The New Old ผู้สูงอายุยุคใหม่ โอกาส หรืออุปสรรค?
โดย กิิตติศักดิ์ ไตรสุทันธ์
โลกของเรากำลังเข้าสู่ความเปลี่ยนแปลงของประชาการศาสตร์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และสังคมทั่วโลกต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
มีหลายประเทศที่ก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์ เช่น USA UK China Japan India Singapore เป็นต้น
ประเทศไทยของเราก็ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ จากข้อมูลสถิติแห่งชาติ ข้อมูลปี พ.ศ 2557 ประเทศไทยมีประชากรผู้อายุที่มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 14.9 ของประชากรทั้งหมด นับจากปี พ.ศ2537 มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
เห็นได้ชัดว่าอัตราการเกิดของเด็กต่ำลง ส่งผลให้แรงงานลดลงอย่างต่อเนี่อง
The New Old หรือ ผู้สูงอายุยุคใหม่ เป็นสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก
ผู้สูงอายุยุคใหม่ จัดว่ากลุ่มคนที่ความสามารถมาก เป็นกลุ่มคนที่ช่วยกันพัฒนาประเทศได้อย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ประเทศเรายังไม่พัฒนา
ผู้สูงอายุยุคใหม่ ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากพอสมควร ซึ่งตอนที่คนกลุ่มนี้เกิดลืมตาดูโลก ก็ยังไม่มีเทคโนโลยีอะไรเลย อย่างมากที่สุดก็แค่ตะเกียงที่ให้ความสว่าง ผ่านมาจนวันนี้มีอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเชี่อมต่อคนได้ทั่วโลก และผู้สูงอายุยุคใหม่ก็สามารถปรับตัวได้ดี
ระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน เอื้อต่อสูงอายุยุคใหม่พอสมควร เช่น การแพทย์ ที่สามารถรักษาโรคร้ายแรงต่างๆได้ ยารักษาโรคที่ดีมาก มีบริการดูแลผู้สูงอายุผ่านแอพพลิเคชั่น และเทคโนโลยีการแพทย์ก็พัฒนามาไกลอย่างขาดไม่ถึง
โดยเฉพาะในวันนี้มี Internet of things ที่สามารถช่วยให้ผู้อายุยุคใหม่อยู่บ้านแบบสะดวกสบายและปลอดภัยขึ้น
หลายสิ่งหลายอย่างก็ดูดีขึ้นตามลำดับ
แต่...สังคมเกิดคำถามขึ้นว่า...ถ้าเราเป็นประเทศที่มีผู้สูงอายุมากๆ จะเป็นโอกาสหรืออุปสรรค?
เรามาดูอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นก่อน
อย่างแรกที่ผมมองเห็นคือ มีเด็กเกิดน้อยลงและแรงงานที่เคยเป็นจุดแข็งของประเทศไทยก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นจุดอ่อนของประเทศทันที เพราะในสมัยก่อนประเทศไทยมีแรงงานราคาถูกมากและก็มีคุณภาพ จนทำให้ต่างประเทศเข้ามาตั้งโรงงานผลิตสินค้ากันมากมาย (วันนี้ไปเวียดนามแล้ว)
อย่างที่สองคือประเทศไทยต้องนำเงินส่วนหนึ่งของรายได้ประเทศมาดูแลสวัสดิการกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุบางคนก็ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้กับประเทศ เมื่อเข้าสู่วัยที่ทำงานไม่ได้
อย่างที่สามภาษีของประเทศที่เคยเก็บได้จากการบริโภคในประเทศจากคนกลุ่มนี้ อาจลดลงแบบเป็นรูปธรรมขึ้นเรื่อยๆ
อย่างที่สี่ผู้สูงอายุที่เป็นคนจนจะยิ่งลำบากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากไม่มีรายได้มากพอที่จะมาเลี้ยงตนเอง บางคนอาจก้าวตามไม่ทันเทคโนโลยีั กลายเป็นภาระของภาครัฐ
อุปสรรคไม่ได้มีแค่นี้นะครับ ยังมีอีกมาก...ที่จะตามมา
ประเทศไทยจะมีวิธีทางแก้ไขอย่าง?
ถึงอย่างไรต่อให้มีสังคมผู้สูงอายุยุคใหม่เกิดขึ้น ถึงแม้เราจะมองเห็นแต่อุปสรรค แต่ก็ไม่ใช่...ไม่มีโอกาส
โอกาสมีมากมายถ้าคุณมองเห็น ถ้าคุณฉลาดพอ
เครดิตภาพ Google
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in