Butterfly Effect: ผังเมืองที่ดีส่งผลให้บรรยากาศโดยรวมของเมืองดี รวมถึงมีความโรแมนติก ทำให้เราอารมณ์ดีเมื่อได้ไปสถานที่ต่างๆ อย่างสะดวกสบาย ส่งผลให้ผู้คนที่อยู่รอบตัวเราได้รับพลังงานที่ดีไปด้วย จนเกิดการพัฒนาความสัมพันธ์ในเชิงบวก
จากสาเหตุของปัญหาผังเมืองกรุงเทพฯ ที่กระทบไปยังความสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เป็นที่น่าสนใจว่าพอมีหนทางใดที่จะมาคลายหรือแก้ปัญหานี้ให้หมดไป หรือท้ายที่สุดแล้ว คนกรุงเทพฯ จำต้องก้มหน้ายอมรับผลของการจัดการผังเมืองที่ไม่เป็นระบบนี้ตลอดไป
ทั้งนี้ การสืบค้นพบของกลุ่มผู้วิจัยว่า แนวทางการแก้ไขปัญหาที่พอเป็นไปได้ มีดังต่อไปนี้
1.ในแง่ผังเมือง:
1.1) กรุงเทพฯ สร้างอาคารบ้านเรือนโดยไม่คำนึงถึงสภาพแล้วล้อมหรือถนนที่มีอยู่เดิม ทำให้เมื่อสร้างสถานที่ใดแล้วไม่มีทางเข้า-ออก จึงจำเป็นต้องตัดถนนใหม่ ทำให้เกิดซอยเล็กซอยน้อยจำนวนมาก ส่งผลให้การเดินทางเป็นมลพิษ คือ จำยาก หลงง่าย และใช้เวลาเดินทางนานกว่าเดิม
1.2) ควรส่งเสริมการสร้างทางเดินเท้า เพื่อเอื้อให้ผู้คนมาพบเจอกันมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีที่รัฐบาลส่งเสริมการขยายทางเท้าให้กว้างกว่าเดิม
2. ในแง่การเดินทาง: ขนส่งสาธารณะควรเข้าถึงทุกพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพราะทำให้กาลเทศถูกย่นระยะความต่างไปได้ ทำให้ผู้คนไม่รู้สึกเหนื่อยหน่ายกับการเดินทางมากเกินควร เช่น สร้างรถไฟฟ้าที่เข้าถึงทุกเขตในกรุงเทพฯ เปิดสายรถเมล์ที่มีเส้นทางวิ่งกว้างไกลกว่าเดิม กล่าวคือ เน้นที่มิติการเพิ่มศักยภาพในการเดินทางผ่านขนส่งสาธารณะ แทนที่จะให้ทุกคนขับรถยนต์ส่วนตัวแล้วไปเผชิญกับปัญหาการจราจรอันเกิดจากการจัดการผังเมืองอย่างไม่เป็นระบบ
3. ในแง่วิถีชีวิต:
3.1) รัฐบาลสนับสนุนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เช่น เทศกาลดนตรี เทศการศิลปะ เทศการอาหารนานาชาติ เพราะการรวมตัวกันทำกิจกรรมทางสังคมเหล่านี้ ทำให้เราได้มีโอกาสอยู่กับคนรอบตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องควบคู่ไปกับการมีขนส่งสาธารณะที่ดีด้วย
3.2) รัฐบาลควบคุมอัตราค่าโดยสารของขนส่งสาธารณะให้มีความเหมาะสม เพื่อดึงดูดให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการและทำให้ถูกเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น เพราะเมื่อการเดินทางง่ายและสะดวกสบาย จะทำให้ผู้คนเข้าถึงสถานที่ต่าง ๆ ได้ดีขึ้นเช่นกัน
3.3) สร้างพื้นที่สาธารณะให้กระจายทุกเขตพื้นที่ของกรุงเทพฯ เพื่อเอื้อให้ผู้คนมาใช้เวลาร่วมกัน เช่น สวนสาธารณะประจำหมู่บ้าน สวนสาธารณะประจำเขต พิพิธภัณฑ์ศิลปะประจำเขต
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดจึงสรุปได้ว่า การแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นในสังคมจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นผังเมืองที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้คน การเดินทางที่มีประสิทธิภาพ การมีกิจกรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ พื้นที่สาธารณะที่ผู้คนสามารถเข้าไปใช้ร่วมกันได้ หากสิ่งเหล่านี้ได้รับการส่งเสริมและเอาใจใส่ ย่อมทำให้ผู้คนอยากออกมาใช้ชีวิต อยากออกมาสานสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และกรุงเทพฯ จะไม่กลายเป็นเมืองที่มืดบอดทางความสัมพันธ์อีกต่อไป
- urbaninlove ♡
อ้างอิง
- Moon, “พาทุกคนไปดู นโยบายพัฒนากรุงโซล,” blockdit, 1 กรกฎาคม 2563,
https://www.blockdit.com/posts/5efc9579bfd1a61383a5230d.
- Too hot to handle 2, “stat excercise 3: interview,” 16 พฤศจิกายน 2565, https://www.youtube.com/watch?v=xfI9gniur3I&feature=youtube.
- UrbaninLove (@urbaninlove). "คนกรุงเทพฯ มีความคิดเกี่ยวกับผังเมืองและการสร้างความสัมพันธ์อย่างไร ? จากผลการตอบแบบสอบถาม เห็นได้ว่า....." Instagram, 28 ธันวาคม 2565. https://www.instagram.com/p/Cmq8REIyHQB/.
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in