เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
สุรินทน์รำพันอีสานลำเพลิน By ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต
  • รีวิวเว้ย (1462) เพลงลูกทุ่งยุคหนึ่งในครั้งอดีต คล้ายทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการบันทึกเรื่องราวและบอกเล่าสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงเวลานั้น และแน่นอนว่าเพลงหลาย ๆ เพลงในช่วงเวลาของสังคมกลายเป็นเพลงที่ถูกห้ามและถูกแบนโดยผู้มีอำนาจทางการเมือง อย่างกรณีเพลงของครูไพบูลย์ บุตรขัน (ที่ยังมีการถกเถียงกันเนื่อง ๆ ว่าสรุปแล้วเพลงโดนแบนเพราะเหตุใด) นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงยังทำหน้าที่ในการบันทึกเรื่องราวของเมือง ชุมชนและวิถีชีวิตของผู้คนเอาไว้ได้เป็นอย่างดี ทั้งที่ประชาชนใช้ชีวิตกันเองและจากการเข้าไปแทรกแซงของหน่วยงานภาครัฐ อย่างกรณีของเพลง "ผู้ใหญ่ลี" ของศักดิ์ศรี ศรีอักษร ที่บันทึกเรื่องราวของสังคมในสมัยการประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทั่งเพลงที่เป็นผลจากการปะทะกันของพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐบาลไทย เพลงลูกทุ่งหลาย ๆ เพลงก็ทำหน้าที่ในการบันทึกเหตุการณ์เหล่านั้นเอาไว้ในเพลง
    หนังสือ : สุรินทน์รำพันอีสานลำเพลิน
    โดย : ชินวัฒน์ ตั้งสุทธิจิต
    จำนวน : 295 หน้า
    .
    "สุรินทร์รำพันอีสานลำเพลิน" หนังสือที่ทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและผลงานของนักแต่งเพลงชั้นครูที่เป๋นเพื่อนร่วมยุคสมัยกับขุนพลครูเพลงหลาย ๆ ท่านในสังคมไทย ซึ่งหนังสือ "สุรินทร์รำพันอีสานลำเพลิน" บอกเล่าเรื่องราวของ "ครูสุรินทร์ ภาคศิริ" นักแต่งเพลงที่สร้างเพลงหลาย ๆ เพลงที่เป็นเพลงตำนานประดังวงการลูกทุ่ง และเป็นผู้ให้กำเนิดคำเรียกแนวเพลง "ลูกทุ่งอีสาน" และเป็นนักจัดรายการวิทยุคนแรง ๆ ที่นำเอาภาษาถิ่นอีสานมาใช้ในวงการวิทยุของไทย
    .
    "สุรินทร์รำพันอีสานลำเพลิน" บอกเล่าเรื่องราวของของการแต่งเพลงของผู้เขียน ผ่านบทเพลง บริบทสังคมที่นำไปสู่การเขียนเพลงแต่ละเพลง กระทั่งบอกเล่าเรื่องราวของนักร้อง นักดนตรี นักเขียนเพลง และวงการเพลงลูกทุ่งของไทยในช่วงเวลาที่ครูสุรินทร์ ยังคงเขียนเพลงและสร้างผลงานเพลงต่าง ๆ อาจเรียกได้ว่าเพลงหลาย ๆ เพลงที่เราได้ยินกันในปัจจุบันก็เป็นผลงานจากปลายปากกาของครูสุรินทร์ ภาคศิริ
    .
    หนังสือ "สุรินทร์รำพันอีสานลำเพลิน" ทำให้เราเห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย ทั้งในบริบทของสังคมและความเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาของสังคมไทยผ่านการบันทึกผ่านผลงานเพลง รวมถึงทำให้เราได้รู้ว่าเพลงหลาย ๆ เพลงที่เคยฟังเป็นผลงานจากปลายปากกาของผู้เขียนที่ยังคงนำมาร้องซ้ำและทำใหม่กระทั่งปัจจุบัน อย่างเพลง "เรณูนคร ถิ่นนี้ช่างมีมนต์ขลัง ได้พบนวลนางดั่งเหมือนต้องมนต์แน่นิ่ง น้องนุ่งซิ่นไหม ไว้ผมมวยสวยเพริศพริ้ง พี่รักเจ้าแล้วแท้จริง สาวเวียงพิงค์แห่งแดนอิสาน" (หนาวลมที่เรณู)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in