ใครยังไม่รู้จัก 'เต๋อ-นวพล' ผู้กำกับ 'ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ' เชิญทางนี้ (2/3)

        

        จุดเด่นของผลงานของเต๋อคือ “ที่มา” ของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง โดยเรื่อง 36 นั้นเขาได้แรงบันดาลใจจากการที่กล้องฟิล์มมีแค่เพียง 36 ภาพ "Mary is happy, Mary is happy (2556)" ได้แรงบันดาลใจจากทวิตเตอร์ 410 ทวีตของ @marylony หรือ “แมรี่ มาโลนี่” เจ้าของทวิตเตอร์ผู้ซึ่งไม่เคยรีทวีตหรือ reply ทวีตใครๆ และที่เด็ดกว่านั้นคือเต๋อเลือกที่จะเขียนบทเรียงตามไทม์ไลน์ ทวีตทั้ง 410 อันนั้นจริงๆ! และแน่นอนภาพยนตร์"Mary is happy, Mary is happy"เรื่องนี้ ก็ทำให้ชื่อของเต๋อกลายเป็นขวัญใจคอหนังไทยที่อยากได้ความแตกต่างจากหนังไทยทั่วไปในตอนนั้น ที่เต็มไปด้วยหนังผีและหนังตลกนั่นเอง




        Mary is happy, Mary is happy ได้รับรางวัล Best Asian Film, NETPAC Award, จาก 50th Taipei Golden Horse Film Festival ประเทศไต้หวัน รวมไปถึงเข้าชิงรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 23 จำนวน 10 สาขา และได้รับรางวัล 4 สาขา ได้แก่
1. นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
2. นักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม
3. ลำดับภาพยอดเยี่ยม
และ 4. ถ่ายภาพยอดเยี่ยม
        นอกจาก Mary is happy, Mary is happy จะประสบความสำเร็จทั้งในด้านรางวัลและรายได้แล้ว (ฉายจำกัดโรงแค่ House, RCA แต่ทำรายได้ไปถึงหนึ่งล้านบาท) หนังยังได้แจ้งเกิดสองนักแสดงนำอย่าง “จูนจูน พัชชา พูนพิริยะ” และ “เมโกะ ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย” ที่ได้กลายเป็นขวัญใจวัยรุ่นไทยทั้งชายหญิง ความสดใสน่ารักทำให้ทั้งคู่ควงคู่กันรับงานมากมายนับจากนั้นเป็นต้นมาเลยทีเดียว
“จูนจูน พัชชา พูนพิริยะ” และ “เมโกะ ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย” ในงานรับรางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ ครั้งที่ 23


"จูนจูน พัชชา พูนพิริยะ” และ “เมโกะ ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย” 


จูนจูน พัชชา พูนพิริยะ” และ “เมโกะ ชนนิกานต์ เนตรจุ้ย”  จากโฟโต้บุ๊ค “Tokyo Story สะกดรอยหนัง

        ผลงานกำกับลำดับต่อมาก่อนที่เต๋อจะมาลุยนั่งแท่นผู้กำกับ “ฟรีแลนซ์..ห้ามป่วย ห้ามพัก ห้ามรักหมอ (Heart Attack)” ก็คือภาพยนตร์สารคดีเรื่อง “The Master (2557)” เป็นภาพยนตร์สารคดีที่พาคนดูย้อนอดีตไปในยุคที่เรายังไม่มีไฮ-สปีดอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้โหลดหนังอินดี้หายากมาดูอย่างในทุกวันนี้ และคอหนังอินดี้ต่างประเทศทั่วฟ้าเมืองไทย ต่างมีที่พึ่งที่เดียวนั่นก็คือ “ร้านแว่นวิดีโอ” ร้านขายวิดิโอในตำนานย่านจตุจักร หนังเรื่องนี้จึงรวมตัวคนที่มีอดีตและความผูกพันกับร้านที่แว่นวิดีโอมานั่งพูดคุยถึงยุคสมัยนั้นอย่างออกรส ทั้งๆที่เป็นหนังสารคดีสัมภาษณ์คนมากมายความยาวกว่า 100 นาที แต่น่าสนใจที่ไม่มีคำว่าน่าเบื่อออกมาจากปากคนที่ได้ดูเรื่องนี้เลยสักคนเดียว!
โปสเตอร์ภาพยนตร์เรื่อง The Master (2557)



        นอกจากผลงานภาพยนตร์ที่ลงโรงฉายทั้งสามเรื่องของเต๋อแล้ว(ตามทันนะ? 36, Marry, และ The Masterไง) เต๋อยังเป็นทั้งผู้กำกับหนังสั้นและมิวสิควิดีโอที่มีผลงานออก มาอย่างต่อเนื่อง โดยมิวสิควิดีโอที่ดังที่สุดของเขาที่เชื่อว่าใครได้ดูก็อดทึ่งกับมุกหักมุมในเรื่องไม่ได้ นั่นก็คือ “นักเลงคีย์บอร์ด” ของ “แสตมป์ อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข” (2557) เรียกได้ว่าเมื่อปล่อย MV ออกมาก็กลายเป็น Talk of the town ด้วยวิธีการถ่ายทำที่แสนเรียบง่าย ไม่ต้องเห็นหน้านักร้อง แต่ทำให้เรากลับต้องดูซ้ำแล้วซ้ำอีก แถมยังถูกการันตีความ เป็นที่นิยมจากรางวัล มิวสิควิดีโอยอดนิยมแห่งปี จากรางวัล Bang Music Awards 2015 อีกด้วย


        และเพื่อไม่ให้เป็นการตกหล่น เราจึงรวบรวมผลงานมิวสิควิดีโออื่นๆของเต๋อ มาให้ดูกันตรงนี้ให้หมดเกลี้ยง (มีใครเซอร์ไพรส์ MV ไหนกันบ้างไหม? ว่า เฮ้ย! อันนี้เต๋อกำกับหรอกเหรอ? )
6. ใครคิดออกอีกมา comment ไว้นะ แล้วเราจะแอบมาแปะเพิ่มให้


        จบหนังยาวลงโรงและMVไปเรียบร้อย ต่อไปจะเป็น ยุคของหนังสั้นของเต๋ออีกมากมายก่ายกองที่เขียนให้จบในตอน 2 คงไม่ไหว ต้องตัดไปขึ้นตอน 3 จนได้หนึ่งผลงานที่ไม่พูดถึงไม่ได้นั่นก็คือหนังสั้นที่เต๋อทำให้กับโครงการ “Young Love รักเป็น ปลอดภัย” กับเรื่อง “Patcha is sexy (2557)” (ถ้าคุณได้กดดู MV เพลงเอาแต่ใจของ Yellow Fang ที่เราเพิ่งแปะลิงก์ MV ไปข้างบน เต๋อใช้น้องนางเอกคนเดียว กัน - ซึ่งน้องหน้าตายมาก เยี่ยม!) หนังสั้นเรื่องนี้ต้องการพูดถึงเรื่องยาคุมกำเนิดแต่เต๋อเก่งที่ทำออกมาได้ทั้งน่ารัก น่าหยิก และไม่รู้สึกว่ายาคุมกำเนิดเป็นเรื่องน่าอาย เต๋อทำให้คนดูมองว่ายาคุมกำเนิดมันสารพัดประโยชน์โดยเล่าผ่านเรื่องของน้องผู้หญิงที่แอบรักรุ่นพี่ เธอทำทุกวิถีทางจนเราต้องเอาใจช่วยเธอ (เป็นอย่างมาก) และนี้เป็นอีกหนึ่งผลงานของเต๋อที่เหมือนเป็น ควันหลงจากความสำเร็จของ Mary is happy, Mary is happy นั่นเอง ด้วยชื่อเรื่องและวิธีการเล่าเรื่องและการตัดต่อเล่า เรื่องลำดับเหตุการณ์ เป็นโคตร Mary สไตล์ และเป็นที่น่าแปลกใจที่เรื่องนี้ถูกสนับสนุนโดย กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข ทำให้เราเห็นได้ว่าหลังหนังเรื่อง Mary นั้น ชื่อชั้นของเต๋อเริ่มเข้าถึงคนหมู่มากอย่างแนบเนียนไปแล้ว


และ ถ้าใครยังไม่เคยได้รับชม “Patcha is sexy (2557)” ขอร้อง ดูเถอะ! รับรองจะรักจังหวะ และน้องผู้หญิงคนนี้อย่างตราตรึงใจมาก

อย่าลืมนะ ว่ายังไม่จบ ย้ำอีกที ว่ามีตอนสุดท้ายอยู่ตรงนี้ กดเลย << LINKอ่านต่อตอนที่ 3/3 >>