เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง By แปล ผุสดี นาวาวิจิต
  • รีวิวเว้ย (1690) ย้อนกลับไปในสมัยที่เราเป็นเด็ก เราเคยเชื่อว่าโรงเรียนคือสถานที่ที่จะมอบความรู้ ความสนุก และอื่น ๆ ให้กับเราได้อย่างมากมาย จนหลายครั้งเราก็ลืมคิดไปว่า "ความทรงจำ" หลากหลายรูปแบบมักเกิดขึ้นจากระบบการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดีหรือไม่ดีก็ตามแต่ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโรงเรียน เป็นสถานที่ที่มีพลังในการกำหนดความทรงจำ ความรู้สึก ความรู้ ความคิด และในหลายครั้งมันคือสถานที่ที่ "หล่อมหลอมและสร้างความเป็นเรา" ขึ้นมา โดยเฉพาะกับคนที่เกิดก่อน พ.ศ. 2540 โรงเรียน ครู และคำสอนในโรงเรียน แทบจะเป็นทุกสิ่งอย่างที่สร้างเราให้เป็นเราแบบในปัจจุบัน แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้อีกเช่นกันว่าโรงเรียน บางครั้งมันก็สร้างบาดแผลในชีวิตที่ส่งผลกับเรากระทั่งปัจจุบันได้เช่นเดียวกัน 
    หนังสือ : โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง
    โดย : คุโรยานางิ เท็ตสึโกะ แปล ผุสดี นาวาวิจิต
    จำนวน : 304 หน้า
    .
    "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวในฐานะของบันทึกแห่งความทรงจำของ "โต๊ะโตะจัง" ที่มีขึ้นโดยที่มีฉากหลังเป็นโรงเรียน และสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลาก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บอกเล่าเรื่องราวของสังคมญี่ปุ่นในมุมมองของเด็กหญิงข้างหน้าต่าง 
    .
    โดยเฉพาะเรื่องราวของ "โรงเรียน" และครูใหญ่ของโรงเรียนที่ "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" เรียนอยู่ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าในปัจจุบันเราอาจจะเรียกโรงเรียนในลักษณะนี้ว่า "โรงเรียนทางเลือก" ที่เปิดโอกาสให้การศึกษาวางตัวอยู่บนฐานของ "ความหลากหลาย" มากกว่าวางตัวอยู่บนมาตรฐานของระบบการศึกษาที่ถูกออกแบบมาอย่างขาดพร่องด้วยมิติและความน่าค้นหา 
    .
    "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นที่ซ้อนทับอยู่ในโลกรอบตัวของโต๊ะโตะจัง ซึ่งนอกจากจะช่วยให้เข้าใจในบริบทและสภาพของสังคมญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถมองเห็นและรับรู้ถึงความคิด ความทรงจำ และความสามารถของเด็กตัวเล็ก ๆ ที่หลายครั้งผู้ใหญ่มักมองว่า ก็แค่เด็กคนหนึ่งพวกเขาคงไม่สามารถคิดอะไรได้ด้วยตัวเองได้ ซึ่ง "โต๊ะโตะจัง เด็กหญิงข้างหน้าต่าง" ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าความคิดดังกล่าวไม่ถูกต้อง และดูจะเป็นการกระทำที่ใจแคบเกินไป หากสังคมหนึ่งจะมองเห็นเด็ก ๆ เพียงในฐานะของ "เด็ก" ที่ต้องรอคอยความช่วยเหลือและการตัดสินใจจากผู้ใหญ่แต่เพียงเท่านั้น

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in