เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ความรู้ทางกฎหมายPhubed Pisanaka
ความเข้าใจผิดๆของมาตรา ๑๔(๑) แห่ง พรบ.คอมพิวเตอร์
  • นายภูเบศ พิศนาคะ


                    สำหรับ พรบ.คอมพิวเตอร์นั้น โดยธรรมชาติของมันแล้ว นักกฎหมายทั่วไปยากที่จะสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เนื่องจากเป็นกฎหมายเทคนิคซึ่งมีคำศัพท์ หรือวิธีการต่างๆที่จะเป็นศัพท์ทางเทคนิคเป็นส่วนมาก และมาตราสำคัญที่มักถูกหยิบมาใช้และพูดถึงอยู่เสมอคือ มาตรา ๑๔ จึงเป็นธรรมดาอยู่เองที่ทั้งนักกฎหมายทั่วไป และ บุคคลทั่วไป มักจะเข้าใจผิดเสมอว่า มาตราดังกล่าวนั้นใช้กับความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วย

                   ทำไมจึงต้องมี พรบ. ฉบับนี้ขึ้น ? 

                  "เนื่องจากในปจจุบันระบบคอมพิวเตอรไดเปนสวนสําคัญของการประกอบกิจการและการดํารงชีวิตของมนุษย หากมีผูกระทําดวยประการใดๆ ใหระบบคอมพิวเตอรไมสามารถทํางานตามคําสั่งที่กําหนดไวหรือทําใหการทํางานผิดพลาดไปจากคําสั่งที่กําหนดไวหรือใช้วิธีการใด ๆ เขาลวงรูขอมูลแกไข หรือทําลายขอมูลของบุคคลอื่นในระบบคอมพิวเตอรโดยมิชอบ หรือใชระบบคอมพิวเตอรเพื่อเผยแพรขอมูลคอมพิวเตอรอันเปนเท็จหรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ยอมกอใหเกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนตอเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกําหนดมาตรการเพื่อปองกันและปราบปรามการกระทําดังกลาวจึงจําเปนตองตราพระราชบัญญัตินี้"

                จากข้อความข้างต้นจะเห็นได้ว่า การออกพรบ.ดังกล่าวนั้น ออกมาเพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำที่อาจจะทำให้เกิดภัยอันตรายทางข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต โดยเมื่อพิจารณาจากตัวกฎหมายในภาพรวมนั้น จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติส่วนใหญ่ที่กฎหมายมุ่งที่จะคุ้มครองนั้นจะเป็นกรณี เช่นการเจาะข้อมูล การเจาะระบบ การหลอกลวงหรือใช้กลลวงเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูล (Phishing) หรือแม้แต่การ Spamming (การส่งข้อมูลเข้าหาผู้ใช้โดยที่ผู้ใช้ไม่ได้ยินยอม) กล่าวโดยสรุปง่ายๆคือ ป้องกันการ
    กระทำที่เป็นภัยคุกคามจากการใช้ข้อมูลหรือใช้ชุดคำสั่งต่างๆของคอมพิวเตอร์นั่นเอง

                มาตรา ๑๔(๑) นี้ มีที่มา

    มาตรา ๑๔(๑) วางหลักไว้ว่า "ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์   ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน   หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

    เจตนารมณ์ของการบัญญัติมาตรานี้ขึ้นมานั้นแท้จริงแล้วบัญญัติมาเพื่อป้องกันการ Phishing หรือการสร้างเว็บปลอมนั่นเอง กรณีตัวอย่างง่ายๆก็คือ ทำเว็บธนาคารปลอมขึ้นมาโดยมีช่องให้กรอกข้อมูล ยูสเซอร์เนม พาสเวิร์ด รหัสบัตรเครดิต ซึ่งกฎหมายดังกล่าวนั้นมุ่งที่จะจัดการกับปัญหาที่เกิดเหล่านี้ ไม่ให้เกิดขึ้น เพราะในยุคปัจจุบันที่ทั้งด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ย่อมส่งผล
    กระทบและความเสียหายทั้งในเชิงเศรษฐกิจและทางสังคมสูงมาก 

               มาตรา ๑๔(๑) "ข้อมูลอันเป็นเท็จ" กับความผิดฐานหมิ่นประมาท ? 

              ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่า มาตรา ๑๔(๑) นั้นเจตนารมณ์ของการบัญญัติคืออะไรและเพื่ออะไร แต่เนื่องจากเป็นไปได้ว่านักกฎหมายซึ่งใช้กฎหมายดังกล่าวนี้นั้น ขาดความเข้าใจในทางด้านเทคนิค หรือไม่เข้าใจถึงเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายดังกล่าว จึงส่งผลให้เกิดการตีความอันคลาดเคลื่อนและส่งผลร้ายต่อประชาชนผู้ถูกดำเนินคดีเป็นอย่างมาก การตีความเฉพาะคำว่า "ข้อมูลอันเป็นเท็จ" หมายถึง ข้อมูลใดๆก็ได้ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง นั้น ย่อมไม่ถูกต้องและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการบัญญัติกฎหมายแต่ประการใด การตีความนั้นต้องตีความคำว่า "ข้อมูลอันเป็นเท็จ" ในความหมายอย่างแคบ ประกอบทั้งต้องตีความไปในทางเจตนารมณ์ที่กฎหมายบัญญัติมาตราดังกล่าวด้วย ความเข้าใจของคนทั่วไปมักจะเข้าใจในความหมายอย่างกว้าง คือ ข้อมูลปลอม ข้อมูลอันเป็นเท็จต่างๆใดๆที่กล่าวถึงตนหรือบุคคลที่สามนั้น คือการหมื่นประมาทไปเสียทั้งหมด ซึ่งหากเราพิจารณาดูให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่าโทษกฎหมายกำหนดไว้นั้นต่างกันอย่างมาก

    มาตรา ๑๔(๑) วางหลักไว้ว่า "ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์   ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน   หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

    "มาตรา ๓๒๖ ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

                    ดังนั้นมาตรา ๑๔(๑) จึงไม่ใช่บทบัญญัติเฉพาะสำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทแต่อย่างใด ทั้งสองล้วนมีองค์ประกอบทางกฎหมายที่ต่างกัน หากมีการกล่าวหาบุคคลอื่นจนทำให้บุคคลอื่นนั้นเกิดความเสียหาย หรือการหมิ่นประมาทบนอินเทอร์เน็ต ย่อมเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดเท่านั้น มิใช่เป็นความผิดตามมาตรา ๑๔(๑) แต่อย่างใด ซึ่งในปัจจุบันทางตำรวจอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และทางศาลฯ ได้ใช้แนวทางการตีความเช่นนี้ในการทำสำนวนและการดำเนินคดีแล้ว ซึ่งย่อมเป็นผลให้ "ความยุติธรรม" นั้นเกิดขึ้นด้วยนั่นเอง