะสอบถามเพิ่มเติมหรอคะ ทางเฟสก็ได้น้าา