Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยฯ By ศุภมิตร ปิติพัฒน์
รีวิวเว้ย (1270) ข้อถกเถียงที่สำคัญอันหนึ่งของไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (2566) คือคำถามเรื่องของระบอบการปกครองของประเทศนี้ว่าสรุปแล้วประทศนี่ปกครองด้วยระบอบอะไร (?) หลายคนนำเสนอความเห็นเอาไว้หลายรูปแบบถึงเรื่องของระบบการปกครองของประเทศนี้ที่แตกต่างกันออกไป แต่ระบอบการปกครองหนึ่งที่ได้รับความนิยมและดูจะเป็นที่ถูกอกถูกใจและถูกหยิบมาใช้อยู่บ่อยครั้งคือ "
สถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" ระบอบที่เราในฐานะของนักเรียนรัฐศาสตร์นั่งงงอยู่สักพักเมื่อได้ยินชื่อของระบอบการปกครองดังกล่าว และเราก็เชื่อว่าในทุกวันนี้ผู้คนในสังคมก็ยังคงถกเถียงกันว่า โดยสรุปแล้ว
"
สถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข" คืออะไรกันแน่
หนังสือ : จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โดย : ศุภมิตร ปิติพัฒน์
จำนวน : 248 หน้า
เพื่อหาคำตอบของคำถามและความสงสัยในเบื้องแรกเราจึงได้หยิบเอา "
จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
" มาอ่านเพื่อลองหาคำตอบและลองทำความเข้าใจว่าระบอบการปกครองนี้มีจุดเริ่มต้นขึ้นเมื่อไหร่ โดยที่เนื้อหาของ
"
จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
" ได้วางกรอบโครงของหนังสือเอาไว้ว่า
"
ศึกษาที่มาของแนวคิดเกี่ยวกับการจัดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับ- สถาบันทางการเมืองของระบอบใหม่ในช่วงเวลารัชกาลที่ 8 ต่อรัชกาลที่ 9 โดยถือว่าช่วงเวลาดังกล่าวเป็น Critical juncture (
จุดบรรจบสำคัญของเหตุหรือของกระแสใหญ่ๆ ที่กดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม : https://www.the101.world/critical-juncture/
) สำคัญ ที่เปิดโอกาสให้แต่ละฝ่ายในความขัดแย้งทางการเมืองที่ดำรงอยู่ก่อนหน้านั้นมีโอกาสปรับตัวและตั้งต้นการจัดบทบาทและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์"
โดยเนื้อหาของ
"
จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
" แบ่งออกเป็น 6 บทดังต่อไปนี้
บทที่ 1 บทนำ
บทที่ 2 วางประเพณีการปกครองระบอบพระมหากษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ: จุดตั้งต้นอยู่ที่ไหน ?
บทที่ 3 ความคิดทางการเมืองการปกครองในพระนิพนธ์ของพระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤฒิยากร
บทที่ 4 การเตรียมพระองค์ในขั้นต้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 ตามแนวทางการอบรมของสมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี: ตีความจากพระนิพันธ์ของสมเด็จพระพี่นางเธอฯ กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และบันทึกความทรงจำของนายแพทย์ เอ. จี. เอลลิส
บทที่ 5 ต้นรัชกาลที่ 9
บทที่ 6 บทสรุปที่จุดเริ่มต้น
เมื่ออ่าน
"
จุดเริ่มต้นสถาปนาการปกครองประชาธิปไตยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
" จบเรา เราจะพบความจริงประการหนึ่งในอีกหนึ่งมุมมองในเรื่องของการย้อนหาจุดตั้งต้นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข แต่เนื้อหาที่อ่านได้อาจจะมิได้ฉายภาพให้เห็นความครอบคลุมของพัฒนาการของระบอบการปกครองดังกล่าวด้วยการวางกรอบโครงของการศึกษาเอาไว้ที่ช่วงของสมัยรัชกาลที่ 8 ต่อรัชกาลที่ 9 ซึ่งสำหรับเราแล้วงานชิ้นนี้ได้ฉายให้เห็นพลวัตบางประการที่สำคัญและน่าสนใจ
และสำหรับใครที่สนใจเรื่องของการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เราขอแนะนำให้ลองอ่านงานเรื่อง "
สำรวจสถานภาพความรู้เรื่อง “ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” ในปัจจุบัน" ของ "
ปฤณ เทพนรินทร์
" (
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/PolscituJR/article/view/253167
) ควบคู่กันไป เพราะงานทั้ง 2 ชิ้นนี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจพลวัตและพัฒนาการของระบอบการปกครองแบบไทย ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in