เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
THE STORY PARADOX By Jonathan Gottschall แปล ไอริสา ชั้นศิริ
  • รีวิวเว้ย (1465) "ใครถือครองเรื่องเล่าผู้นั้นครองโลก" หรือในยุคหลังเราอาจจะเคยได้ยินคำในลักษณะใกล้เคียงกันคือ "ใครครองสื่อคนนั้นครองโลก" ข้อความดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงอำนาจของการถือครองเรื่องเล่าและอำนาจในการเล่าเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่จะสร้างความชอบธรรมให้กับผู้เล่า และสร้างตัวร้ายให้เกิดมีขึ้นตลอดช่วงประวัติศาสตร์ หากย้อนกลับไปในยุคอดีตเรามักจะพบเห็นการยึดกุมอำนาจของการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความชอบธรรมอยู่บ่อยครั้ง ทั้งในสงคราม ความขัดแย้งหรือกระทั่งในโลกของทุนนิยมในปัจจุบัน เหตุนีอำนาจของเรื่องเล่าจึงเป็นสิ่งที่คนเราไม่ควรมองข้าม
    หนังสือ : THE STORY PARADOX
    โดย : Jonathan Gottschall แปล ไอริสา ชั้นศิริ
    จำนวน : 328 หน้า
    .
    คำโปรยที่ปรากฎอยู่บนปกหลังหนังสือ "THE STORY PARADOX" หรือในชื่อไทยว่า "ด้านมืดของพลังแห่งการเล่าเรื่อง" เขียนข้อความโปรยเอาไว้อย่างน่าสนใจว่า "หากคุณต้องการเปลี่ยนคนธรรมดาให้กลายเป็นคนสุดโต่งถึงขั้นสามารถก่ออาชญากรรมได้ สิ่งที่คุณต้องทำอย่างแรกไม่ใช่การยัดอาวุธใส่มือเขา แต่คือการเล่าเรื่องราวให้เขาฟังก่อน" หนังสือที่จะบอกเล่าเรื่องราวของสิ่งที่ในทุกวันนี้เรารู้จักกันในนามของ Storytelling สิ่งที่ถูกใช้ตลอดมาเพื่อสร้างความชอบธรรมบางประการให้กับผู้ถือครองเรื่องเล่านั้น ๆ
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "THE STORY PARADOX" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 6 บทหลัก 1 บทเกริ่นนำและอีก 1 บทสรุป ที่ทำหน้าที่ในการถ่ายทอดเรื่องราวของการเล่าเรื่องผ่านมิติทั้งจากประวัติศาสตร์ เหตุการณ์ปัจจุบัน และรวมไปถึงการบอกเล่าเรื่องของวิธีการ ขั้นตอน ในการอาศัยเรื่องเล่าในการทำหน้าที่บางอย่างบางประการ โดยเนื้อหาของ "THE STORY PARADOX" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทเกริ่นนำ
    .
    บทที่ 1 นักเล่าเรื่องครองโลก
    .
    บทที่ 2 ศาสตร์มืดแห่งการเล่าเรื่อง
    .
    บทที่ 3 มหาสงครามแห่งดินแดนเรื่องเล่า
    .
    บทที่ 4 ไวยากรณ์สากล
    .
    บทที่ 5 สิ่งต่าง ๆ พังทลาย
    .
    บทที่ 6 อวสานแห่งความจริง
    .
    บทสรุป เสียงเพรียกแห่งการผจญภัย
    .
    "THE STORY PARADOX" ทำให้นึกถึงหลายเหตุการณ์ที่อาศัยการเล่าเรื่องเพื่อสร้างความชอบธรรม สร้างความเกลียดชัง หรือกระทั่งสร้างความเสียหายให้กับโลกทั้งใบมาตลอด โดยเฉพาะเมื่อย้อนกลับไปมองเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในหลายเหตุการณ์ของโลก จะพบว่าหนึ่งในนั้นมักมีเรื่องเล่าและผู้เล่าเรื่องเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเสมอ หากไม่ได้แสดงออกผ่านเรื่องเล่าโดยตรงก็มักจะเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับกระบวนการของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเสมอ ๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in