เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ By รพิพัฒน์ อิงคสิทธิ์ บก.
  • รีวิวเว้ย (1369) "ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท หรือ ซีเอสอาร์ (corporate social responsibility: CSR) เป็นเครื่องมือที่โลกตะวันตกคิดขึ้นสำหรับใช้ควบคุมหรือถ่วงดุลลัทธิทุนนิยมสุดขั้ว มุ่งกำไรสูงสุด จนหย่อนด้านคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบทางสังคม เป็นกลไกควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจข้ามชาติ ให้ต้องประพฤติปฏิบัติในลักษณะที่แสดงความรับผิดชอบทางสังคมในหลากหลายมิติ หลักการของธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสังคม จึงอยู่บนฐานความเชื่อว่า ธุรกิจ กับสังคม จะต้องอยู่ร่วมกัน อย่างช่วยเหลือเกื้อกูลเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ช่วยกันลดจุดอ่อนต่อกัน" (wiki/ความรับผิดชอบทางสังคมเชิงบรรษัท) ซีเอสอาร์ กลายมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำกิจกรรมกับสังคมของบริษัทขนาดใหญ่ในหลายสังคมทั่วโลก และกลไกของซีเอสอาร์ถูกใช้ในกลุ่มของกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเฉพาะในเรื่องของ "สิ่งแวดล้อม" อาทิ การปลูกป่า การปล่อยสัตว์ การทำฝาย และอีกหลายกิจกรรมที่ใครหลาย ๆ คนเข้าใจว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ดีและจะช่วยฟื้นฟูหรือทำให้ธรรมชาติกลับมาสมบูรณ์ได้อีกครั้งหนึ่ง หากแต่ในหลายครั้งเราหลงลืมไปว่าธรรมชาติอาจจะมีกลไกหรือความอ่อนไหวบางประการอยู่ในตัวเองที่จำเป็นต้องพึงระวังและให้ความสำคัญอยู่ด้วยเช่นเดียวกัน
    หนังสือ : Anti-Greenwash CSR คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ
    โดย : รพิพัฒน์ อิงคสิทธิ์ บก.
    จำนวน : 120 หน้า 
    .
    "Anti-Greenwash CSR" ในชื่อภาษาไทยว่า "คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ" ซึ่งเนื้อหาของหนังสือก็ตรงตาาที่ปรากฏอยู่ในชื่อของหนังสือเพราะเป็นเรื่องราว เรื่องเล่าและข้อสังเกตในเรื่องของการทำกิจกรรม CSR ด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การปล่อยสัตว์ การปลูกป่า การทำธนาคารน้ำใต้ดิน การทำฝายในป่าต้นน้ำ และอีกหลายกิจกรรมที่ถูกหยิบใช้ในฐานของกิจกรรม CSR ด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกนำไปปฏิบัติใช้ในพื้นที่ชุมชนโดยบริษัทที่ทำกิจกรรมในลักษณะดังกล่าว
    .
    "คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ" พาเราย้อนกลับไปทำความเข้าใจในเรื่องของความสำคัญและจำเป็นต่อการทำ CSR ถึงสิ่งที่ต้องคำนึงถึงและให้ความสำคัญ ก่อนที่การทำกิจกรรม CSR จะกลายเป็นห่ยนะทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดตามมาในภายหลังการจัดกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการปนเปื้อนแหล่งน้ำ การทำลายความหลากหลายของชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติ การก่อให้เกิดการรุกรานของชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือกระทั่งการสร้างหายนะทางความหลากหลายของระบบนิเวศ ก็อาจเกิดขึ้นตามมาได้หลังจากการทำกิจกรรม CSR โดยไม่คิดหน้าคิดหลังและมองให้ไกลออกไปกว่ากิจกรรมที่ทำในปีงบประมาณ
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ" แบ่งออกเป็น 1 บทนำ และ 4 บทความที่ว่าด้วยเรื่องของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ ที่แย่งออกเป็น ดิน น้ำ สัตว์ ป่า ที่ถูกเขียนและนำเสนอมุมมองโดยนักนิเวศวิทยาและนักวิทยาศาสตร์ โดยเนื้อหาแบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทนำ: ซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อม ได้เวลาทบทวนเพื่อไปต่อ โดย ทีมวิจัยบริษัทป่าสาระ 
    .
    (1) ระบบนิเวศป่าบกและป่าเลน โดย สมาธิ ธรรมศร 
    .
    (2) ระบบนิเวศน้ำจืด โดย สมาธิ ธรรมศร 
    .
    (3) ระบบริเวศทางทะเล โดย เพชร มโนปวิตร 
    .
    (4) โครงการปล่อยสัตว์ โดย นณณ์ ผาณิตวงศ์
    .
    "คู่มือซีเอสอาร์ด้านสิ่งแวดล้อมฉบับนักนิเวศ" ช่วยให้เราเห็นถึงความสำคัญและจำเป็นของการออกแบบกิจกรรม หรือการทำกิจกรรมในเรื่องของ CSR ที่จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องของความเหมาะสมต่อพื้นที่ ระบบนิเวศ และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต ป่าไม้และรูปแบบของพื้นที่ที่การทำกิจกรรมด้าน CSR ต้องให้ความสำคัญต่อการรักษาพื้นที่มิใช่การแทรกแซงจนกระทั่งพื้นที่เกิดความเสียหาย หรือกระทั่งอาจจะนำพามาซึ่งการพังทลายของความหลากหลายของระบบนิเวศในท้ายที่สุด

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in