เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย By กิตติ ประเสริฐสุข
  • รีวิวเว้ย (1240) หากพูดถึงการปรากฏขึ้นของคำว่า Soft Power ในสังคมไทย เราอาจจะต้องนับย้อนหลับไปหลายสิบปี อาจจะตั้งแต่ช่วงที่แนวดิคนี้ถูกคิดขึ้นโดย Joseph Nye ได้สร้างแนวคิดดังกล่าวขึ้นและวงวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ในไทยก็เริ่มหยิบมาใช้และสร้างคำแปลให้กับ Soft Power ในภาษาไทยทั้ง อำนาจอ่อน อำนาจละมุน และอื่น ๆ ซึ่งต่อมาแนวคิดเรื่องของ Soft Power ถูกนำมาใช้ในหลายภาคส่วนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการพูดถึงเรื่องของการส่งออกทางวัฒนธรรมทั้งเรื่องของ K-pop, J-pop, D-pop กระทั่งมีความพยายามในการส่งเสริมและผลักดัน T-pop ของไทยภายใต้วิธีคิดเรื่องของ Soft Power แต่เป็นการกระทำโดยการผลักดันของภาคราชการ ซึ่งแน่นอนว่าการทำความเข้าใจ Soft Power โดยภาคราลการนั้นเป็นความตระหนกที่น่าวิตกมากกว่าควรปีติ เพราะความเข้าใจของภาครัฐของไทยไม่มีอะไรที่เคยไปไกลกว่าการแปลคำภาษาอังกฤษให้เป็นไทยและนำไปใช้อย่างเป็นพิธีในกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งที่ดูอย่างไรบางกิจกรรมโดยรัฐก็ยากที่จะเข้าใกล้คำว่า Soft Power ตามความหมายที่ Nye ได้สร้างไว้ สิ่งที่เคยได้ยินเกี่ยวกับ Soft Power ของรัฐที่ฟังแล้วงงมากที่สุดเรื่อง "โครงการใบมะกรูดตัดกิ่ง Soft Power ในเวทีโลก" อ่านชื่อโครงการจบใครไม่ "ห่ะ" และเข้าใจช่วยทักมาพูดคุยกันหน่อยนะครับ
    หนังสือ : SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย
    โดย : กิตติ ประเสริฐสุข
    จำนวน : 496 หน้า

    "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" เล่มนี้พัฒนามาจากงานวิจัยของผู้เขียนเรื่อง "นโยบาย Soft Power ต่ออาเซียนของญี่ปุ่น จีนและเกาหลีใต้: นัยและบทเรียนสำหรับประเทศไทย" โดยหนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญไปที่เรื่องของทรัพยากรเชิงอำนาจ 3 ประการที่เป็นตัวส่งเสริมและผลักดัน Soft Power ของประเทศมหาอำนาจทางวัฒนธรรมใหม่ โดยมุ่งพิจารณาไปที่เรื่องของ (1) วัฒนธรรม (2) ค่านิยม และ (3) นโยบายต่างประเทศ ซึ่งทรัพยากรเชิงอำนาจเหล่านี้นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมและผลักดันนโยบาย Soft Power ให้แพร่กระจายออกสู่สังคมในวงกว้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

    ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" ได้ปูพื้นความเข้าใจใน Soft Power ที่ตัวของแนวคิดดังกล่าวได้ถูกใช้ในฐานะของเครื่องมือสำคัญของแต่ละประเทศกรณีศึกษาที่ปรากฏอยู่ใน "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจ เห็นภาพ และมีโอกาสได้เรียนรู้ว่า Soft Power ของแต่ละประเทศกรณีศึกษานั้นมีอะไรบ้าง ทำงานอย่างไร และ Soft Power ของแต่ละประเทศกรณีศึกษานั้นมีปฏิสัมพันธ์ต่อประเทศอื่นที่กลไก Soft Power ของประเทศต้นทาง ทำงานด้วยวิธีการอย่างไร

    โดยเนื้อหาของ "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ที่ 3 ส่วนแรกจะว่าด้วยเรื่องของ Soft Power ของแต่ละประเทศ ซึ่งถูกบอกเล่าผ่านกรอบเรื่องของ Soft Power ทาง วัฒนธรรม ค่านิยม และนโยบายต่างประเทศของแต่ละประเทศ และในส่วนที่ 4 จะว่าด้วยเรื่องของ Soft Power ของแต่ละประเทศกรณีศึกษาว่าสัมพันธ์กับไทยอย่างไร โดยเนื้อหาของ "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" มีดังนี้

    บทนำ 

    [ส่วนที่ 1 Soft Power ของจีน]

    บทที่1 ภาพรวม Soft Power ของจีน 

    บทที่ 2 Soft Power ด้านวัฒนธรรมของจีน 

    บทที่ 3 Soft Power ด้านค่านิยมของจีน 

    บทที่ 4 Soft Power ด้านนโยบายต่างประเทศของจีน 

    สรุป Soft Power ของจีน


    [ส่วนที่ 2 Soft Power ของญี่ปุ่น]

    บทที่ 5 ภาพรวม Soft Power ของญี่ปุ่น 

    บทที่ 6 Soft Power ด้านวัฒนธรรมของญี่ปุ่น

    บทที่ 7 Soft Power ด้านค่านิยมของญี่ปุ่น 

    บทที่ 8 Soft Power ด้านนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น

    สรุป Soft Power ของญี่ปุ่น


    [ส่วนที่ 3 Soft Power ของเกาหลี]

    บทที่ 9 ภาพรวม Soft Power ของเกาหลี

    บทที่ 10 Soft Power ด้านวัฒนธรรมของเกาหลี

    บทที่ 11 Soft Power ด้านค่านิยมของเกาหลี

    บทที่ 10 Soft Power ด้านนโยบายต่างประเทศของเกาหลี

    สรุป Soft Power ของเกาหลี


    [ส่วนที่ 4 สรุป เปรียบเทียบ Soft Power ของจีน ญี่ปุ่น เกาหลีนัยต่อไทย]

    บทที่ 13 เปรียบเทียบนโยบาย Soft Power ของจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีนัยต่อประเทศไทย

    บทที่ 14 นัยและบทเรียบต่อไทย

    เมื่อออ่าน "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" จบลง สิ่งหนึ่งที่ผู้อ่านจะได้รับ คือ เรื่องของการทำความเข้าใจ Soft Power ว่ามันคืออะไร มันทำงานอย่างไร ? และในแต่ละประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการขับเคลื่อน Soft Power ของประเทศนั้นทำสิ่งเหล่านี้อย่างไร แน่นอนว่าเมื่ออ่าน "SOFT POWER ของ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ในอาเซียนและนัยต่อไทย" จบลง อีกสิ่งหนึ่งที่เราจะได้เรียนรู้คือ "Soft Power ของไทย" ยังมีอะไรอีกหลายเรื่องที่จำเป็นต้องมีการปรับความเข้าใจขนานใหญ่ หากประเทศนี้ตั้งใจจะสร้าง Soft Power ของตัวเองในระดับสากล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in