เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
จากลังกาสู่ล้านนาฯ By จักรกฤษณ์ วิทย์สุภาเลิศ
  • รีวิวเว้ย (1309) เมื่อวานเห็นข่าวเกี่ยวกับพระและสนามบินหนึ่งทางภาคอีสานกับคำถามของพระรูปนั้นว่า "ทำไมสนามบินมีแต่ห้องละหมาดไม่มีห้องพระ" ในใจก็คิดว่า (1) พระจะอยากได้ห้องพระในสนามบินไปทำไม ในเมื่อศาสนาพุทธแบบไทยมันไม่ใช่ศาสนาที่เน้นการปฏิบัติขนาดนั้น อีกทั้งศาสนาพุทธแบบไทยหากเรียกให้ถูกคงต้องเรียกมันว่า "ศาสนาไทย" เสียด้วยซ้ำไป และ (2) ถ้าสนามบินจัดให้มีห้องพระ แล้วใครจะใช้งาน ? เพราะศาสนาไทยไม่ได้กำหนดให้คนที่นับถือศาสนาไทยต้องไหว้พระสวดมนต์ เช่า กลางวัน และเย็น เมื่ออ่านข่าวจบลงก็ได้แต่สงสัยว่าพระต้องการอะไรไปได้ นอกจากจงใจจะสร้างความเกลียดชังต่อศาสนาอื่น ๆ ทั่งที่จริง ๆ ศาสนาก็สอนให้ปล่อยวาง ลด ละ ความอยากได้ใคร่มี แต่ศาสนาไทยก็ดูจะเดินไปในทางตรงข้ามกับคำสอนของสมณโคดม เพราะเราจะเห็นว่าพระในศาสนาไทยจ่างนิยมสะสมความมั่งคั่ง นิยมสะสมตำแหน่งพระและนิยมให้คนยกย่องสถานะอันสูงโด่เดของพระในศาสนาไทยอยู่เสมอ หลายปีมานี้เห็นข่าวของพระในศาสนาไทยและคนที่นำถือศาสนาไทยก็ได้แต่สงสัยว่าหากพระพุทธเจ้ายังอยู่หรือรับรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้น ท่านจะรู้สึกอย่างไรเมื่อพุทธ (ไทย) สาวกของท่านตีคยามคำสอนและบิดมันเพื่อสร้างผลประโยชน์สนองกิเลสตัญหาส่วนตนได้ขนาดนี้
    หนังสือ : จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร
    โดย : จักรกฤษณ์ วิทย์สุภาเลิศ
    จำนวน : 36 หน้า
    .
    "จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" หนังสือเล่มเล็ก ๆ (ที่เราขอเขียนว่าบทความ) ที่บอกเล่าเรื่องของการเดินทางของพุทธศาสนาจากอินเดีย สู่ลังกา และมาสู่ล้านนา ที่ตลอดการบอกเล่าของ "จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" เราจะเห็นถึงความขัดแย้ง ความพยายามในการแย้งชิงกลุ่มลูกค้า และความพยายามในการสถ่ปนาเพื่อบอกให้โลกรู้ว่า "กูเนี่ยของแท้" หรือ "กูนี่แหละพุทธแท้" ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่าปัญหาของการแย่งชิง บิดเบือน และสร้างความชอบธรรมของพุทธศาสนาแต่ละแห่งที่มีมาตั้งแต่หลายพันปีมาแล้วนับตั้งแต่วันที่สมณโคดมดับขันธ์ปรินิพพาน และยังคงมีต่อมากระทั่งปัจจุบัน
    .
    "จากลังกาสู่ล้านนา : อำนาจ คณะสงฆ์ และการณ์พระราชอาณาจักร" แสดงให้เราเห็นถึงพลวัตความขัดแย้งภายใต้การขยายอำนาจของพุทธศาสนาทั้งจากอินเดียสู่ลังกา และจากลังกาสู่ล้านนา ที่เมื่อเข้าสู่ล้านนาแล้วพุทธศาสนาได้กลายมาเป็นกลไกของรัฐในการสร้างความชอบธรรมในการครอบงำรัฐผ่านวิถีปัฏิบัติของความเชื่อทางด้านศาสนา และจุดนี้เองเราจะเริ่มเก็นข้อขัดแย้งของศาสนาพุทธแต่ละสำนักเมื่อเข้าสู่ล้านนาในรูปของการเปลี่ยนแปลงจากพุทธสู่ศาสนาไทย และความพยายาในการรักษาความเชื่อให้พุทธเป็นพุทธ การสู้กันของชุกความเชื่อ 2 แบบในล้านนาคือการสู้กันภายมต้การถูกดึงและพยายามดึงให้อาณาจักรของเจ้าผู้ปกครองดินแดนเข้ามาเป็นพวก ดังนั้นเราจะไม่แปลกในที่จะเห็นสถานะของพุทธศาสนาในสังคมไทยปัจจุบันมีหน้าตาออกมาดังเช่นที่เป็นอยู่ และไม่น่าแปลกใจที่จริตของคนนับถือศาสนาไทยถึงได้เดินทางมาไกลนับจากวันที่สิทฺธตฺถ โคตม เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in