การถือกำเนิดขึ้นมาของ "อาเซียน (ASEAN)"หรือนามเต็มที่ว่า "สมาคม ประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of South East Asian Nations)" กระทั่งกลายเป็นที่สนใจของประชาคมโลกและประชาชาติในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กันอย่างมากในห้วงปัจจุบันนั้น อาจมีที่มาจากการเป็นองค์กรทางภูมิศาสตร์และเศรษฐกิจ ของกลุ่มประเทศ 10 ชาติ ที่ประกอบ ด้วยกัมพูชาไทยบรูไนพม่าฟิลิปปินส์มาเลเซียลาว เวียดนามสิงคโปร์ และ อินโดนีเซีย
หากแต่ที่ได้รับความสนใจกันอย่างมากก็เพราะภายใต้กฎบัตรอาเซียนที่ผู้มีอำนาจจากทั้ง 10 ชาติได้ร่วมลงนามกัน เมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ.2008 ซึ่งจะทำให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น ได้ส่งผลให้เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปีค.ศ.2010 และกำลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี ค.ศ.2015
ด้วยความเคลื่อนไหวดังที่กล่าวมานี้เองที่ส่งผลให้เกิดแรงกระเพื่อม หลากหลายด้านขึ้นในบรรดาประชากรของประเทศสมาชิกอย่างมาก ส่งผลในเชิงบวกทำให้ผู้คนเริ่มหันมาคิด สนใจ และทำความรู้จักกับประชาคมที่ตนเองสังกัดกันอยู่นี้มากยิ่งขึ้น
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปัจจุบันประกอบไปด้วย10 ประเทศ ดังที่กล่าวมานั้น นับเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญและมีบทบาทต่อความเคลื่อนไหว และความเปลี่ยนแปลงในพัฒนาการของโลกมานับแต่ยุคก่อน ประวัติศาสตร์แล้วหรืออาจกล่าวได้ว่ามันมีความสำคัญนับแต่ลักษณะทาง ภูมิศาสตร์ของมันเองมานับแต่ต้น
อย่างที่รับรู้กันมาเสมอว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แม้จะไม่ได้ถูกนับว่าเป็นอู่อารยธรรมที่สำคัญของโลกในยุคต้นหากแต่ด้วยภูมิศาสตร์ที่ตั้งที่มันดำรงอยู่ในสถานะของดินแดนทางผ่านมานับแต่ต้น ทำให้แรงเคลื่อนทางวัฒนธรรมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำเนิดขึ้นท่ามกลางการเคลื่อนไหวของผู้คนที่หลากหลายทั้งในด้านเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม
ตลอดห้วงแห่งประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดินแดนที่ฝรั่งนักเดินทางทั้งในอดีตและปัจจุบันขนานนามว่า "ดินแดนแห่งจุดบรรจบของมรสุม" บ้าง หรือ "ดินแดนใต้สายลม" บ้างมีเรื่องราวที่นสนใจ ปรากฎขึ้นมามากมายมีประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเฉพาะของตนเองอยู่ไม่น้อยและที่สำคัญเหนืออื่นใดมันมีแบบอย่างที่ควรคต่อการทำความรู้จักและความเข้าใจไม่น้อยไปกว่าเรื่องราวในประวัติศาสตร์ของดินแดนในภูมิภาคอื่น ๆ ของ โลกเลยทีเดียว
สนับสนุนบทความโดย pussy888
"อุษาคเนย์"ประวัติศาสตร์"อาเซียน" ฉบับประชาชน เล่มนี้ให้ความสนใจและความสำคัญกับประวัติศาสตร์ของชาติต่าง ๆ ในภูมิภาคแห่งนี้ โดยจะเริ่มแสดงภาพให้เห็นตั้งแต่การดำรงอยู่ของ "คน" ในยุคโบราณ กระทั่งถึงสภาพการณ์ทางการเมืองการปกครองของชาติต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน โดยจะจัด แบ่งออกเป็น 4ภาค นั่นคือภาคแรก "ต้นธารแห่งประวัติศาสตร์ จากชนเผ่ามา เป็นอาณาจักร"ซึ่งในภาคนี้จะบรยายเรื่องราวของผู้คนที่ปรากฎในภูมิภาคนี้มานับแต่ยุคโบราณไปจนถึงสมัยของการก่อกำเนิดบ้านเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคภาพของบ้านเมืองใหญ่ๆ อาทิ ฟูนั้น เขมร จามปา หรือแม้แต่บ้านเมืองใน เกาะชวาอย่างมัชปาหิต หรือศรีวิชัย ไปจนถึงกำเนิดชาติในแดนแดนต่าง ๆ ภาคสอง"บ้านเมืองยุคการค้าและสงคราม" ภาคนี้นั้นให้เห็นภาพของความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ก่อนและหลังการเข้ามาของชาวตะวัน ตกและการแลกเปลี่ยนความมั่งคั่งในภูมิภาคผ่านการเมืองและการสงคราม ภาคสาม"ยุคสมัยของการล่าอาณานิคมใหม่" ปรากฎภาพของการเข้ายึดครองของชาติมหาอำนาจ และอิทธิพลของต่างชาติเหนือรัฐในอุษาคเนย์ และ ภาคที่สี่"กำเนิดชาตินิยม กับกู้เอกราช" อันเป็นภาคที่ว่าด้วยเอกราช และการสร้างชาติของบรรดาประเทศต่าง ๆ
เรื่องราวของ"อุษาคเนย์"หรือแท้จริงต้องเรียกว่าเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้ นั้นนับว่าเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ของโลกอยู่ร่วมทุกยุคสมัย การได้เรียนรู้เรื่องราวของดินแดนส่วนนี้จึงเท่ากับได้เข้าใจโลกและชีวิตของเราไปส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in