เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ทฤษฎีสารสนเทศฉบับการ์ตูนBill Chatchmann
3 : ท้ายเรื่อง
  • รากฐานทฤษฎีสารสนเทศฉบับการ์ตูนหรือคิฮงกับอินฟอร์เมชั่นเอนโทรปี ที่คุณผู้อ่านได้อ่านจบไปแล้วนั้นผมลงมือทำขึ้นเพราะประทับใจกับหนังสือและบทความเกี่ยวกับเอนโทรปีที่ได้อ่านมาจนเกิดไอเดียที่อยากจะนำมาเล่าต่อบ้างซึ่งมีดังต่อไปนี้


    • หนังสือ “รากฐานกลศาสตร์สถิติ” ที่เขียนโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรเชษฐ์ หลิมกำเนิด ซึ่งผมได้พบหนังสือเล่มนี้ในห้องสมุดตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย (ช่วงปี 2015) ในบทที่หนึ่งของหนังสือดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการพาไปพบกับปริมาณ "อินฟอร์เมชั่นเอนโทรปี" อย่างเป็นขั้นตอนพร้อมกับเหตุผลที่นิยามปริมาณนี้ขึ้นมาและคุณสมบัติของมัน นั้นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักกับปริมาณนี้ (พร้อมกับชื่อ คล็อด แชนนอน) ก่อเกิดเป็นความสนใจต่อทฤษฎีสารสนเทศตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ข้างล่างนี้เป็นหน้าตาของหนังสือ ไม่แน่ใจว่าในปัจจุบันยังมีตีพิมพ์อยู่มั้ย

    • ส่วนแหล่งข้อมูลที่สอง ผมได้รับแรงบันดาลใจมาจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร. สิขรินทร์ อยู่คง หรือ อ.ริน แห่งสถาบันการค้นคว้าระดับรากฐาน (IF) มหาวิทยาลัยนเรศวร เจ้าของเพจ ฟิสิกส์หมาหมา และเว็บไซต์ sikarinyookong.com (นักฟิสิกส์คิดแต่เรื่องเที่ยว) นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ที่ชอบอธิบายเนื้อหาฟิสิกส์เชิงทฤษฎีต่างๆพร้อมภาพประกอบที่เข้าใจได้ง่าย อยากจะแนะนำให้ไปติดตามกันครับ

    • ในโพสต์ที่เกี่ยวกับ เอนโทรปี 101 และ เอนโทรปี 102 อ.ริน ได้พาไปท่องโลกของเอนโทรปีในหลากหลายรูปแบบตั้งแต่ เอนโทรปีเชิงความร้อนในวิชาอุณหพลศาสตร์ไปจนถึงเอนโทรปีในกลศาสตร์ควอนตัมของโลกระดับจุลภาค ในการลงมือทำ รากฐานทฤษฎีสารสนเทศฉบับการ์ตูนหรือคิฮงกับอินฟอร์เมชั่นเอนโทรปี ขึ้นมานี้ ผมได้แรงบันดาลใจมาจากเนื้อหาในส่วนเอนโทรปีเชิงสารสนเทศหรืออินฟอร์เมชั่นเอนโทรปี หากใครสนใจเรื่องราวของเอนโทรปีเพิ่มเติม ไปตามอ่านได้จากลิ้งค์ที่ผมแปะไว้ได้เลย                                                                                                                                                               
    • นอกจากนี้ยังมีหนังสือที่ชื่อ เอนโทรปี,อินฟอร์เมชันและฟิสิกส์ แจกให้อ่านฟรีอีกต่างหาก ใครที่สนใจเรื่องราวของเอนโทรปีและอินฟอร์เมชั่นเข้าไปดาวน์โหลดหนังสือไว้ได้เลย

    ทั้งหมดนี้ก็คือที่มาที่ไปเล็กๆของ รากฐานทฤษฎีสารสนเทศฉบับการ์ตูน แล้วไว้พบกันใหม่ในครั้งต่อไปครับ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in