Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่ By สุรชาติ บำรุงสุข
รีวิวเว้ย (1251) "การเติบโตของเอเธนส์และความกลัวของสปาร์ตา ทำให้สงครามเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้" (Thucydides, History of the Peloponnesian War) "ธูซิดิดิส" เคยเป็นผู้บัญชาการหน่วยทหารของกองทัพเอเธนส์กระทั่งถูกปลดยศและกลายสถานะมาเป็น "ผู้สังเกตการณ์สงคราม" (ตามคำของสุรชาติ) ในช่วงสงครามเพโลพอนนีเซียน และบันทึกการสงครามของเขาได้กลายมาเป็นตำราเล่มสำคัญของการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องของสงครามและความขัดแย้งระหว่างรัฐ เพราะงานเขียนของเขาได่ปลี่ยนภูมิทัศน์ความเข้าใจสงคราม ที่แต่เดิมเป็นเรื่องสงครามของ (1) เหล่าทวยเทพดังที่เคยเห็นจากเทวตำนานต่าง ๆ อย่างในอีเลียดและโอดิสซี และ (2) สงครามของการแย่งชิงสาวงามอย่าง "สงครามกรุงทรอย" สำหรับข้อสังเกตของธูซิดิดิสมีอยู่ว่า "เมื่อธูซิดิดิสมองสงคราม เขาจึงพยายามตอบปัญหาความขัดแย้งหลักในสงครามระหว่างรัฐ และเขาระบุว่าความขัดแย้งนี้เกิดจากการเติบโนของนครรัฐเอเธนส์ที่ทำให้นครสปาร์ตากลัว และความกลัวเช่นนี้ทำให้สงครามระหว่างนครรัฐที่เป็นมหาอำนาจเก่าและนครรัฐที่กำลังก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจใหม่นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ธูซิดิดิสสรุปอย่างชัดเจนว่ารากเหง้าของปัญหาความขัดแย้ง คือ การแข่งขันระหว่าางรัฐมหาอำนาจใหม่และเก่า ... รัฐมหาอำนาจใหม่ที่กำลังเติบใหญ่ย่อมมีความพยายามที่จะมีบทบาทเข้าแทนที่รัฐมหาอพนาจเก่า หรืออีกนัยหนึ่งปัญหาเช่นนี้เป็นความขัดแย้งเชิงโครงสร้างที่เกิดขึ้นในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ" (น.11) ซึ่งสงครามในแบบของธูซิดิดิสย่อมหมายถึงสงครามระหว่างรัฐที่เกิดขึ้นจากความไม่มั่นคงทางอำนาจที่อาจจะถูกท้าทายและอาจนำไปสู่การสูญเสียสถานะบางประการของเหล่ามหาอำนาจเดิม
หนังสือ : การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!
โดย : สุรชาติ บำรุงสุข
จำนวน : 174 หน้า
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" หนังสือเล่มเล็กที่บอกเล่าเรื่องราวของ "การแข่งขันของมหาอำนาจ" ผ่านกรอบการมองของ "ธูซิดิดิส" ในฐานะของผู้สังเกตการณ์สงครามที่ได้บันทึกเรื่องของสงคราม
สงครามเพโลพอนนีเซียน
(
Peloponnesian War) ที่สงครามในครั้งนั้นเกิดขึ้นมาจาก "ความกลัวที่ถูกท้าทาย" ของมหาอำนาจเก่าที่มหาอำนาจใหญ่เกิดขึ้นและท้าทายอำนาจเดิม กระทั่งความท้าทายของหมาอำนาจเก่าและใหม่ได้กลายเป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับสปาร์ตา
กรอบการมองของธูซิดิดิสได้กลายมาเป็นแนวคิดสำคัญในการศึกษาการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะเรื่องของการสงครามระหว่างรัฐ กระทั่งกรอบการมองของธูซิดิดิสถูกใช้กันอย่างแพร่หลายว่า "กับดักธูซิดิดิส (
Thucydides's Trap
)" ที่ครั้งหนึ่งถูกพูดถึงและหยิบใช้กันมากในช่วงของความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของ โดนัลด์ ทรัมป์ และจีนภายใต้การนำของสี จิ้นผิง ที่หลายคนพูดถึงแนวโน้มที่อาจจะก่อให้เกิดสงครามภายใต้ความขัดแย้งของการแข่งขันกันของมหาอำนาจเก่ากับมหาอำนาจใหม่ที่กำลังผงาดขึ้นมาท้าทายอำนาจเดิม
หนังสือ
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" ว่าด้วยเรื่องของการมองการแข่งขันของรัฐหลาย ๆ รัฐภายใต้แนวคิดเรื่องกับดักของธูซิดิดิส ที่ผู้เขียนใช้มองและอ่านปรากฏการณ์สงครามที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน (2566) ยุคที่หลายคนแทบไม่เชื่อสายตาว่า "สงครามระหว่างรัฐ" จะเกิดขึ้นได้ในยุคปัจจุบัน ยุคสมัยที่สันติภาพถูกหยิบชูและยกย่องมากเสียยิ่งกว่ามาก แต่เมื่อสงครามอุบัติขึ้นอีกหลายครั้งในหลายภูมิภาค รัฐมหาอำนาจทั้งหลายและองค์กรระหว่างประเทศต่างต้องตระหนกอีกครั้งเมื่อเสียงปืนดังขึ้น
เนื้อหาของ
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" แบ่งออกเป็น 3 ตอน ที่ในแต่ละตอนจะประกอบไปด้วยบทความสั้น ๆ ที่สะท้อนภาพและการบอกเล่าถึงเหตุแห่งสงคราม รวมถึงการวิเคราะห์สถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้นและสัมพันธ์อยู่กับแต่ละตอนที่ผู้เขียนบอกเล่า อีกทั้งเนื้อหาของ
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" ในส่วนของบทส่งท้าย ยังชี้ชวนให้ผู้อ่านมองดูและทำความเข้าใจความท้าทายใหม่ ๆ อย่าง โรคระบาด สงครามและการเมืองโลก โดยเนื้อหาของ
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" แบ่งเป็นดังนี
ตอนที่ 1 ธูซิดิดิสกับสงคราม
ตอนที่ 2 สงครามประชาธิปไตยในเมียนมา
ตอนที่ 3 สงครามรัสเซีย-ยูเครน
บทส่งท้าย โรคระบาด สงคราม การเมืองโลก
เมื่ออ่าน
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" จบลง เราจะพบว่าความท้าทายอย่างหนึ่งของสาเหตุแห่งสงครามในหลายยุคสมัย หลายช่วงเวลา เกิดขึ้นมาจากความไม่มั่นคงทางอำนาจของหลายมหาอำนาจที่ถูกท้าทายจากมหาอำนาจใหม่ หรือในหลายครั้งก็เกิดขึ้นมาจากมหาอำนาจเดิมที่ต้องการ "แสวงหาสถานะ" ความเป็นมหาอำนาจในวันวานอีกครั้ง จึงก่อสงครามขึ้นเพื่อแสวงหาและช่วงชิงความเป็นมหาอำนาจกลับมาอีกครั้งหนึ่ง น่าสนใจว่าหลายรัฐที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ
"
การแข่งขันของรัฐมหาอำนาจใหญ่: จากธูซิดิดิสสู่สงครามยูเครน!" จะไปจบลงที่ตรงไหน (?) และในภายหน้าจะยังมรสงครามที่เกิดขึ้นตามแนวคิด "
กับดักธูซิดิดิส" (
Thucydides's Trap
) อีกกี่มากน้อย
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in