เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง By สตีเว่น ลุคส์ แปล เกษียร เตชะพีระ
  • รีวิวเว้ย (1379) "ชีวิตคือการเดินทาง" เรามักได้ยินคำนี้อยู่บ่อยครั้ง กระทั่งในหนหลังคำนี้ได้ขยายขอบเขตออกไปสู่เรื่องของการเดินทางคือการตามหสความหมายอะไรสักอย่างของชีวิต และสังคมหลายแห่งมุ่งหวังให้ทุกคนออกเดินทางเพื่อตามหาความหมายของชีวิต ทั้งที่หลายคนอาจจะไม่ได้ต้องการออกเดินทาง ไม่ได้ต้องการตามหาความหมายของชีวิต บางหนคนเราอาจจะแค่ต้องการทำอะไรในแบบที่ตัวเองต้องการ แต่ความคาดหวังและความต้องการของสังคมและชุมชนบีบคั้นบังคับให้คนหนึ่งคนต้องทนฝืนใจทำอะไรที่ไม่ใช่ตัว และไม่อยากทำ แน่นอนว่านับแต่ครั้งอดีตมาการออกเดินทางแสดงให้เห็นถึงความหมายอีกด้านของชีวิตของผู้คนทั้งผู้คนที่พบเจอระหว่างทางและตัวตนของผู้ที่ออกเดินทางเอง แต่ในหลายครั้งการออกเดินทางที่แสนยาวนานก็พาคนเราวนกลับมาตรงจุดเดิม จุดเดียวกันกับที่คนคนหนึ่งยืนอยู่ในวันก่อนที่เขาจะก้าวขาออกเดินทาง
    หนังสือ : การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง
    โดย : สตีเว่น ลุคส์ แปล เกษียร เตชะพีระ
    จำนวน : 320 หน้า
    .
    ในหน้าเรื่องย่อของหนังสือ "การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง" เขียนเล่าภาพรวมของหนังสือเล่มนี้เอาไว้ว่า "ศาสตราจารย์นิโคลาส การิทัต เป็นนักวิชาการด้านปรัชญายุครู้แจ้งของยุโรป ดังนั้นเขาจึงสรุปว่าโดยเหตุผลแล้วคนอย่างเขาไม่น่าจะมีบทบาทเกี่ยวข้องอันใดเลยกับการต่อสู้ทางการเมืองในเสนานคร อันเป็นรัฐอัตตาธิปไตยที่เขาอาศัยอยู่ ทว่าในช่วงระยะเวลาเพียง 24 ชั่วโมง เขากลับถูกทหารจับ แล้วได้รับการปลดปล่อยโดยนับรบจรยุทธ์ของขบวนการมือที่มองไม่เห็น พวกเขาตั้งชื่อจัดตั้งให้การิทัตว่าแพนกลอส แล้วส่งตัวเขาไปปฏิบัติภารกิจซึ่งมีแต่นักปรัชญาเท่านั้นที่แบกรับได้ นั่นก็คือให้ไปอสวงหาโลกที่ประเสริฐสุดในบรรดาโลกทั้งหลายที่เป็นไปได้" (เรื่องย่อ; น.11)
    .
    หนังสือ "การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง" จึงเป็นเรื่องราวของนักวิชาการด้านปรัชญาการเมืองที่วันดีคืนร้ายตัวเองได้ถูกทางการจับกุมและถูกช่วยเหลือจากฝ่ายปฏิปักษ์ต่อรัฐ เพื่อมอบหมายหน้าที่การออกเดินทางตามหาดินแดนที่เหมาะสมหรือดีที่สุดในโลกใบนี้ ทำให้การผจญภัยของการิทัตต้องเริ่มต้นขึ้นจากการหลีกหนีจากเสนานคร (Militaria) สู่การเดินทางแสวงหาคำตอบไปยัง "นคร" ต่าง ๆ อย่าง ประโยชน์นคร (Utlitaria) ชุมชนนคร (Communitaria) กรรมาชีพนคร (Proletaria) และอิสระเสรีนคร (Libertaria)
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง" แบ่งออกเป็น 29 บท ที่จะพาผู้อ่านเดินทางไปพร้อมกับการิทัต ตั้งคำถาม หาคำตอบ และสอดสองถึงความแปลกแปร่งของแต่ละนครที่ถือครองชุดแนวคิดที่แตกต่างกันออกไปแต่ละแบบ ย้อนกลับไปสมัยเรียนหนังสือเราเองได้มีโอกาสอ่าน "การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง" ครั้งแรกจากการยืมเพื่อนที่ลงเรียนวิชาที่ใช้หนังสือเล่มนี่ในการเรียนการสอน การอ่าน "การิทัตผจญภัย: นิยายปรัชญาการเมือง" หนแรกกับการอ่านในหนหลังเมื่อเวลาผ่านมานับ 10 ปี น่าแปลกที่การเดินทางของการิทัตสามารถวางลงในบริบทสังคมในรอบ 10 ปีที่ผ่านมาของสังคมไทยได้อย่างพอเหมาะพอดี ในแต่ละชุมชนแต่ละนครมีภาพสะท้อนที่ใกล้เคียงให้หยิบยกขึ้นมาอ่านปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในสังคมได้เป็นอย่างดี

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in