เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เปลี่ยน ป่าก์ By อนุสรณ์ ติปยานนท์
  • รีวิวเว้ย (1333) ตอนเด็ก ๆ เราเคยได้ยินคำว่า "แม่ครัวหัวป่า" อยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่นั่งดูรายการทำอาหารหรือรายการที่พาไปดูร้านอาหารต่าง ๆ คำว่า "หัวป่า" มักปรากฏขึ้นในการรับรู้บ่อยครั้ง กระทั่งเมื่อเติบโตขึ้นเราเริ่มเข้าใจที่มาที่ไปของคำว่า "หัวป่า" อันที่จริงแล้วมาจาก "ป่าก์" ของหนังสือ "แม่ครัวหัวป่าก์" ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ซึ่งมีการสันนิฐานข้อมูลและที่มาของคำดังกล่าวเอาไว้ว่า "...เพราะเมื่อท่านผู้หญิงเปลี่ยนพิมพ์หนังสือตำราอาหาร เมื่อ พ.ศ. 2451-2452 นั้น ท่านตั้งชื่อหนังสือว่า แม่ครัวหัวป่าก์ และก่อนหน้านั้นในหนังสือชื่อ ประติทินบัตรแลจดหมายเหตุ ซึ่งพิมพ์จำหน่ายเมื่อ พ.ศ. 2432 คอลัมน์ตำราอาหารของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ก็ใช้ชื่อว่า "ปากะวิชา" คำว่า "ปากะวิชา" ท่านแถลงว่ามาจาก ปาก" (https://www.silpa-mag.com/culture/article_6578) ที่ได้กล่าว
    หนังสือ : เปลี่ยน ป่าก์
    โดย : อนุสรณ์ ติปยานนท์
    จำนวน : 66 หน้า
    .
    "เปลี่ยน ป่าก์" วรรณกรรมผลงานในโครงการ Siamese Futuristic Cookbook [Thai Food Cookbook Project of the Future] โดย อนุสรณ์ ติปยานนท์ ที่เป็นส่วนหนึ่งของ "นิทรรศการทุนสร้างสรรค์ศิลปกรรม ศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ 21 นำเสนอผลงานศิลปินทั้ง 8 ท่านที่ได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้ได้รับทุนสร้างสรรค์ และดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 1 ปี จากนั้นจึงนำผลงานมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการ โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกล้วนเป็นผลงานศิลปกรรมที่แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของศิลปะร่วมสมัยไทย ทั้งยังแสดงออกถึงความสำคัญของกระบวนการสร้างสรรค์ ... โครงการ Siamese Futuristic Cookbook [Thai Food Cookbook Project of the Future] โดย อนุสรณ์ ติปยานนท์"
    .
    โดยวิธีการในการเล่าเรื่องของ "เปลี่ยน ป่าก์" คือการเล่าเรื่องในลักษณะของวรรณกรรมที่สลับภาพไปมาระหว่างตัวตนของท่านผู้หญิงเปลี่ยนและของตัวผู้เขียนในลักษณะของการกล่าวถึงการพบเจอและจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนตำราอาหารไทยของท่านผู้หญิงเปลี่ยนในเป็นดังเช่นที่ปรากฏอยู่ใน "แม่ครัวหัวป่าก์" ตำราอาหารเล่มสำคัญของไทยที่มีวิธีการเขียนและบอกเล่าในลักษณะของตำราอาหารจากตะวันตก
    .
    โดยเนื้อหาของ "เปลี่ยน ป่าก์" แบ่งออกเป็น 3 ปริจเฉท แต่ในแต่ละปริจเฉทนั้นจะเล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์ของตัวบุคคลกับ "เปลี่ยน ป่าก์" ในด้านมุมที่แตกต่างกันออกไป ทั้งจากด้านมุมของท่านผู้หญิงเปลี่ยนในช่วงเวลาก่อนและนะหว่างการเขียนตำราแม่ครัวหัวป่าก์ และของตัวผู้เล่าที่มีโอกาสได้พบพานกับหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์อยู่บ่อยครั้งในช่วงเวลาที่แตกต่างกันออกไป
    .
    ในมุมมองของเรา "เปลี่ยน ป่าก์" คือความพยายามในการทดลองเปลี่ยนการเล่าเรื่องของเปลี่ยน ที่เปลี่ยนจากความรับรู้ในฐานะของตำราอาหารและในฐานะของบทบาทของผู้แต่ตำรา มาสู่ความเป็นไปได้จากมุมมองและการสันนิฐานตัวตน เหตุผลและช่วงเวลาของการสร้างผลงานที่เป็นตำนานด้านอาหารและการครัวชิ้นสำคัญในสังคมไทยของ "เปลี่ยน ป่าก์

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in