รีวิวเว้ย (1818) ความขัดแย้งในมินดาเนาหรือการต่อสู้ด้วยอาวุธของชาวโมโรในฟิลิปปินส์ เป็นการต่อสู้ที่เกิดจากความแตกต่างทางชาติพันธุ์ ขณะเดียวกันปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม อัตลักษณ์ และความมั่นคงของประชาชนก็ยังเป็นปัญหาเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะมีความพยายามในการเจรจาและลงนามข้อตกลงก็ยังไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้ รวมถึงการเรียกร้องให้มีกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญในเขตปกครองตนเอง ความขัดแย้งดังกล่าวทวีความรุ่นแรงขึ้นจนกระทั่งมีการวางแนวทางของการจัดการความจัดแย้งอย่างเป็นระบบ รวมทั้งหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องต่างเข้ามามีส่วนสำคัญในการจัดการปัญหาและความขัดแย้งดังกล่างผ่านกลไกที่นับรวมผู้แตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน

หนังสือ : กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม
โดย : มาคาปาโด อาบาตอน มุสลิม แปล สีดา สอนศรี
จำนวน : 120 หน้า
.
"กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม" เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของ "กฎหมายบังซาโมโร (Bangsamoro Organic Law)" หรือ "BOL" ที่เป็นกฎหมายที่มีกระบวนการทำประชาพิจารณ์ฝ่ายมุสลิม คริสเตียน และกลุ่มชาติพันธุ์ลูมาด (Lumad) เพื่อร่างเป็นกฎหมายฉบับนี้ และนำเข้าสู่สภาเพื่ออนุมัติและหยั่งเสียงประชาชน นำมาสู่การประกอบเป็นกฎหมายในเวลาต่อมา กฎหมายฉบับนี้ทำให้ชาวบังซาโมโรสามารถที่จะแสดงความต้องการของตน มีอธิปไตยในดินแดน และข้อตกลงทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของทั้ง 3 กลุ่ม
.
โดยเนื้อหาของ "กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม" แบ่งออกเป็น 6 บทดังต่อไปนี้
.
บทที่ 1 กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์ : การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม
.
บทที่ 2 การกลมกลืนของรัฐบาลในการจัดการปกครองภายใต้ความขัดแย้งในมินดาเนา
.
บทที่ 3 การปกครองตนเองในระดับภูมิภาค ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ
.
บทที่ 4 กระบวนการสันติภาพอันยาวนาน และความอ่อนแอของการปกครองตนเอง
.
บทที่ 5 ภูมิภาคปกครองตนเองภายใต้กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ
.
บทที่ 6 บทสรุปและข้อเสนอแนะ
.
"กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม" อาจจะเป็นตัวอย่างที่ดีของการสร้างกลไกและรูปแบบของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดจากความเห็นต่างของกลุ่มคน และสร้างให้คนหลากกลุ่มสามารถอยู่ร่วมกันได้ในสังคม และเชื่อว่า "กฎหมายบังซาโมโรประกอบรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 2018 ในประเทศฟิลิปปินส์: การแก้ไขความขัดแย้งในมินดาเนา โดยให้สิทธิการปกครองตนเอง และให้ได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรม" จะเป็นตัวอย่างให้กับการจัดความขัดแย้งในสังคมไทยในฐานะตัวแบบ อีกทั้งแนวทางของการจัดการความขัดแย้งภายในรัฐ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in