เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
“บทสนทนาหลากมุมต่างมอง รัฐธรรมนูญ 2560”Chaitawat Marc Seephongsai
รัฐธรรมนูญ ๐ กาย ๐ สิทธิ

  •  


    บทสัมภาษณ์คุณพูนสุข พูนสุขเจริญ 
    ผู้จัดการฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
    วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๐
    ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

     

    “อย่างที่ทางทนายสิทธิฯเน้นมาตลอดว่า 
    เรามองในเรื่องสิทธิของ “ผู้ทรงสิทธิ” 
    ไม่ว่าจะกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐหรือประชาชน 
    อย่างไรประชาชนก็ต้องยืนยันในการใช้สิทธินั้นอยู่ดี 
    แต่ทว่าการเป็นผู้ทรงสิทธิมันเป็นการให้ค่ากับประชาชนมากกว่า”

     

    “ผู้ทรงสิทธิ” เป็นคำศัพท์ทางกฎหมายหมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของสิทธินั้น ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Subjectof Law ผู้ทรงสิทธิจึงมีอำนาจในการกระทำการต่างๆได้โดยที่กฎหมายให้การรับรอง ดังนั้น บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่กล่าวถึง“สิทธิเสรีภาพของประชาชน” นั้น ก็ย่อมสัมพันธ์กับความเป็น “ผู้ทรงสิทธิ”ของประชาชน แต่การใช้สิทธิดังกล่าวตามรัฐธรรมนูญควรจะเป็นอย่างไร ?ตลอดจนรัฐธรรมนูญที่ดีควรให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนอย่างไร ?นี่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาภายใต้บริบทของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐จึงนำมาสู่การพูดคุยแลกเปลี่ยน
    ความคิดเห็นกับกลุ่มทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของสิทธิในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๖๐  ว่าจะมีหน้าตาเป็นเช่นไร

    ทิศทางของ“สิทธิมนุษยชน” ในประเทศไทย

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ในปัจจุบันเรื่องสิทธิมนุษยชนได้ตกต่ำลงไปเป็นมากถ้าไม่มองว่าเป็นเรื่องของสิทธิมนุษยชน แต่มองว่าเป็นแค่ระบบกฎหมายก็จะหมายถึงหลักนิติรัฐที่ยอมรับกันได้แต่สิ่งนี้ก็ได้ถูกทำลายลงนับตั้งแต่มีการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗ เมื่อมีความพยายามที่จะสถาปนารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. ๒๕๕๗ ขึ้นมานั้น ก็ยังคงมีปัญหาอยู่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดแต่ทว่ากฎหมายสูงสุดดังกล่าวนี้กลับมีการดำรงอยู่ของมาตรา ๔๔ซึ่งเป็นการรวบอำนาจให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ยังคงมีอำนาจทั้งทางในนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ซึ่งยังคงมีอำนาจเบ็ดเสร็จ (AbsolutePower) อยู่ที่หัวหน้า คสช. เพียงคนเดียวเช่นเดิม รวมถึงบทบาทของคสช. ในการออกกฎหมายโดยที่พยายามทำให้เป็นเรื่องปกติ คือการใช้กลไกของสภานิติบัญญัตอแห่งชาติ(สนช.) จำนวน ๒๐๐ กว่าคน เพื่อให้สามารถผ่านกฎหมายให้อย่างรวดเร็วรวมถึงการใช้ประกาศหรือคำสั่งของ คสช. ที่ออกมาหลายร้อยฉบับซึ่งมากกว่าที่รัฐบาลปกติใช้เวลาออกกฎหมายและยังมากกว่าคณะรัฐประหารที่ผ่านมาโดยรวมด้วยซ้ำ

    ที่สำคัญคือ การให้ศาลทหารเข้ามามีบทบาทให้เรื่องนี้มากขึ้นนั้น“เป็นการทำลายหลักการมากกว่าครั้งก่อนๆ ” ถึงแม้ในสมัยการต่อสู้ของคนยุคเดือนตุลาอาจจะมีการใช้ศาลทหารบ้าง แต่หลักการก็คือการทำหน้าที่ของศาลยุติธรรมให้เสมือนเป็นศาลทหารดังนั้น ผู้ที่ทำงานก็ยังเป็นเจ้าหน้าที่ของศาลยุติธรรมอยู่แต่ในปัจุบันนี้เป็นการใช้ศาลทหารโดยตรง หัวหน้า คสช. เคยพูดถึงประเด็นนี้ว่า“ท่านไม่เคยแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมเลย ทว่าจริงๆ แล้ว ท่านได้แทรกแซงตั้งแต่ประกาศให้ใช้
    ศาลทหารแล้ว”

    ส่วนในแง่มุมอื่นเราก็จะเห็นโดยทั่วไปเช่น การใช้อำนาจในการควบคุมตัวบุคคลตั้งแต่ประกาศกฎอัยการศึกและการเพิกถอนกฎอัยการศึก และได้หันกลับมาใช้คำสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ แทนซึ่งในสายตาของคนทั่วไปแล้ว อาจจะมองว่าไม่ใช่ประกาศกฎอัยการศึกแล้วสถานะการณ์ที่เป็นอยู่ก็จะดีขึ้นแต่ทว่าคำสั่งดังกล่าวกลับให้อำนาจอย่างเบ็ดเส็ดเด็ดขาดมากกว่ากฎอัยการศึกเสียด้วยซ้ำนอกจากนั้นยังไม่สามารถตรวจสอบได้ขณะที่กฎอัยการศึกยังสามารถฟ้องคดีต่อศาลให้ศาลตรวจให้มีการตรวจสอบได้ แต่ว่าคำสั่งคสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ นั้น ศูนย์ทนายสิทธิฯเคยมีคดีที่ฟ้องเรื่องการควบคุมตัวบุคคลโดยไม่ชอบไปซึ่งศาลได้ก็ยกฟ้องเพราะเหตุว่าเป็นการควบคุมตัวตามคำสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ พูดอย่างง่ายคือไม่ทำการตรวจสอบใดๆ เลย เมื่อเป็นการใช้อำนาจตามคำสั่งดังกล่าวนี้ ปัญหาก็คือการละเมิดสิทธิมนุษยชนยังคงดำรงอยู่

    ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องการใช้เสรีภาพในการชุมนุมต่อเนื่อง และห้ามชุมนุมเกินตั้งแต่ ๕คนขึ้นไปตามประกาศ คสช. ที่ ๗/๒๕๕๗ จนกระทั้งมาถึงคำสั่ง คสช. ที่ ๓/๒๕๕๘ ซึ่งในทุกวันนี้ก็ยังคงมีการใช้อยู่ในส่วนนี้ก็เป็นปัญหา นอกจากนั้นแล้วการชุมนุมเกิน ๕ คนจะกระทำไม่ได้แม้ว่าจะไม่ใช่การชุมนุมทางการเมืองตามแต่ทุกการชุมนุมกลับถูกตีความเป็นการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมด  ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในเวลาระยะ ๓ ปีที่ผ่านมาเราแสดงออกอะไรไม่ได้เลย

    “แม้ว่าเราจะสามารถแสดงออกได้บ้างแต่ก็ถูกจำกัดค่อนข้างมากและเป็นที่ถูกเพ่งเล็งมีเจ้าหน้าที่ติดตามไปเยี่ยมเยือนถึงที่บ้านเป็นประจำจนบางครั้งบางคนอาจรู้สึกว่ามันเป็นความคุ้นชิน”

    นั่นคือภาวะที่ไม่ปกติของการที่ทหารเข้ามาก้าวก่ายภาวะสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งหากพูดถึงเรื่องเสรีภาพในการชุมนุม ก็สามารถเชื่อมโยงไปถึงการรณรงค์ในเรื่องของการลงประชามติเพราะถ้าหากว่าในช่วงนี้ กฎหมายพวกนี้ยังคงบังคับใช้อยู่แล้วก็จะมีความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้กลุ่มคนที่ออกไปทำกิจกรรมกลายเป็นผู้ที่ทำผิดกฎหมายซึ่งทำให้มีประชาชนกว่า ๒๑๒ คน ถูกแจ้งข้อกล่าวหาในช่วงรณรงค์หาเสียงประชามตินี้รวมถึงคนที่โดนข้อหาชุมนมุทางการเมือง คนที่โดนจับโดย พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ.๒๕๕๙ พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. ๒๕๕๘บางส่วนโดนจับไปก่อนแล้วจึงปล่อยตัวทีหลัง ไม่ว่าจะจับไปเร็วหรือช้าก็ดีก็ถือว่ามีการดำเนินคดีเช่นเดิมซึ่งแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ความไม่เป็นอิสระของประชาชนที่จะใช้สิทธิในการแสดงออก หรือว่ารณรงค์เชิญชวนไม่ว่าทางใดก็ตามก็กลับกลายเป็นว่ากลุ่มบางกลุ่มเท่านั้นที่มีโอกาสพูดหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญซึ่งแสดงให้เห็นว่าไม่ได้เป็นประชามติที่ Free and Fair

    สถานการณ์ในเรื่องของ“สิทธิ” ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ถึงแม้ว่าเราจะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๖๐ แล้วก็จริงอยู่ แต่ก็ยังคงมีการลิดรอนสิทธิของประชาชนเช่นเดิมนอกจากนี้ยังมี พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.๒๕๕๘ ซึ่งที่ผ่านมา พ.ร.บ. ดังกล่าวเป็นการต่อสู้ที่ยาวนานมาก และภาคประชาชนก็คัดค้านมาโดยตลอดทำให้ไม่สามารถประกาศใช้ได้ แม้กระทั่งช่วงของการรัฐประหารในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ก็ได้มีความพยายามร่าง พ... นี้ขึ้นมาแต่สุดท้ายก็ต้องถอนออกไป หรือในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ร่างกฎหมายดังกล่าวก็เกือบจะออกมาเป็น พ.ร.บ. ได้สำเร็จ แต่เกิดการยุบสภาไปก่อนร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวนั้นก็พลอยตกไปด้วยจากลักษณะดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่ามันมีการต่อสู้ของภาคประชาชนตลอดเวลาจนกระทั่งมีรัฐประหารอีกครั้งโดย คสช. และสามารถผลักดันพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะได้สำเร็จในปีพ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งถือเป็นการควบคุมการชุมนุมสาธารณะอย่างเข้มงวด

    ถ้าหากเราเปรียบเทียบประเด็น“สิทธิเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ” กับฉบับก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่ามีข้อจำกัดมากกว่าที่รัฐธรรมนูญฉบับเดิมเขียนไว้โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐มีการจำกัดเสรีภาพในการชุมนุมในพื้นที่สาธารณะ ๒ ประเด็น คือเรื่องของความสะดวกของประชาชนที่จะใช้พื้นที่สาธารณะและในสถานการณ์ที่จะประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือประกาศสงครามแต่ทว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ นี้ไปไกลกว่านั้น กล่าวคือไม่ใช่จำกัดได้เฉพาะ ใน“พื้นที่สาธารณะ” หากแต่ใน “พื้นที่ส่วนตัว”ก็สามารถจำกัดได้ แล้วเหตุแห่งการจำกัดก็ได้ถูกเพิ่มขึ้นถึง ๔ ประเด็น นั่นคือเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยของรัฐ ความมั่นคงสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยและสิทธิเสรีภาพของประชาชน ถึงแม้ว่า ๔ ข้อจำกัดเหล่านี้จะเป็นไปตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนกับสิทธิทางการเมือง หมายถึงในทางสากลก็เป็นที่ยอมรับสามารถจำกัดได้ แต่ว่าจริงๆถ้าไปดูในศาลอาญาระหว่างประเทศ  (ICC) จะมีอีกข้อความหนึ่งที่บอกว่าจำกัดได้ที่จำเป็นในสังคมประชาธิปไตยเท่านั้นซึ่งประเทศไทยนำมาแค่ข้อจำกัด แต่กลับไม่ได้เอาบริบทนี้มาด้วยซึ่งทำให้เห็นปัญหาว่ามีข้อจำกัดเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ในการจำกัดก็กว้างมากขึ้นในขณะที่ไม่มีความแน่นอนว่าการห้ามชุมนุมทางการเมืองนี้จะถูกยกเลิกไปหรือไม่หรือจะถูกแก้ไขในตอนไหน

    ถ้าหากดูจากบทสัมภาษณ์ของรองนายกรัฐมนตรีนายวิษณุ เครืองาม ก็จะมีที่ท่านเคยพูด ว่าจะต้องทบทวนกฎหมายบางตัวก่อน และอาจจะมีการประกาศยกเลิกไปหรือบางตัวอาจจะนำไปทำเป็นพระราชบัญญัติเลยด้วยซ้ำ และข้อสังเกตอีกประการคือรัฐธรรมนูญที่มาร่างในภายหลัง ก็มีการรองรับในประเด็นเหล่านี้อยู่แล้วและเมื่อมีรัฐธรรมนูญฉบับถาวรที่มีการกำหนดในเรื่องสิทธิมากกว่ารัฐธรรมนูญชั่วคราวถึงแม้ว่าจะมีบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ก็จะต้องมีสภาพบังคับใช้ด้วยที่สามารถนำไปใช้โต้แย้งในชั้นศาลได้แต่ทว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้ก็ยังคงรับรองประกาศและคำสั่ง คสช. ทุกฉบับส่วนการยกเลิกประกาศ/คำสั่ง คสช. ดังกล่าว จะต้องยกเลิกโดยการตรา พระราชบัญญัติซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิทธิถูกจำกัดและก็แคบลงไปอีกอันนี้ก็เป็นปัญหา

     

    “สิทธิพลเมือง”ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ในส่วนของหมวดสิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทยในหลายประเด็นๆ ก็กลายเป็นเรื่อง “หน้าที่ของรัฐ” เช่น ในเรื่องของสิทธิชุมชนสิทธิข้อมูลข่าวสาร สิทธิการศึกษา ดังนั้นจึงมีปัญหา ในเรื่องของการเป็น“ผู้ทรงสิทธิ” ของประชาชน เพราะถ้ายอมรับกันว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนผู้ทรงสิทธิก็ต้องเป็นประชาชน การกำหนดดังกล่าวในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำให้ประชาชนกลายเป็น “ผู้ที่รอการดำเนินการ” ของรัฐอย่างเดียวแม้ว่าในรัฐธรรมนูญจะมีมาตราที่กำหนดว่า ประชาชนสามารถเรียกร้องได้แต่ในลักษณะของการเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์หรือการใช้อำนาจตรงนั้น จะมีข้อจำกัดมากขึ้น ประเด็นสำคัญคือการมีสำนึกในการเป็นผู้ทรงสิทธิของประชาชนก็เปลี่ยนแปลงไป

    นอกจากนั้นไม่ใช่เพียงแค่หมวดหน้าที่ที่มีปัญหาในส่วนของหมวดสิทธิเสรีภาพเอง ก็มีบทบัญญัติที่เปลี่ยนไปหลายเรื่องบางเรื่องสอดคล้องก็มีความกับกฎหมายที่เตรียมจะออก ยกตัวอย่างเรื่องสิทธิในกระบวนการยุติธรรมเดิมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับก่อนหน้าจะบัญญัติไว้ค่อนข้างมากแบ่งเป็นข้อๆ ชัดเจนแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้สั้นขึ้นและก็มีเรื่องตกไปในหลายประเด็นแม้ว่าหลักการพวกนั้นจะเป็นหลักการทางกฎหมาย แต่ทว่าการหายไปของบทบัญญัติเหล่านั้นคือสิทธิในการได้รับการพิจารณาอย่างสะดวก เป็นธรรมและทั่วถึง สิ่งนี้กลับหายไปหรือแม้กระทั่งในการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยก็เช่นเดียวกันเพราะว่าในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีบัญญัติข้อยกเว้นอยู่ว่าสามารถยกเว้นการพิจารณาโดยเปิดเผยได้ พิจารณาโดยหลัก โดยกรณีใดบ้างแม้แต่ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ เองก็ได้มีการกำหนดข้อยกเว้นไว้แต่ทว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้หายไป

    หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการเรียกร้องสิทธิในชีวิตและร่างกายเดิมรัฐธรรมนูญจะกำหนดว่าบุคคลที่ถูกละเมิดสามารถร้องขอให้ศาลระงับหรือว่าเยียวยาเหตุที่เกิดนั้นได้โดยตรงยกตัวอย่างเช่น มีเหตุที่ร้องเรียนว่ามีการทรมานเกิดขึ้นมีการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นระหว่างสอบสวน เป็นต้น แทนที่เราจะไปฟ้องคดีว่ามีคดีทำร้ายร่างกายซึ่งเป็นอีกคดีหนึ่งเราก็สามารถใช้สิทธิไปที่ศาลและฟ้องว่ามีการทรมานร่างกายเกิดขึ้นขอให้ศาลเยียวหรือว่าตรวจสอบ เราสามารถใช้สิทธิลักษณะนี้ได้แต่ว่าปัจจุบันก็ได้ถูกตัดออกไป อันนี้ก็เป็นปัญหา แต่หลายคนก็อาจจะบอกกลับไปอยู่ในหลักการทั่วไปแต่ก็เป็นหลักการที่ทำให้ประชาชนสามารถใช้สิทธิได้โดยตรง

    “ทิศทาง”ที่ผ่านมา กับ “แนวโน้ม” ในอนาคตของ “สิทธิและเสรีภาพ”

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ที่ผ่านมาทางทนายสิทธิฯได้พยายามร้องเรียนเรื่องเกี่ยวกับสิทธิต่างๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ พบว่ากว่าศาลจะเริ่มให้สนใจประเด็นสิทธิเหล่านี้ในกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้เวลานานและมีคดีอยู่ไม่กี่คดีที่ศาลรับรองความเสียหายให้ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีการบัญญัติไว้อย่างชัดเจนดังที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าแต่ทว่าในตอนนี้ยังคงไม่มีการบังคับใช้ในศาลและปัจจุบันประเด็นนี้ประชาชนก็ยังสามารถที่จะใช้สิทธิเรียกร้องกับศาลได้ยากเพราะว่ามีความลำบากมากขึ้นในการอ้างสิทธิในเรื่องนี้

    นอกจากนั้นเรื่อง “เสรีภาพของสื่อ” ก็คิดว่าเป็นประเด็นที่มีปัญหาเช่นกันกันแม้ว่าตัวบทกฎหมายจะไม่ได้ดูน่ากังวลมากนัก แต่ถ้านำมาเชื่อมกับเรื่องอาชีพที่ว่าบุคคลซึ่งประกอบอาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพซึ่งก่อนหน้านี้ไม่ได้มีความชัดเจนว่าจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนมันคืออะไรกันแน่แต่ทว่าข้อกังวลนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในปัจจุบัน และรัฐได้พยายามที่จะผลักดันร่างพระราชบัญญัติการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน เพื่อที่จะนำมาใช้ในควบคุมซึ่งเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ยากว่ามาตรฐานทางจริยธรรมสื่อในมุมของรัฐจะเป็นอย่างไรบ้างซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสื่อจะมีข้อจำกัดที่มากขึ้นและเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับที่รัฐดำเนินการอยู่แม้ว่าจะมีการจัดทำรัฐธรรมนูญออกมาในภายหลังก็สามารถเขียนให้มีความสอดคล้องกันได้ระหว่างรัฐธรรมนูญกับพระราชบัญญัตินี้

    อีกประเด็นหนึ่งคือเรื่องเสรีภาพของสื่อที่ข้อกำหนดหรือข้อยกเว้นบางส่วนได้ขาดหายไป กล่าวคือในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้าได้กำหนดว่าการให้ข่าวบทความแก่เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปตรวจสอบสื่อมวลชนหรือหนังสือพิมพ์จะกระทำไม่ได้เว้นแต่ประเทศอยู่ภาวะในสงคราม แต่จะต้องกระทำโดยอาศัยตามกฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะหมายความว่า จะมีข้อกำหนดต่างๆ ตามมาในภายหลังแต่ทว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเขียนแค่ว่าเว้นแต่จะกระทำในขณะที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามและเมื่อดูคำว่า “ประกาศภาวะสงคราม” แล้วก็คือการประกาศกฎอัยการศึกซึ่งก็ง่ายมากที่คนที่ถืออำนาจจะประกาศใช้ เพราะโดยความเป็นจริงแล้วไม่ได้มีภาวะสงครามแบบนั้นเท่ากับว่าไม่มีข้อจำกัด แปลว่าไม่มีหลักประกันใดๆ ให้กับสื่อเลย

    ถ้าไปดูความเห็นของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนตามรายงานของสถาบันเพื่อการวิจัยนโยบายสาธารณะ(IPPR) ประเทศไทยทำได้จดหมายชี้แจงไปยังคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนว่าประเทศเราอยู่ในภาวะสงคราม/อยู่ในภาวะฉุกเฉินเพื่อขอลิดรอนสิทธิบางประการซึ่งรวมกันก็หลายๆ สิทธิ เช่น การใช้ศาลทหารส่วนฝ่ายคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนก็มีความเห็นว่าการประกาศลิดรอนสิทธิของไทยมีความไม่สมเหตุสมผลเนื่องจากในทางสากลภาวะที่เราเผชิญอยู่มันไม่ใช่การศึกสงคราม จึงไม่ได้เป็นพันธะกรณีตามIPPR นี่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    “สิทธิชุมชน”ที่หายไป

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ในเรื่องของสิทธิชุมชนกับการได้รับบริการสาธารณะสุขที่เดิมอยู่ในมาตรา ๖๖ และมาตรา ๖๗ แต่ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเนื้อหาของมาตรา ๖๗ นี้ได้ถูกย้ายไปรวมอยู่ในเรื่อง “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งก็เป็นปัญหาโดยตรงในเรื่องของการทำโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงเดิมรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ากำหนดไว้ว่าโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงก็จะต้องทำ๔ อย่างต่อไปนี้คือ ๑) ต้องให้มีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ๒)ต้องให้มีรับฟังกระประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) ๓)ผลกระทบต่อสุขภาพ หรือ (EHIA) และ ๔) การรับฟังความเห็นจากองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมแต่ในรัฐธรรมนูญบับใหม่กลับปรับให้สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่รัฐของแทนและก็ได้ตัดการรับฟังความเห็นองค์กรอิสระสิ่งแวดล้อมออกไป
    อีกสิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตก็คือ ตามปกติจะมีมาตรา ๕๗ที่มาสนับสนุนสิทธิขึ้นไปอีกชั้นหนึ่ง นั่นคือ ประชาชนสามารถขอทราบข้อมูลขั้นตอนต่างๆที่จะเกิดขึ้นได้แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้บัญญัติไว้เฉพาะที่เกี่ยวกับโครงการที่มีผลกระทบรุนแรงเท่านั้นในขณะรัฐธรรมนูญฉบับเดิมได้กำหนดไว้ให้เป็นการโดยทั่วไปไม่ว่าจะเป็นโครงการที่รุนแรงหรือไม่รุนแรง ประชาชนก็สามารถขอทราบข้อมูลต่างๆ ได้ซึ่งจากจากที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เขียนไว้เช่นนี้จะส่งผลให้โครงการบางโครงการที่มีผลกระทบแต่อาจจะไม่รุนแรง เช่น โรงไฟฟ้าชีวมวลขนาดไม่เกิด๑๐ เมกะวัตต์ ไม่ต้องทำ
    EIA ก็ได้แต่โครงการนี้ก็อาจเกิดผลกระทบต่อชุมชนได้ ดังนั้น ประชาชนก็ควรมีสิทธิรับทราบในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนของเขา

    ในอีกประเด็นก็คือ เรื่องของสิทธิการบริการสาธารณสุขจากเดิมที่มีการกำหนดเป็นสิทธิโดยตรงว่า“ประชาชนทุกคนต้องได้การบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพเสมอภาคและทั่วถึง” ซึ่งเป็นการไปกำหนดหน้าที่ของรัฐแต่สิ่งหนึ่งที่หายไปคือคำว่า “การให้บริการสาธาณสุขที่เสมอภาคกัน”ซึ่งหมายความว่า ในอนาคตเราอาจจะมีการให้บริการสาธารณสุขที่ไม่เสมอภาคกันก็ได้ซึ่งก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่โดยส่วนตัวคิดว่าการร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีการทำการบ้านมาอย่างดีของผู้ร่างว่าจะเอาอะไร แล้วจะทำอะไรต่อไปในอนาคต ซึ่งจงใจที่จะบัญญัติไว้เพื่อหลีกเลี่ยงประเด็นต่างๆเหล่านี้

    การต่อสู้/การเคลื่อนไหวทางการเมือง/การชุมนุมในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: จากสถานะตอนนี้ยังคงไม่มีความแตกต่างเรายังคงใช้สิทธิกันแบบกล้าๆ กลัวๆ และเสรีภาพในการชุมนุมก็ยังถูกจำกัดอยู่ต่อให้มีการยกเลิกในเรื่องของการห้ามชุมนุมทางการเมืองไป ก็ยังคงมีพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 อยู่ จากการบังคับให้แจ้งจุดประสงค์เมื่อจะมีการจัดการชุมนุมต่างๆ นี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนยังคงมีอุปสรรคในการที่จะใช้สิทธิ นอกจากนั้นแล้ว คสช.สามารถที่จะออกกฎหมายหรือคำสั่งอื่นๆ ได้อีก เพราะตามมาตรา ๒ (๕) ของพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะพ.ศ.2558 ยังคงรับรองให้การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งรับรองอำนาจตามมาตรา ๔๔ ด้วย ให้เป็นสิ่งที่ชอบธรรมและแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการยุติการการใช้ศาลทหารไปแล้วแต่ถ้าหากว่ามีเหตุความไม่สงบหรือเกิดระเบิดเกิดขึ้นมาก็อาจจะมีการนำศาลทหารกลับมาใช้อีกครั้งแม้ว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวรแล้ว แต่กลุ่มคนที่ใช้อำนาจก็ยังคงเป็นคนกลุ่มเดิมสุดท้ายนี่เป็นรัฐธรรมนูญที่แปลกประหลาดมาก เทียบกับฉบับก่อนหน้าที่ผ่านมาเพราะว่ากลายเป็นว่ามี ๒ อำนาจในรัฐธรรมนูญเดียวกัน ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนและนอกจากนั้นการใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ นี้เป็นสิ่งที่ไม่ผ่านการตรวจสอบโดยใครเลยแต่ทว่าโดยตามปกติต้องผ่านสภาหรือผ่านพระมหากษัตริย์ในทางใดทางหนึ่ง

    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. ๒๕๖๐ เท่ากับ เครื่องมือในการส่งเสริมสิทธิของใคร

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: สิทธิในเชิงเนื้อหาในหลายๆเรื่องถดถอยลง เช่น สิทธิในการชุมนุม สิทธิในการรับบริการสาธารณสุข ถดถอยลงค่อนข้างมากสังเกตเห็นได้ว่าในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้านี้มีความพยายามในการเขียนเรื่องเขียนสิทธิให้ดีขึ้นแต่ทว่าในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกลับไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลยและเต็มไปด้วยการควบคุมในหลายๆ ด้านแทน ส่วนในทางกระบวนการก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างเช่นเรื่องการชุมนุมที่มีการควบคุมค่อนข้างมากอย่างเห็นได้ชัดทั้งที่สิทธิในการชุมนุมนี้เป็นสิทธิที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสิทธิอื่นๆ ได้จากกลไกที่ไม่ค่อยสมบูรณ์ของประเทศเรานี้ “อย่างที่ทางทนายสิทธิฯได้เน้นย้ำมาโดยตลอดว่า เรามองเรื่องของสิทธิ ว่าเป็นเรื่องของ“ผู้ทรงสิทธิ”ซึ่งไม่ว่าจะกำหนดเป็นหน้าที่ของรัฐหรือประชาชนอย่างไรก็ตามประชาชนก็ต้องยืนยันในการใช้สิทธินั้นอยู่ดี”  แต่ทว่าในการเป็นผู้ทรงสิทธินั้น เป็นการให้ค่ากับประชาชนมากกว่า

    “สิทธิมนุษยชน”ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ: ประชาชนจะเข้าถึงการใช้สิทธิได้ยากลำบากมากขึ้นแม้ว่าอาจจะดีกว่าในช่วงนี้เล็กน้อยก็ตาม ตัวอย่างเช่นการชุมนุมในประเด็นเรื่องของปากท้อง เศรษฐกิจ เขาก็อาจจะจัดการชุมนุมได้มากขึ้นแต่ทว่าจะสามารถบรรลุผลได้ในระดับไหน ก็ต้องติดตามกันต่อไป นอกจากนั้นหาพิจารณาจะพบว่าในส่วนของตัวบทกฎหมายเองก็มีการเปลี่ยนแปลงไปพอสมควรเช่น เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ค่อนข้างมีความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเนื่องจากรัฐต้องการให้โครงการต่างแล้วเสร็จโดยเร็วส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิมาต่อสู้ได้ เพราะประเด็นเหล่านี้ถูกให้ทำผ่านกระบวนการไปแล้วหรือแม้กระทั่งโครงการขนาดใหญ่ ก็มักจะกลายเป็นหน้าที่ของรัฐ ในขณะที่องค์อิสระและสิ่งแวดล้อมถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วมมีการแก้ไขกฎหมายเรื่องการรับฟัง EIA และ EHIA ซึ่งทำให้ในแง่ของรายละเอียดก็ยังคงมีปัญหาอยู่และปัญหาต่างๆเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ถูกแก้ไข

    รัฐธรรมนูญที่ดี”ควรกำหนดในเรื่องของสิทธิอย่างไร

    คุณพูนสุขพูนสุขเจริญ:  เราต้องเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานกันอย่างเสมอภาคจริงๆเสียก่อน แต่ทว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ยังคงไม่สามารถไปถึงขั้นนั้นได้กล่าวคือแม้กระทั่งระดับสิทธิเสรีภาพโดยทั่วไปก็ยังมีปัญหา นอกจากนั้นก็ยังมีปัญหาที่ทับซ้อนไปอีกขั้นเช่นในเรื่องสิทธิของคนที่ไม่ใช่ชาวไทย สิทธิแรงงานหรืออะไรก็ตามที่ไม่ถูกคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ดีจะต้องมีองค์ประกอบต่างๆ ดังนี้ ประการแรกคือควรเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานของทุกคนไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครก็ตามย่อมต้องได้รับความคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกันประการที่สองคือ ต้องให้อำนาจในการบัญญัติสิทธิอื่นๆ นอกเหนือจากสิทธิขั้นพื้นฐานรวมถึงต้องให้ช่องทางและเครื่องมือกับคนแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน เช่น ศาลองค์กรทางการเมือง ประชาชน ฯลฯ ต้องมีเครื่องมือที่ทำให้เกิดการใช้สิทธิได้อย่างเท่าเทียมและสมดุลกันไม่ใช่ว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจเหนืออย่างเบ็ดเสร็จซึ่งอาจจะกลายเป็นกลุ่มอำนาจเดิมใหม่อีกรอบประชาชนก็จะยังคงถูกลิดรอนสิทธิและไม่ได้มีอำนาจมากขึ้นอาจเรียกได้ว่าอำนาจต่อรองกับตัวแสดงอื่นๆทางการเมืองลดน้อยลงได้ด้วยซ้ำและสุดท้ายประการที่สามคือ กลไกที่ใช้ในการตรวจสอบอำนาจรัฐต้องมีประสิทธิภาพกล่าวคือไม่ว่าจะให้อำนาจรัฐไว้มากขนาดไหนก็ตามแต่กลไกที่ใช้ในตรวจสอบต้องมีประสิทธิภาพมากตามไปด้วย หน่วยงานยุติธรรมต้องมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริงหรือในการตรวจสอบเพื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองการรวบรวมรายชื่อก็ควรให้สามารถถ่วงดุลกันได้ ถ้าหากสามารถทำได้อย่างที่กล่าวมานี้จะทำให้สังคมการเมืองสามารถพัฒนาต่อไปได้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in