เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เราอยากเล่าให้ฟังeiijay_
fun fact: งานบอลประเพณีจุฬา-มธ.ในสายตาเราทั้ง3ปี
  • วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมาได้มีการจัดงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬา ครั้งที่73ขึ้น เราในฐานะนศ.ก็เป็นส่วนหนึ่งในงานนี้ด้วยเช่นกัน :)

    ในชีวิตรั้วมหาลัย เราได้เข้าร่วมทั้งหมด3ปี คือครั้งที่ 71 72 และ73 (ในปี2560งดการจัดงาน เนื่องจากไว้อาลัยในหลวงรัชกาลที่9สิ้นพระชนม์) ซึ่งเราก็ใช้ชีวิตคุ้มเหลือเกิน โดยการไปร่วมขึ้นทั้งสแตนของจุฬาและธรรมศาสตร์ แต่ละปีก็จะมีความประทับใจไม่เหมือนกัน วันนี้จะมาขอเล่าคร่าวๆให้อ่านเพลินๆละกันเนอะ ;)

    fun fact ข้อที่ 1 ใครจะขึ้นสแตนของฝั่งไหนก็ได้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะนักศึกษา

    ใครจะมาขึ้นก็ได้ เราเคยเห็นตั้งแต่เพื่อนเก่า รุ่นพี่มหาลัย รุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้ว พ่อแม่ของพี่ที่เรียนจบไปแล้ว หรือแม้แต่ชาวต่างชาติที่เดินผ่านไปผ่านมาหน้าสนามกีฬาเขาก็เอามาขึ้นจนได้555555

    คืองานจะมีสแตนสองฝั่งสนามหันหน้าชนกันใช่ไหมคะ จะมีฝั่งหนึ่งร่มในตอนบ่ายเพราะมีตึกของจุฬาบังอยู่ ส่วนอีกฝั่งหนึ่ง(ฝั่งติดถนนพระราม1)ตอนบ่ายโมงก็จะรับแดดเต็มๆค่ะ ต้องภาวนาเอาว่าวันนั้นแดดจะร่มเมื่อไหร่ กว่าจะร่มจริงๆแบบอยู่สบายก็สี่โมงเย็นค่ะ ระหว่างนั้นก็ต้องทนลูกเดียว ใครเป็นลมง่ายๆให้หลีกเลี่ยงค่ะ

    ถ้าเป็นฝั่งจุฬา เขาจะขอความร่วมมือให้ใส่เสื้อสีชมพูอะไรก็ได้ไป(ซึ่งมักจะเป็นเสื้อปีล่าสุดนั้นแหละค่ะ) แต่ถ้าไม่มีเสื้อก็ไปซื้อหน้างานได้ แต่จะหมดเร็วมากๆ เหลือแต่ตัวเล็ก ไม่ก็ใหญ่ไปเลย ต้องไปวอร์ซื้อตอนเวลาที่เขาเปิดขายค่ะ(เอาแบบได้ชัวร์ไม่ควรเกิน30-40นาที) ส่วนถ้าเป็นฝั่งมธ. ถ้าใส่เสื้อสีอื่นมาก็ขึ้นสแตนได้เลยค่ะ บนสแตนจะมีเสื้อย้อม เป็นเสื้อกั๊กสวมหัว ด้านหน้าจะเป็นสีแดง ด้านหลังเป็นสีดำ เอามาใส่เพื่อให้สแตนเป็นสีแดงทั้งหมด เพราะเสื้อบอลทุกปีมันจะมีทั้งสีเหลืองสีแดง เลยต้องใส่เสื้อย้อมให้มันเป็นสีแดงทั้งหมด เวลาแปรอักษรจะเห็นชัดค่ะ


    ข้อดีของการขึ้นสแตนคือ คุณไม่ต้องซื้อบัตรเข้างานราคา200-300บาทเพื่อเข้าสนามไปดูบอล ไม่ต้องคอยหลบบัตรผี...
    แต่ข้อเสียของการขึ้นสแตนคือ คุณจะไม่ได้ดูบอลค่ะ ไม่ได้ดูขบวน ไม่ได้ดูเห้อะไรเลยค่ะ55555555555555555555555555555555555555 เพราะคุณต้องแปรอักษร ซึ่งเรายกให้เป็นหน้าที่ที่สำคัญอันดับต้นๆของงานเลยนะคะ(อวยปลอบใจตัวเองT-T)

    fun fact ข้อที่ 2 ถุงยังชีพและถุงสวรรค์

    การขึ้นสแตนก็ไม่ได้กลับมือเปล่านะคะ แต่ละฝั่งจะมีถุงผ้าหรือถุงหูรูดแบบนักกีฬาสำหรับแจกทุกคนที่อยู่บนสแตน ข้างในจะมีของสำหรับใช้ชีวิตอยู่บนสแตนต่างๆ ทั้งมีประโยชน์และไม่มี ของจะมีจำนวนเยอะหรือมูลค่าเยอะหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของฝ่ายจัดหาของปีนั้นๆ มีทั้งครีมกันแดด ขนมขบเคี้ยว ลูกอม ทิชชู่ น้ำดื่ม ยาพารา ยาดม ปลอกแขนกันแดด พัดธรรมดา พัดลมมือถือ แล้วแต่มหาลัยจะสรรหาสปอนเซอร์มาได้จริงๆค่ะ แต่บางทีสปอนเซอร์ก็ให้มาแบบของแถมBAเครื่องสำอางค์มาก เช่น ที่ลบเครื่องสำอางค์กับโฟมล้างหน้า อยู่บนสแตนให้มาทำม้ายยยยยยย55555 
    แต่เอาไหม....ก็เอาค่ะ /เก็บใส่กระเป๋า
    ฝั่งจุฬาจะเรียกว่าถุงยังชีพเพราะมันเป็นถุงหูรูดสีชมพูคล้ายถุงที่แจกตอนน้ำท่วม ส่วนมธ.จะเรียกว่าถุงสวรรค์ ไม่รู้เหตุผลหมือนกัน แต่น่าจะเป็นเพราะมีของเยอะล่ะมั้ง

    *ลืมบอกไปว่า เวลาอยู่บนสแตนคุณลุกไปไหนไม่ได้เลยนะคะ ต้องอยู่ตรงนั้นจนงานเลิก หรือก็แล้วแต่การอนุโลมให้ออกของสต๊าฟ บางทีถ้าคุณแปรชุดใหญ่เสร็จแล้วขอออกก็ได้ หรือถ้าไม่ไหวจริงๆมันจะมีโค้ดลับเรียกสต๊าฟมาดูแลได้ แต่ขอบอกเลยว่าถ้าคุณออกไปแล้วจะกลับมานั่งอีกรอบต้องคิดหนักแน่ๆ เพราะมันเข้า-ออกยากมากกกกกกกก ช่องแคบมะละกาเว่อร์ เดินออกแบบเบียดสุดๆ ให้นึกถึงช่องแคบระหว่างเก้าอี้โรงหนัง นั่นแหละค่ะ...แต่หารสองไปอีกทีนะ555555 มันต้องอยู่ชิดติดกันมากที่สุดเพื่อแปรอักษรมาได้สวยๆ ก็เข้าใจเหตุผลอยู่นะ

    fun fact ข้อที่ 3 แปรอักษรฮาเฮ ไม่ต้องซ้อมก็ทำได้

    ด้วยความที่เราเซียนการแปรอักษรมาก ตอนเราขึ้นไปปีแรกก็สงสัยมากๆว่าพี่ๆเขาทำยังไง พอขึ้นมาแล้วจะเข้าใจทะลุปรุโปร่งค่ะ คือทุกที่นั่งจะฟิกรหัสไว้เลย สมมติที่นั่งของเราเบอร์A1 ก็จะมีกระดาษโค้ดสำหรับA1ไว้แปรอักษรที่เขาสั่งค่ะ กระดาษโค้ดก็จะหน้าตาแบบนี้


    เป็นตารางๆ แต่มีหลายชุดนะ แล้วจะมีตัวอักษรสี(เหลือง แดง ฟ้า ชมพู เป็นต้น) เรียกว่าโค้ด1:1ค่ะ(ด้านขวา) ถ้าเขาสั่งอันนี้ เราก็ต้องหยิบสีที่อยู่ในตารางให้ตรงกับเลขโค้ดที่เขาสั่ง

    "โค้ด 1:1 โค้ด 1:1 ....หมายเลขที่ 4 หมายเลขที่ 4 ...ระวัง ระวัง ...เปิดครับ"

    เวลาสั่งก็จะประมาณนี้ เราก็หาว่าเลขที่4ในใบโค้ดเราขึ้นว่าเป็นสีอะไร แล้วก็หยิบตามสีนั้นหันออกไปให้อีกฝั่งดู ซึ่งทีมแปรอักษรของแต่ละฝั่งก็จะคิดคำมาเป็น100-200คำเตรียมไว้ก่อน เวลาอีกฝั่งแปรอะไรมาก็ต้องตอบกลับทันที ตอนที่สั่งเปิดโค้ดรัวๆก็สนุกดีเหมือนกัน (นี่คือสาเหตุที่ไม่ได้ดูบอลเลย..........-O-) เวลาดูจากข้างนอก สีมันก็จะแปลกๆหน่อย เพราะมันมีสีจำกัด และความละเอียดคือ1คนต่อ1สี ถ้าคำมันซับซ้อนก็จะอ่านยาก เลยจะเป็นคำติดหูในตอนนั้นหรือเป็นคำล้อตรงๆมากกว่า บางคนก็จะตกใจว่าทำไมมันแรงจัง คงอยากให้จบในการแปรครั้งเดียวแหละนะ...
    โค้ด1:1จากฝั่งจุฬา งานฟุตบอลฯปีที่73 | ภาพจาก https://mgronline.com/

    ส่วนภาพที่จะเปิดยากขึ้นมาหน่อยเรียกว่าโค้ด1:20หรือ1:25 จะเป็นหมายเลขและตารางเหมือนกัน แต่จะมีหมายเลขแทนสีที่ต้องเปิด ถ้าเปิดบ่อยๆจะเริ่มจำได้ว่าหมายเลขนี้สีนี้ เช่นเลข4คือสีดำ เลข1คือสีขาว เลข26คือสีฟ้าอ่อน มีทั้งหมด26สี ถ้าเขาบอกสีอะไรก็พลิก"สมุดสี"ตามเลขที่อยู่ในชุดนั้น

    โค้ด1:20จากฝั่งธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลฯปีที่73 | ภาพจาก http://www.matichon.co.th/

    โค้ด1:20หรือ1:25เปิดกันแบบฉับพลันไม่ได้ ต้องมีเวลาอ่านเวลาเซ็ต จังหวะพลิกก็สำคัญ คนสั่งต้องอ่านสถานการณ์รอบๆก่อนแล้วสั่งให้เปิด และต้องกะเวลาเผื่อให้คนทั้งสแตนจะเปิดให้เสร็จ ฝั่งจุฬาใช้แพลต1:25 ละเอียดกว่าฝั่งมธ.ที่ใช้แพลต1:20 ทำให้เวลาเปิดโค้ดนี้ ฝั่งจุฬาจะเปิดมากกว่ามธ.5สมุดสี แต่ก็ไม่ได้ทำให้เหนื่อยขึ้นหรอก55555

    มธ.จะใช้วิธีวางไว้บนตักแล้วอาศัยมองคนข้างๆ แล้วจัดให้เท่ากัน แต่จุฬาจะมีขาตั้งโค้ด เอาไว้สำหรับเสียบแพลตไว้ แล้วมันจะเท่ากันอัตโนมัติ เราว่ามันดีกว่านะ คนแปรไม่ต้องคอยจับไว้ตลอดเวลาด้วย ตอนที่กำลังหันแพลตออก มันจะมองอะไรบนสนามไม่เห็นเลย555555555555555 บังมิด ต้องมองผ่านรูระหว่างช่องเอา เข้าใจยังว่าทำไมถึงไม่ได้ดูบอล55555

    ฝั่งมธ.จะมีโค้ดที่ชื่อว่าmpโค้ดเพิ่มขึ้นมาด้วย ไม่ได้ต่างจาก1:1สักเท่าไหร่ แต่มีไว้เปิดคำต่อเนื่องโดยเฉพาะ ส่วนของจุฬาจะใช้รวมๆกับโค้ด1:1ไปเลย(ไม่รู้ว่าปัจจุบันเปลี่ยนหรือยังนะ) เวลาเขาสั่งก็จะรัวๆเลย เราก็มีหน้าที่อย่างเดียวคืออ่านใบโค้ดแล้วมีสติ

    "mpโค้ดที่1 mpโค้ดที่1 ประกอบอุปกรณ์ร่ม ประกอบอุปกรณ์ร่ม .....(หมายเลขที่) 1 เปิดค่ะ ....2 เปิดค่ะ ...3 เปิดค่ะ...."

    เราก็หยิบร่มขึ้นมาเตรียมเปิด วนแบบนี้ไปเรื่อยๆจนครบชุด เขาอาจจะเปลี่ยนชุดก็ได้ เราก็ต้องฟังเอา แล้วจับใจความว่าเขาให้ทำอะไรตรงไหน ในฝั่งมธ.จะมีความกดดันในเรื่องแปรโค้ดมากกว่า เพราะความคาดหวังมันเยอะ ส่วนคนที่เป็นคนแปรจะไม่ค่อยรู้อะไรสักเท่าไหร่555555555555555 เขาให้ทำอะไรต้องทำ โค้ดที่เราแปรออกไปก็จะไม่รู้จนกระทั่งมีคนอ่านให้ฟัง ได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้างยังไงสะก็ต้องมาดูย้อนหลังในยูทูปอยู่ดีT______T

    ในส่วนของแปรอักษรล้อการเมืองของมธ.หลายๆคนคงคุ้นตาว่าเป็นแบบไหน....

    เรายกตัวอย่างของปีล่าสุดละกัน ก่อนแปรจะมีการนัดแนะว่าจะต้องเปิดmpโค้ดที่เท่าไหร่ก่อน แล้วให้ใส่เสื้อย้อมสีแดง ซึ่งทำให้พื้นหลังจะมีสีแดงล้วนและอ่านง่ายขึ้น แล้วก็ให้หยิบอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม ถ้าสังเกตดูจะเป็นสีขาวๆกลมๆใช่ไหมคะ เขาใช้ร่มกระดาษแปรค่ะ (ร่มแบบทางภาคเหนือของไทยอ่ะ) เวลาหุบก็จะไม่เห็น กางออกก็จะเห็นเป็นสีขาว เวลากางก็จะเร็วมากๆ พรึ่บพรั่บๆกันเลยทีเดียว เราก็ดูว่าเขาสั่งอะไร เราก็กางตามที่ใบโค้ดเราให้ทำ
    ส่วนโฆษกกลางงานบอล...เราคิดว่าเขาน่าจะมีสคริปไว้อ่านอยู่แล้ว บางปีอ่านก่อนเปิดก็มี555555 ส่วนคนบนสแตนไม่ค่อยได้ยินที่เขาพูดหรอกค่ะ เพราะใช้ลำโพงคนละตัวกัน เราจะได้ยินแต่เสียงคนสั่งมากกว่า

    เอาเท่านี้ก่อนละกัน เราว่าน่าจะมีคนสอนแปรแล้วจากกระทู้หรือบทความอื่นๆ ขึ้นอยู่กับคุณแล้วค่ะว่าอยากจะไปลองทำจริงๆหรือเปล่า ;)

    fun fact ที่ 4 หน้างานแจกของฟรี

    สำหรับใครที่แบบว่า... ไม่ได้อยากแปรอักษร ไม่ได้อยากดูบอล เดินผ่านเฉยๆ หน้างานก็มีอะไรให้ทำเยอะแยะเลยค่ะ ตั้งแต่มีสปอนเซอร์แจกของฟรี ขนม เครื่องดื่ม ของใช้ เครื่องสำอางค์มากมาย ตั๋วหนังต่างๆ เราว่าแค่มาเดินหน้างานก็คุ้มละนะ555555
    ถ้าใครเข้าร่วมงานบอลแล้วไม่ได้บัตรเมเจอร์นี่โชคร้ายมากนะคะ แทบจะแจกฟรีทุกปี แต่เคยเป็นสต๊าฟแล้วไม่ได้อยู่ปีหนึ่ง ถ้าขึ้นสแตนนี่รับประกันว่าได้แน่ๆ100% มักเจอในถุงยังชีพหรือถุงสวรรค์ค่ะ
    แต่เด็กจุฬาก็จะเซ็งๆหน่อย เพราะมันใช้กับเมเจอร์ของพารากอนไม่ได้ ต้องไปใช้ที่เมเจอร์รังสิต.....

    fun fact ที่ 5 จบงานมีแจกของและคอนเสิร์ต

    เราไม่มั่นใจว่าปีผ่านๆมามีวงอะไรมาบ้าง ลืมไปแล้ว5555555 แล้วแต่ว่าเขาจะเสนอวงไหนเข้าพิจารณา ส่วนใหญ่มักจะเป็นวงสตริงฮิตๆหน่อย ที่กำลังมีผลงานในปีนั้น ฝั่งมธ.จะเป็นคอนเสิร์ตสั้นๆมากกว่า ไม่กี่นาที เพราะต้องกลับมหาลัยให้ไม่ดึกมาก ขึ้นรถประมาณ2ทุ่ม แต่จุฬาจะยิงยาว บางปีมีสองวงด้วยซ้ำ ฝั่งมธ.ก็ไม่น้อยหน้า 2ปีนี้ก็จัดBNKมาทั้ง2ปีติดเลย ก็ถือว่าให้ความบันเทิงกับโอตะกันไป 

    ส่วนของแจก ก็แล้วแต่ว่าพิธีกรจะรันคิวแบบไหน ส่วนใหญ่จะแจกก่อนมีคอนเสิร์ต เท่าที่เคยดูมาก็ไม่พ้นผลิตภัณฑ์ของแอปเปิ้ลต่างๆ โทรศัพท์มือถือของค่ายอื่น ตั๋วเครื่องบิน บัตรของขวัญ ประมาณนี้ เอาเท่าที่เราเคยไปนั่งสแตนมานะ จุฬาแจกอะไรจะบอกก่อน ปีนี้แจกตั๋วไปกลับลอนดอน แจกไอโฟน ไอแพดเท่านี้ๆตามพิธี ส่วนฝั่งมธ.จะไม่บอกอะไรเลย แต่พอถึงเวลาจริงก็แจกเยอะเหมือนกันกัน แถมมีฝ่ายบริหารที่ยุขึ้นด้วย แซวกันไปมาหน้างานแล้วแจกเพิ่มสะอย่างนั้น กลายเป็นแจกเยอะไปเลย55555555 ไอโฟน ไอแพด แอปเปิ้ลวอตซ์ร่วมๆแล้วเกือบ30เครื่อง มีโทรศัพท์ของค่ายอื่น มีบัตรของขวัญอะไรอีก ต้องขอบคุณคณะผู้จัดงานฝั่งมธ.จริงๆที่ใจเด็ดประกาศแจกเพิ่มกันสดๆหน้างาน55555555555


    แต่ถามว่าร่วมงานมา3ปี เคยได้อะไรไหม.......................................................... ก็ไม่T-T

    fun fact ที่ 6 มีงานเลี้ยงหลังงานฟุตบอลฯ

    เราเชื่อว่าหลายคนยังไม่รู้!! เพราะเท่าที่ดูในงานเลี้ยงแล้วคนมันน้อยผิดปกติ...

    พอเวลาเลิกงาน ช่วงประมาณทุ่มสองทุ่ม มันจะมีงานเลี้ยงเล็กๆอยู่ติดกับสนามกีฬา ถ้าคุณเดินเข้ามาฝั่งตึกจุฬาพัฒน์14 คุณจะเจอพื้นที่ที่มีไฟประดับบริเวณหนึ่ง มีเวทีให้นักร้องมาร้องเพลง และมีร้านอาหารออกงานและโต๊ะไว้สำหรับนั่งเต็มไปหมดเลย นั่นคืองานเลี้ยงสำหรับคนที่มาเข้าร่วมงานฟุตบอลประเพณีค่ะ

    ส่วนใหญ่จะเป็นพี่ๆศิษย์เก่าของทั้งสองมหาลัย คุณจะใส่เสื้อทีมไหนมาก็ได้ แค่ไปรับคูปองหน้างานก็สามารถทานอาหารในงานนั้นได้เลยค่ะ มีทั้งก๋วยเตี๋ยว ข้าวมันไก่ ของทอด ขนมต่างๆ เครื่องดื่มทั้งของเด็กและผู้ใหญ่ และที่สำคัญคือทานฟรีค่ะ! คนค่อนข้างน้อย อาหารเพียบบบบบ ใครรู้แล้วบอกต่อกันเงียบๆนะคะ ต้องขอบคุณพี่ๆศิษย์เก่าทั้งสองมหาลัยที่จัดงานแบบนี้ขึ้นมาค่ะ ;3 (เราไปฝากท้องกับงานนี้มา2ปีแล้ว55555 บางปีก็จะมีดารามาขึ้นเวทีด้วย นักร้องบางคนก็ชื่อดังเลยเหมือนกัน แต่ก็จะเป็นศิษย์เก่ามาช่วยๆกันค่ะ)

    ส่วนบนสแตน นอกเหนือจากของในถุงยังชีพก็จะมีแจกอาหารให้ทานนะคะ ในส่วนของสแตนจุฬาเราจำไม่ได้ว่ามีอาหารเที่ยงให้ด้วยหรือเปล่า(เอาเป็นว่าทานไปก่อนขึ้นสแตนดีกว่า) ส่วนใหญ่จะเป็นของง่ายๆหรือของที่สปอนเซอร์ให้มาค่ะ ปี73นี้จุฬาก็มีขนม เครื่องดื่ม โดนัทและอาหารญี่ปุ่น ส่วนของมธ.ก็มีเครื่องดื่มเกลือแร่สปอนเซอร์กับเบอร์เกอร์แมคฯค่ะ เน้นทานง่าย อิ่มไว สะดวก แต่เวลาที่คุณกินอยู่ต้องรีบนะคะ เพราะเขาอาจจะสั่งแปรแพลตตอนไหนก็ได้ ฮา


    ต่อไปจะเป็นคหสต.ของเราที่มีต่องานบอลแต่ละปีนะคะ โดยปีที่71เราขึ้นสแตนฝั่งจุฬา ปีที่72เป็นสต๊าฟ และปีที่73เราขึ้นฝั่งมธ.ค่ะ

    • คุณจะขึ้นฝั่งไหนก็ได้...แต่ให้เลือกฝั่งร่มดีกว่าค่ะ (แต่ทุกปีมีหมวกแก็ปแจกในถุง) ในฝั่งร่มจะมีดีขึ้นมาอีกอย่างคือ เราเห็นขบวนของแต่ละม.ได้ชัดกว่าค่ะ เพราะขบวนจะเดินผ่านข้างหน้าเลย แต่ฝั่งไม่ร่ม ขบวนจะเดินเข้าสู่สนามจากริมฝั่งหนึ่ง แล้วก็เดินออกไปอีกฝั่งหนึ่งของสแตน ทำให้ไม่ค่อยเห็นอะไรเลยค่ะ
    • ส่วนตัว...ส่วนตัวเลยจริงๆ เราชื่นชอบการแปรอักษรของฝั่งมธ.มากค่ะ โดยเฉพาะช่วงล้อการเมือง และขอฟันธงว่าที่ๆเห็นชัดที่สุดคือบนสแตนฝั่งจุฬาค่ะ
    • ฝั่งจุฬาจะมีขาตั้งแพลตเพื่อให้แต่ละช่องมันตรงกัน ไอ้ขาตั้งนี่มันก็มีข้อดีคือไม่ต้องคอยถือแพลตเวลาแปรค่ะ ทำให้แพลตนิ่ง จะพลิกสมุดสีด้านหลังไปด้วยก็ไม่ค่อยสั่น แต่มธ.ต้องจับแพลตตลอดเวลาค่ะ เวลาโชว์มันจะซ้อนกับเพื่อนบ้าง แต่ละแถวไม่ตรงกันบ้าง(แต่ก็ไม่ได้เป็นตัวการที่ทำให้ภาพไม่สวยนะ) แต่ขาตั้งแพลตก็มีข้อเสียค่ะ เพราะมันจะเป็นเหล็กดัดที่เราต้องนั่งทับมันไว้ให้อยู่กับที่ มันจะเมื่อยก้นมากๆ เพราะเรานั่งคร่อมมันทั้งวัน บางคนคือจบงานเดินแปลกไปเลยก็มี5555555
    • ด้วยความที่มธ.มีความคาดหวังเรื่องการแปรอักษรสูงมาก เวลาแปรจะกดดันกว่าฝั่งจุฬาค่ะ (เทียบคนละปีอาจจะยืนยันอะไรไม่ได้) จะโดนให้เปลี่ยนแพลต1:20บ่อยกว่ามาก เพราะมีทั้งเปิดเพลงสรรเสริญ เพลงมหาลัย เชียร์นักกีฬา ปิดท้ายตอนล้อการเมือง ก็สนุกดี แต่มันกระชั้นชิดเกินไป ส่วนของจุฬาจะโดนเปลี่ยน1:25น้อยครั้งกว่า เวลาเว้นในการเปลี่ยนแพลตก็มีมากกว่า พลิกชิลๆไปเรื่อยๆ แต่ถ้าเซียนแล้วพลิกยังไงก็ทันค่ะ
    • ปีที่อยู่ฝั่งร้อนจะมีคนเป็นลมเยอะมากๆ คือมันร้อนจริงค่ะ ฝ่ายสต๊าฟก็จะทำงานหนักหน่อย ถ้าคุณอยู่กลางสแตนมันเข้าถึงตัวคุณยากมาก ต้องดูแลตัวเองดีๆนะคะ
    • ปีที่71 เราไปขึ้นสแตนแบบไม่ค่อยรู้อะไรสักเท่าไหร่ เพราะพึ่งเคยเข้าร่วมครั้งแรก พอช่วงพักจะมีมธ.แปรอักษรล้อการเมือง เราก็นั่งอยู่บนสแตนจุฬา ได้มองเห็นการแปรชุดนี้พอดีค่ะ

    วินาทีนั้นพอแปรจนถึงคำสุดท้ายแล้วตามด้วยโค้ด1:20 ที่เขียนว่า"แค่ได้คิดถึงก็เป็นสุขใจ" ทุกคนบนสแตนจุฬาแทบจะลุกขึ้นปรบมือกันทั้งสแตน คือมันสุดจริงๆ เราก็เลยกลายเป็นแฟนคลับของการแปรอักษรฝั่งมธ.มาตลอดนับตั้งแต่วันนั้น ต่างฝ่ายต่างก็เชียร์กันและกันค่ะ ไม่เห็นมีใครเขาทะเลาะกันเลย5555

    • จุฬาพยายามแสดงความคิดเห็นเรื่องการเมืองมากขึ้น พอมาปี73เราค่อนข้างประทับใจที่มีการพูดเรื่องนี้บนสแตนจุฬาบ้าง ส่วนของมธ.ก็ประทับใจเหมือนเดิม คนคิดคงไม่ได้นอนแน่ๆ สังเกตว่าใบโค้ดที่เขาทำมาเหมือนปริ้นมาใหม่ๆเลย ถ้าไม่มีสปิริตทำไม่ได้นะเนี่ย คารวะจริงๆ

    • ส่วนขบวนล้อการเมืองเราไม่มีความเห็นค่ะ เพราะมองไม่เห็น5555555555555555555555555
    • ขนมเครื่องดื่มที่แจกระหว่างขึ้นสแตน ฝั่งจุฬาจะมีให้เยอะกว่า แต่ด้วยความที่แจกเยอะก็เสี่ยงค่ะ เพราะถ้ากินน้ำเยอะๆคนก็จะแห่ไปเข้าห้องน้ำ เรื่องนี้ต้องบริหารดีๆ เราก็เข้าใจกันทั้งสองฝั่งนะ
    • เรื่องที่ล้อๆกันผ่านการแปรอักษร เราว่าเด็กทั้งสองมหาลัยไม่มีใครติดใจอะไรกันหรอกค่ะ บนสแตนมีอุทานว่า"แร๊งงงงงงง"กันบ้าง หัวเราะกันบ้าง พอจบวันก็เลิกคิด
    • มธ.แจกผ้าเชียร์ทุกคนที่ขึ้นสแตนค่ะ(คล้ายๆผ้าพันคอ) แต่จุฬาต้องไปเข้างานถนนสีชมพูก่อนถึงจะได้(มีจำกัด)
    • รวมๆแล้วเราสนุกกับการได้ขึ้นสแตน ได้เป็นส่วนหนึ่งของงานนี้นะคะ เพราะงานเดียวที่ทำได้ก็คงเป็นอันนี้แหละ555555555
    • พูดถึงเรื่องบอล เราไปขึ้นสแตนฝั่งจุฬาปี71 ธรรมศาสตร์ชนะ.... พอปี72ไปเป็นสต๊าฟ จุฬาเสมอธรรมศาสตร์... พอปี73 เราไปขึ้นสแตนฝั่งธรรมศาสตร์ จุฬาชนะ.......
               ...
    • เราว่าอีเจี๊ยบไม่ผิดหรอก .....เราเองนี่แหละT-T

    แปรอักษรจากฝั่งธรรมศาสตร์ งานฟุตบอลฯปีที่71 | ภาพจาก https://hilight.kapook.com/

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in