เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
กลับตาลปัตรrainbowflick17☂️
รักเดียวใจเดียวมันฝืนธรรมชาติ
  • ก่อนที่จะเข้าไปสู่เรื่องรักเดียวใจเดียว หรือหลายรักหลายใจ อยากจะชวนมาดูคำว่า รัก ที่อยู่ในคำเหล่านี้ก่อน เพื่อเป็นการพาไปสู่ประเด็นอื่น ๆ โดยไม่มีความรู้สึกว่า แต่ความรักมันเร้าอารมณ์ สวยงาม ตั้งคำถามได้ยาก มาเป็นอุปสรรค นอกจากความรู้สึกรัก (ที่ใช้ชีววิทยาอธิบายได้บางในบางขั้นตอน)แล้ว ภาพจำเกี่ยวกับรัก เกินร้อยละ 70 ถูกป้อนเข้าสมองเราโดยภาพยนตร์โรแมนติกคอมเมดี้


    Love is cultural ความรักเป็นวัฒนธรรม


    ความรักที่อยู่กับเราทุกวันนี้เป็น แนวคิด (concept) ที่สร้างขึ้นมาใหม่ อาจจะฟังดูไม่เข้าหู แต่ที่จริงนอกจากตัว ‘ความรู้สึกรัก’ แล้ว ก็ไม่ค่อยมีอะไรเกี่ยวกับการรัก หรือ วิธีรักแบบโรแมนติก ที่เรารู้เองโดยไม่ได้เรียนรู้จากสังคมเท่าไหร่  


    เพื่อให้เห็นภาพความใหม่ของแนวคิดการ ‘รัก’ มากขึ้น จะขอยกตัวอย่างสถาบันที่ดูเหมือนจะผูกอยู่กับความรักอย่างเหนียวแน่นอย่าง สถาบันการแต่งงาน  ขึ้นมาลองย้อนประวัติคร่าว ๆ ว่ามันเกี่ยวข้องกับความรักมากน้อยแค่ไหน


    ภาพจาก memegenerator.net 


    ก่อนหน้านี้เราน่าจะคุ้นเคยกับการคลุมถุงชน แต่ง ๆ ไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์บางอย่าง โดยเฉพาะเหตุผลทางเศรษฐกิจ 


    ยกตัวอย่าง ในสมัยที่ยังนิยมระบบครอบครัวใหญ่ แต่งงานหมายความว่าจะได้รวมเหล่าญาติ ๆ ของคู่แต่งงานเข้ามาเป็นหุ้นส่วนกิจการ การมีลูกยังเป็นเรื่องสำคัญอีกด้วย เพราะคนมากเท่ากับแรงงานที่มากขึ้น 

    ต่อมาในสมัยที่ครอบครัวเล็กลงแล้ว แต่ผู้หญิงยังเข้าไม่ถึงโอกาสทางการศึกษา ผู้ชายเป็นฝ่ายหาเลี้ยง  การแต่งงานของผู้หญิงจึงเป็นข้อยืนยันว่าเธอจะไม่อดตาย (ซึ่งมาพร้อมกับบทบาททางเพศที่เข้มข้นจนทิ้งร่องรอบติดอยู่บนหน้าสังคมมาจนถึงทุกวันนี้ ผู้หญิงอยู่ดูแลบ้าน ผู้ชายหิ้วกระเป๋าทำงานออกนอกบ้าน) 


    การแต่งงานในสมัยแรก ๆ เป็นการแต่งงานเพื่อตอบสนองความต้องการทางเศรษฐกิจและสังคม


    หลังจากหมดยุคที่คนคือแรงงานและผู้หญิงต้องอยู่บ้านแล้ว ความรัก ถึงได้เข้ามาเป็นเหตุผลในการร่วมหอลงโรงกับใครซักคน การแต่งงานเพิ่งจะมาเป็นเรื่องของความรักเมื่อไม่กี่ศตวรรษ 


    (เสริม) ในหลายวัฒนธรรมการแต่งงานคือการบอกว่า ภรรยาและลูก เป็นสมบัติของสามี ซึ่งไม่ค่อยโรแมนติกเท่าไหร่นะ 
    (เสริม2) และถึงแม้ว่าในช่วงที่มีการคลุมถุงชนจะไม่ได้แต่งงานเพราะรัก แต่ก็สามารถที่จะพัฒนาความรักแบบเพื่อนร่วมทาง (companion love) แตกต่างกับความรักที่พุ่งพล่านหรืออิ๊อ๊ะที่จะเป็นความรักแบบหลงไหล (passionate love) มากกว่า ซึ่งไม่ได้แปลว่าทุกคู่จะพัฒนาได้ แต่ก็มี


    ความรักคือการเสียสละ ความรักคือการให้ ชอบแล้วให้ของขวัญ การจีบ การคบกันเป็นแฟน  และจุดสูงสุดของความรัก--อย่างน้อยก็ในภาพยนตร์หรือละคร-- มักเป็นงานแต่งงาน เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่เราจำติดมาจากสังคมรอบข้าง 


    หนึ่งในการเรียนรู้เกี่ยวกับความรักที่ส่งต่อกันมาไม่ต่างจากการแต่งงาน คือการบอกว่า ความรักเป็นเรื่องของคนสองคน


    การเอาเลขสองไปแปะติดไว้กับความรัก ทำให้ความสัมพันธ์ในจำนวนเต็มอื่น ๆ ถูกมองเป็นเรื่องไม่ค่อยปกติ โดยไม่ได้เอะใจว่ามันอาจเป็นเรื่องของค่านิยม และ 'นิยม' ไม่ได้เท่ากับ 'ดีที่สุด' เสมอไป


    Monogamy is not the equivalent of love

    รักเดียวไม่เท่ากับรัก รักไม่เท่ากับรักเดียว (เสมอไป)


    ในสารคดี Explained มีคำอธิบายสั้นๆที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของเรื่องนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า


    Love is a feeling, Monogamy is a rule

    (รักเป็นความรู้สึก รักเดียวใจเดียวเป็นกฎ)


    *อันที่จริง monogamy หมายถึงการมีคู่สามีภรรยาเดียว ในขณะที่รักเดียวใจเดียวต้องใช้อีกคำคือ Monoamory แต่เนื่องจากความต่างมีแค่ การแต่งงาน และในภาษาไทยการพูดว่า บ้านนี้รักเดียวใจเดียว ก็เท่ากับ มีสามีภรรยาเดียว จึงขอใช้แทนกันไปเลยค่ะ  
    *และเนื่องจากโดยทั่ว ๆ ไป แล้วการมีเซ็กส์กับคนอื่นคือการ นอกใจ และมักทำให้คนรักในขณะนั้นรู้สึกว่าเกิดจากความรักที่ลดน้อยถอยลง จึงขอพูดถึงความรักโดยลากเซ็กส์ติดไปด้วยเลยนะคะ 

    *กล่าวโดยสรุป ถ้าเราตัดส่วนเสริมความสวยงามของความรักออกไป เหมือนในสัตว์ เราก็มีความสัมพันธ์เพื่อสืบต่อเผ่าพันธ์ (และที่จริงมนุษย์ก็เป็นสัตว์) แต่เราบัญญัติคำว่ารักขึ้นมาได้เพราะเรามีวัฒนธรรมที่ซับซ้อน ความรักนี้มันจึงเป็นสิ่งที่วัฒนธรรมมีส่วนสร้างเสริมเติมแต่งขึ้นมา เรื่องความรักนี้มีคนเคยตั้งคำถามเช่นกันว่า รักคืออะไรแน่ ถ้าพูดกันแบบยึดแค่วิทยาศาสตร์ บางคนมองรักเป็นเสื้อผ้าอาภรณ์ของกามรมณ์ด้วยซ้ำ อีกข้อที่น่าสนใจคือตอนเราอยู่ในถ้ำ หรือเป็นมนุษย์หิน เรามองความรักแบบที่เรามองทุกวันนี้ไหม มันจึงมีเหตุผบให้เชื่อได้ว่าความรักน่าจะเป็นวัฒนธรรม 

    *ขอให้เพื่อน ๆ อ่านโดยมองว่าใช้ได้กับทุกเพศนะ ไม่ใช่แค่ผู้ชายมีเมียหลายคนเท่านั้น
  • Polygamy is not new หลายคู่นอนไม่ใช่คลื่นลูกใหม่


    ในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเพียง 9 %ของสายพันธุ์เท่านั้นที่มีคู่สมรสคนเดียว ส่วนมนุษย์มีความหลากหลายกว่าสายพันธ์อื่น ๆ ก่อนที่ลัทธิจักรวรรดินิยมตะวันตกจะเข้าไปมีอิทธิพล 83% ของสังคมพื้นเมืองเป็นแบบสามีคนเดียวภรรยาหลายคน (polygynous) 16 %เป็นแบบสามีหนึ่งคนภรรยาหนึ่งคน  และ1 %เป็นแบบภรรยาคนเดียวสามีหลายคน (polyandrous)  (VerBruggen, 2016)

    ซึ่งแปลว่าเขามีความสัมพันธ์แบบหลาย ๆ คน กันมาเป็นเวลาเนิ่นนานแล้ว* แนวความคิดว่าจะรักคนนี้คนเดียว โดยความรักนั้นผูกติดอยู่กับการมีเซ็กส์กับคนนี้คนเดียวด้วย ตางหาก ที่เป็นคลื่นลูกใหม่ตัวจริง
    ไม่เพียงเท่านั้น วิทยาศาสตร์เองยังอธิบายว่าเหตุผลที่ความสัมพันธ์ลักษณะนี้แพร่หลายมาตั้งแต่นานนม ก็เพราะมันเป็นธรรมชาติของสัตว์อยู่แล้ว และคนก็ยังเป็นสัตว์อยู่วันยังค่ำ 

    ถ้าหากลองทบทวนแล้ว ดูเหมือนว่าในบรรดาความรักซับซ้อนแสนโรแมนติกทั้งหลาย เซ็กส์ตางหากที่เป็นสัญชาติญาณ จริง พิสูจน์และจับต้องได้ เพราะเซ็กส์จะนำมาซึ่ง ลูก เครื่องยืนยันว่าสายพันธ์จะยังอยู่รอดต่อไป แล้วจะมีลูกน้อยไปทำไม ถ้ามีลูกเยอะ ๆ ได้ และยิ่งมีคู่นอนมากก็จะยิ่งมีลูกได้มาก  


    เหล่านี้เป็นธรรมชาติ ถ้ามองโดยภาพรวมแล้ว รักเดียวใจเดียว จึงไม่ได้ธรรมชาติเท่าไหร่นัก 

    *ความรักและเซ็กส์มีส่วนที่เกี่ยวพันกันอยู่ เพราะกิจกรรมทางเพศจะปล่อยฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกถึงความผูกพันขึ้นมา (แน่นอนว่าไม่ได้แปลว่ามีเซ็กส์กับใครแล้วจะรักคนนั้นหัวปักหัวปำ) และก็เป็นธรรมดาที่อยากจะหาความหลากหลายในเซ็กส์ด้วย
    มีบางคนเสนอว่า การอยากมีเซ็กส์กับคนอื่น ไม่ได้แปลว่าหยุดรักคนที่กำลังรักอยู่เสมอไป หลายคนมีความรู้สึกว่าถ้ารักกัน จะไม่มีทางรู้สึกแบบนั้นกับคนอื่น แต่โดยธรรมชาติแล้วมันไม่ใช่ ก็เพราะว่าความรักมันไม่ได้มีแต่เรื่องเซ็กส์นะสิ  แต่ในขณะเดียวกันการไปมีความสัมพันธ์กับคนอื่นโดยที่คนรักของตัวเองไม่ได้รับรู้และยินยอมด้วยก็เป็นการไม่เคารพคนในความสัมพันธ์
  • แล้วทำไมใจฉันมีแต่เธอ


    มีทฤษฎีหลายอย่างพยายามอธิบายว่าทำไมมนุษย์งถึงวิวัฒมาถึงจุดของสามีเดียวภรรยาเดียวได้ หนึ่งในคำอธิบายง่าย ๆ คือ มนุษย์เป็นสัตว์ที่เกิดมาแล้วไม่สามารถอยู่รอดด้วยตัวเองได้ จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ให้กำเนิด และถ้าหากมีเซ็กส์รอบวงกันไปเรื่อย ๆ ก็จะไม่รู้ว่าเด็กคนนี้มีพ่อเป็นใคร และจะไปบอกให้ผู้ชายที่เป็นพ่อมาช่วยดูแลลูกได้ยังไง


    เพราะฉะนั้นจึงต้องผูกสัมพันธ์กันไว้ 


    แต่ในสารคดี explained ได้เล่าถึงชนพื้นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์แบบหลายสามีหลายภรรยา เมื่อชาวยุโรปมองก็ตั้งคำถามว่า แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าเด็กคนนี้เป็นลูกใคร คำตอบคือทุกคนในเผ่าเป็นพ่อแม่ให้กับเด็กทุกคน


    You French people love only your own children; but we all love all the children of our tribe

    (แปลถอดความ) พวกคุณรักแต่ลูกตัวเอง แต่พวกเรารักเด็กทุกคนในเผ่า


    จึงเห็นได้ว่าเพียงแค่ต่างวัฒนธรรม กรอบนิยมก็ต่างกันแล้ว ยิ่งเป็นการเสริมว่าจะรักกี่คนนั้น วัฒนธรรมก็มีส่วนร่วมด้วย 


  • Why so jealous, then?
    ถ้ารักเธอคนเดียวมันฝืนธรรมชาติ แล้วอาการ หึงหวง มาจากไหน




    อาการหึงหวงไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในคู่รักที่มีคนในความสัมพันธ์แค่สองคน แต่เกิดขึ้นได้ทุกที่ และมันยังเป็นแค่อารมณ์กลุ่มย่อยของความอิจฉาอีกด้วย นั่นแปลว่า ไม่ว่าจะอยู่ในความสัมพันธ์แบบไหน อาจไม่ใช่ความสัมพันธ์โรแมนติกด้วยซ้ำ อาจเป็นความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือใด ๆ ก็แล้วแต่ ความอิจฉานี้เป็นธรรมชาติ เนื่องจากมันมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความรู้สึกไม่มั่นคง (insecurity) เช่น รู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานมีอำนาจมากกว่า
    กรณีที่เราหึง เพราะเราเริ่มรู้สึกว่าคนรักที่อยู่กับเรานั้นอาจจะกำลังไปอยู่กับคนอื่นที่เราไม่ได้รับรู้อะไรด้วย ซึ่งทำให้เรารู้สึกไม่มั่นคงในสถานะนั่นเอง 
  • Okay, it is not so natural, and so what? ฝืนธรรมชาติไม่ได้แปลว่าไม่ดี



    ไม่ได้แปลว่าไม่ดี หรือเป็นไปไม่ได้ หรือไม่น่าอภิรมณ์

    เราอาจคิดว่าอะไรที่เป็นธรรมมชาติย่อมดี แต่มันไม่จำเป็นเสมอไป และเราวิวัฒตัวเองอยู่ตลอดเวลา

    ในสารคดี explained ได้กล่าวสรุปข้อนี้ไว้ว่าสิ่งที่มนุษย์ไม่เหมือนสัตว์อื่น คือเรามีการปรับตัว 


    สุดท้ายแล้วความรักจะเป็นเรื่องของคนสองคน หรือสามสี่ห้าคน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันเกิดขึ้นโดยที่ทุกคนในความสัมพันธ์ได้คุยกัน รับรู้และยิมยอมอย่างเต็มใจ ลงท้ายที่พอใจกันทุกฝ่าย( โดยต้องเข้าใจนิยามความเต็มใจนี้ให้ดี ถ้าในความสัมพันธ์นั้นทั้งสองฝ่ายมีอำนาจไม่เท่ากัน จะเรียกว่าเต็มใจย่อมไม่ได้ รวมไปถึงใครที่บอกว่ายอมเพราะรัก แต่น้ำตาตกใน นั่นก็ไม่เรียกเต็มใจนะ การยินยอมเพื่อให้อีกคนพอใจ ไม่ถือว่าเต็มใจนะคะ)


    เราไม่ได้กำลังจะบอกว่าความสัมพันธ์แบบไหนดีกว่าแบบไหน การที่คุณคุยกับคนที่คุณห่วงใยและใส่ใจมากกว่าที่สำคัญที่สุดในความสัมพันธ์ มีอะไรที่ต้องการร่วมกัน และอะไรที่รับไม่ได้




    (It´s so obvious but in case you miss it, Cheating is NOT polygamy/polyamory. )

    การนอกใจไม่ใช่ Polyamor นะ


    ปัญหามันไม่ใช่การรักใครทีละหลายคน แต่คือการขี้โกงที่ไม่ยอมบอกไม่ยอมคุยว่าอีกคนในความสัมพันธ์เขายินดีกับคุณด้วยหรือเปล่า เพราะฉะนั้นจะเอาธรรมชาติมาเป็นข้ออ้างไม่ได้ 
  • ทำไมเราถึงรักใครแบบเดียวกัน พร้อมกันหลาย ๆ คนไม่ได้ ถ้าตัดเรื่องที่ฟังต่อ ๆ กันมาอีกทีว่าความรักจะต้องรักกันอยู่สองคนเท่านั้นออกไปก็ไม่รู้จะตอบอะไรแล้ว ไม่มีเหตุผลอะไรให้เชื่อว่าจำนวนเป็นข้อจำกัดของความรัก แต่แน่นอนว่าสุดท้ายแล้วมันก็เป็นเรื่องของคนในความสัมพันธ์ที่จะตกลงกัน และเรื่องส่วนบุคคลที่เลือกจะรักในแบบของตัวเอง


    หมายเหตุและหัวข้อเพิ่มเติม (ได้โปรดอ่านหนูหน่อย)

    (สำคัญมากก) ประเด็นข้างต้นพูดถึง polyamory ในบริบทที่ค่อนข้างเป็นสมัยใหม่ แต่ไม่ได้พูดถึง Polygamy ในวัฒนธรรมที่อนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาหลายคนได้ชัดเจนแต่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงมีเลย ซึ่งมีประเด็นความซับซ้อนเรื่องความเท่าเทียมทางเพศอยู่ ส่วนตัวมองว่าสิ่งแวดล้อมเป็นตัวหล่อหลอมและบังคับให้ผู้หญิงยอมเพราะเชื่อว่าเป็นบทบาทของตนเองมากกว่าจะเป็นเพราะผู้หญิงยอมจริง ๆ เป็นส่วนใหญ่ โดยต้องคิดเรื่องความไม่เท่ากันของอำนาจด้วย เรามีความเห็นว่าถ้าอำนาจมันไม่เท่ากันตั้งแต่แรก (ผู้หญิงที่แต่งงานกับผู้ชายมีสถานะแบบไหนในวัฒนธรรมนั้น ออกไปทำงานเลี้ยงตัวเองได้ไหม หรือชีวิตขึ้นอยู่กับผู้ชายไหม ต่าง ๆ) ความยินยอมที่ผู้หญิงให้ก็ไม่สมบูรณ์ เราค่อนข้างต่อต้าน แต่ก็คิดว่ามันซับซ้อนและบางวัฒนธรรมผูกกับศาสนา ยากเกินกว่าที่เราจะพูดเพราะเรายังศึกษาไม่พอ จึงขอไม่ลงรายละเอียด แต่บอกไว้ตรงนี้เพราะถือว่าเป็นความรับผิดชอบของเราที่ต้องชี้ให้เห็นว่ามีเรื่องนี้อยู่

    - เพิ่มเติม เพื่อน ๆ สามารถหาอ่านบทความ ที่ไม่สนับสนุน Polyamory ได้ด้วย เพื่อจะได้เห็นความหลากหลายทางความคิดเห็นในเรื่องนี้ โดยบทความนี้พูดเรื่องว่าทำไมการสนับสนุน หรือยอมรับการรักแบบหลายใจนี้มันไม่ได้เป็นการแสดงออกถึงความก้าวหน้าแต่อย่างใด :  https://medium.com/@XandraJ/your-relationship-style-is-no-more-progressive-than-anyone-elses-part-1-cf1760736ee 



    บทความที่เพื่อนๆ อาจสนใจเหมือนกัน :  ส้นสูงเป็นของผู้ชาย 



    References
    Anwar, M. (2015, November 2). Are Humans Meant To Be Monogamous? Retrieved from https://www.bustle.com/articles/121000-are-humans-meant-to-be-monogamous-heres-what-5-researchers-have-to-say

    Jeffries, S. (2017, November 23). The one and only? Stuart Jeffries examines the changing parameters within modern relationships. Retrieved from https://www.theguardian.com/lifeandstyle/2012/nov/10/sex-is-monogamy-dead

    Laslocky, M. (2013, June 21). Opinion: Monogamy is unnatural. Retrieved from https://edition.cnn.com/2013/06/21/opinion/laslocky-monogamy-marriage/index.html

    Lindenburg, A. (2016, February 26). Why Monogamy Is Unnatural, According To Science. Retrieved from https://www.rebelcircus.com/blog/monogamy-unnatural-according-science/

    Smith, E. E. (2016, May 20). Monogamy Is Not "Natural" For Human Beings. Retrieved from https://www.psychologytoday.com/us/blog/not-born-yesterday/201605/monogamy-is-not-natural-human-beings

    Verbruggen, R. (2016, March 29). Is Monogamy Unnatural? Retrieved from https://ifstudies.org/blog/is-monogamy-unnatural

    ถ้าหากพบข้อมูลส่วนไหนที่ประหลาด ดูสื่อความผิด เพื่อน ๆ สามารถทักมาตีแขนเราได้ที่
    dm twt : @rainbowflick17 
    ส่วนถ้าอยากติดตามเฉพาะงานที่เป็น non-fiction สามารถติดตามได้ที่ @whatisgood4 
    ขอบคุณค่า

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in