เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บันทึกการทำงาน^^Sunkamol Chomsinsab
จิตวิทยาเด็กอายุ 3 - 5 ปี
  • ในวัยนี้เป็นช่วงที่เด็กมีสมรรถภาพทางกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสดีมากขึ้นเด็กเริ่มที่จะเคลื่อนไหว ต้องการสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัว ErikH. Erikson กล่าวว่าในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ช่างซักถาม เป็นเจ้าหนูทำไมซึ่งผู้ใหญ่ควรโต้ตอบให้ความรู้กับเด็กเพราะจะส่งเสริมทางด้านภาษาของเด็กเด็กจะคิดใหม่ พูดใหม่ ทำอะไรใหม่ ๆ ทุกวัน ระบบความจำและสมาธิดีขึ้นและเป็นวัยที่มีจินตนาการสูง มีความคิดที่ยึดเอาตนเองเป็นหลักและคิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีชีวิตมีความรู้สึก เช่น ต้นไม้ร้องไห้ถ้าโดนตัดเป็นต้น แต่ก็จะเริ่มลดลงในช่วงหลัง ให้เหตุผลได้ง่าย ๆจินตนาการบางอย่างของเด็กนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยดูและแยกแยะระหว่างความจริงกับจินตนาการของเด็กเพื่อไม่ให้เด็กติดนิสัยโกหกในขณะเดียวกันพ่อแม่ต้องสนับสนุนให้เด็กได้สร้างสรรค์จินตนาการของตนเองอย่างเหมาะสมเช่น มีของเล่นที่สามารถใช้เล่นบทบาทสมมติได้ ตุ๊กตามือหรือนิทานต่าง ๆซึ่งเด็กที่ได้รับการส่งเสริมเต็มที่จะกลายเป็นคนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การเล่นบทบามสมมติเป็นการช่วยระบายความกลัว เช่น เด็กกลัวหมอฟันการเล่นบทบาทสมมติเป็นหมอฟันอาจช่วยลดความกลัวตรงนี้ได้ แต่ผู้ใหญ่ต้องระวังไม่ให้กลายเป็นว่าเด็กกลัวฝังใจนอกจากนั้นการเล่นบทบาทสมมติยังพัฒนากระบวนการคิดเป็นขั้นตอนการให้เด็กได้ลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ และพ่อแม่ต้องรู้จัก ชมอย่างเหมาะสม เพื่อเป้นการเสริมแรงให้ลูกกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องต่อไปหากเด็กทำผิดก็ต้องลงโทษอย่างเหมาะสมเช่นกันแต่การลงโทษนั้นไม่ก่อให้เกิดพฤติกรรมภาวรเท่ากับการเสิรมแรงด้วยการชม นอกจากนี้ในวัยนี้เป็นวัยที่เด็กมีพฤติกรรมเลียนแบบโดยจะมีการเลียนแบบพ่อแม่ที่เป็นเพศเดียวกันซึ่งเป็นการเรียนรู้บทบาททางเพศAlbert Bandura กล่าวว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่เป็นการเรียนรู้โดยสังเกต หรือเรียนรู้จากตัวแบบไม่ว่าจะเป็นตัวแบบที่เป็นบุคคลจริง ๆ เช่น พ่อแม่ เพื่อน ครูหรือตัวแบบเชิงสัญลักษณ์ เช่น ตัวละครในโทรทัศน์ ตัวการ์ตูนหากตัวแบบใดทำพฤติกรรมแล้วได้รับรางวัล จริยธรรมของเด็กในวัยนี้จะเริ่มพัฒนาแต่จะพัฒนาจากตัวแบบเช่น การลงโทษ การให้รางวัล และการสั่งสอน

             การเล่นของเด็กนั้นเด็กจะมีกลุ่มเพื่อนอาจจะสองถึงสามคนซึ่งการเล่นเป็นกลุ่มนี้ช่วยให้เด็กเรียนรู้กฎเกณฑ์รู้จักสร้างกฎและทำตามกฎการปรับตัวและการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เป็นการเพิ่มปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการเล่นเป็นกลุ่มนี้ยังช่วยลดความคิดที่ยึนตนเองเป็นศูนย์กลางของเด็กด้วยเพราะเมื่อเล่นกับคนอื่น เด็กย่อมต้องรู้จักการปรับตัว และหัดมองในมุมของคนอื่นเพื่อตนเองสามารถเป็นส่วนหนึ่งและเล่นร่วมกับคนอื่นได้นอกจากนั้นยังทำให้เกิดการเลียนแบบกันเองด้วย หากพ่อแม่ผู้ปกครองให้การสนับสนุนที่ดีแก่เด็กได้เด็กในวันนี้ก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในวันหน้า

    บรรณานุกรม

    สำนักนันทนาการ กรมพลศึกษา.  (2557).  กิจกรรมนันทนาการเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  กรุงเทพฯ:  เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.




เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in