เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
et ceteraquarlet
How to ดู Interstellar แบบไม่งง / ฟิสิกส์ที่ควรรู้ก่อนดูหนังเรื่องนี้
  • ใครที่ดูหนังบ่อย ๆ อาจจะเคยได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้มาบ้าง หนังเรื่องนี้กำกับโดย Christopher Nolan คนดังของเรา ซึ่งหนังพี่แกขึ้นชื่อเรื่องพล็อตล้ำ ๆ อยู่แล้ว แล้วนี่ดันเป็นหนังแนว Sci-Fi ที่มีฟิสิกส์ยุบยับเต็มจอ ซึ่งอาจจะทำให้คนที่ไม่ได้รู้ฟิสิกส์ในหนังดูแล้วแบบ 'อะไรวะ?' 'ทำไม ๆ ๆ' จากที่ผู้เขียนเคยสังเกตเวลาคนพวกนี้จะชมตัวหนังก็จะพูดแนวแบบ 'อืม หนังดีนะแต่กูดูไม่รู้เรื่อง' 5555

    'Interstellar ที่ดูกี่ทีก็งงปนเข้าใจ ดูอีกก็ยังงงวนต่อไป'
    'งงเว้ย งงมากๆแต่ตอนจบร้องไห้'
    'เป็นเรื่องที่ดูแล้วหายใจไม่ออก ไม่สามารอธิบายอะไรได้ เพราะกูก็งง'
    'เพิ่งดู interstellar จบ รู้สึกงงนิดหน่อยแต่ไม่เข้าใจมากๆ'

    นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราเสิร์ช Interstellar แล้วตามด้วยคำว่า งง ในทวิตเตอร์
    ดังนั้นเราเลยคิดว่าอยากจะเขียนอธิบายกฎฟิสิกส์ที่ดูเข้าถึงยากในเรื่องนี้ให้เข้าใจง่าย ๆ เผื่อมีใครที่อยากดูแต่กลัวงงหรือดูจบแล้วงงผ่านมาเจอบทความนี้แล้วจะได้หายงง จริง ๆ ในพันทิปก็มีพวกกระทู้แนวอธิบายทฤษฎีอยู่เหมือนกัน แต่เราคิดว่ามันวิชาการไปหน่อย เลยจะมาเขียนบทความนี้ให้เหมือนเพื่อนติวฟิสิกส์ให้เพื่อนฟังแล้วกันค่ะ

    ตอนแรกก็คิด ๆ อยู่ว่าจะเขียนบทความนี้ดีมั้ย เพราะเราก็เป็นแค่เด็กม.6 สายวิทย์คนนึงที่ไม่เก่งวิทย์เลย โดยเฉพาะฟิสิกส์ (?!) (เกลียดกลศาสตร์ที่สุดในโลก) ย้อนแย้งเนอะ แต่เราชอบดาราศาสตร์มากกก คือเป็นพวกสนใจแต่เรื่องที่ชอบ เรื่องที่ไม่ชอบก็ไม่สน (แย่จริง ๆ อีนี่) แอบกลัววิชาการในบทความนี้จะผิดเหมือนกัน แต่มีฟลว.ในทวิตคนนึงบอกว่าอยากอ่านเลยตัดสินใจเขียน เพราะฉะนั้นหากข้อมูลผิดหรือใช้คำเพื่อไม่ถูกก็แย้งได้นะคะ :D


    จูนสมองแล้วลุยกันโล้ด!


    1 / รูหนอน (Wormhole)


    ทุกคนคงรู้จักรูหนอนกันอยู่แล้ว ง่าย ๆ เลย มันคือทางลัดแห่งอวกาศ โดยรูหนอนในเรื่องจะอยู่แถว ๆ ดาวเสาร์ แล้วปากทางออกอยู่แถวหลุมดำที่จะไป จะไม่อธิบายไรมาก เพราะตัวหนังมีซีนที่อธิบายอยู่แล้ว (อาจจะเป็นสิ่งเดียวที่เราไม่ชอบของตัวหนังเลย อะไรคือนาซ่าอธิบายว่ารูหนอนคือไรกับนาซ่าด้วยกันเอง? คือได้มาเป็นนักบินอวกาศมันควรรู้อยู่แล้วอ่ะ)



    2 / หลุมดำ (Black hole)


    คุณพี่คนดังแห่งเอกภพ หลุมดำ นั่นเอง โดยในหนังหลุมดำนี้มีชื่อว่า การ์แกนทัว (Gargantua) เป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด หลาย ๆ คน อาจจะงงว่า เอ๊ะ? ทำไมหน้าตามันเหมือนดาวเสาร์เลยวะ 555 แต่จริง ๆ หลุมดำในเรื่องนี้เป็นการจำลองหลุมดำที่สมจริงที่สุดในตอนนี้แล้ว โดยทำให้หลุมดำที่เราเห็นมีผลกระทบจากเลนส์ความโน้มถ่วงด้วย ซึ่งจานพอกพูนมวล (ที่อยู่รอบ ๆ หลุมดำ) เกิดความโค้งตามความโน้มถ่วงที่สูงของบริเวณนั้น (จริง ๆ อวกาศรอบ ๆ ก็โค้งด้วย แต่ในเรื่องจะมองไม่เห็นเพราะจานมันสว่างมากจนบังแสงดาวฤกษ์ เนบิวลาหมด)

    เผื่อนึกภาพไม่ออกว่าทำไมถึงเป็นงั้น


    3 / การยืดหดของเวลา (Time Dilation)

    ในหนังตัวพระเอก (คูเปอร์) ต้องเดินทางไปดาวที่ไกลมาก ๆ และดาวนั้นอยู่ใกล้หลุมดำ เพราะโลกกำลังมีปัญหานู่นนี่นั่นอยู่ต่อไปไม่ได้แล้ว มนุษย์ต้องหาดาวใหม่อยู่ใหม่โว้ย ส่วนลูกของพระเอก (เมิร์ฟ) ต้องอยู่รอที่โลก เลยกลายเป็นว่าถ้าคูเปอร์ไปแล้วกลับมาโลก เมิร์ฟจะแก่กว่าคูเปอร์?!


    มันเป็นผลจาก Time Dilation ที่เป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ เห็นคำว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพอย่าเพิ่งยี้กัน มันสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ อยู่ ดังนี้

    ต้องเข้าใจว่า เมื่อวัตถุมีมวลจะมีแรงโน้มถ่วง ยิ่งมีมวลมากแรงโน้มถ่วงก็จะยิ่งมาก เช่น หลุมดำมีมวลมากกว่าโลก แรงโน้มถ่วงก็เลยมากกว่า โดยแรงโน้มถ่วงจะส่งผลให้เกิดความบิดโค้งของ Space-Time (อวกาศกับเวลาเรียกรวมกัน) คือ ถ้าเราอยู่ใกล้วัตถุที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมากเท่าไหร่เวลาจะไหลช้ากว่าบริเวณที่แรงโน้มถ่วงต่ำกว่านั่นเอง

    สรุป โลกมีมวลน้อยกว่าหลุมดำ แรงโน้มถ่วงของโลกจึงน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงของหลุมดำ แล้วคูเปอร์ไปดาวที่อยู่ใกล้ ๆ หลุมดำ เพราะงั้นเวลามันโดนบิดแรงมาก เวลาแถบหลุมดำก็จะช้ากว่าเวลาที่โลก งงมั้ย? รู้สึกอธิบายเร็ว



    4 / มิติ (Dimension)

    เราว่าเรื่องมิติเป็นเรื่องคนไม่ได้เข้าใจจริงและเอาไปพูดผิด ๆ กันเยอะมากกก บางทีเห็นแล้วเพลียใจ -_-; โดยเฉพาะแท็ก #นาซ่า ในทวิตเมื่อหลายเดือนก่อนที่เป็นบ้าเป็นบอเรื่องโลกคู่ขนาน พอเหมือนจะมีคนอธิบายว่าไม่ใช่สักหน่อย โลกคู่ขนานมันอยู่อีกมิตินึง เกือบจะยิ้มละแต่มันดันผิดนี่สิ 5555


    เอกภพของเรามี 3+1 มิติ (มิติที่ 4 คือเวลา) เราจะไม่อธิบายว่ามิติคืออะไรหรือบลา ๆ เพราะตัวหนังไม่ได้พูดถึง (แถมเข้าใจยากมาก..) แต่ตอนท้ายของเรื่องที่พระเอกจะได้หลุดไปอยู่ใน มิติที่ 5 แว้บนึง ที่สามารถเห็นอดีตปัจจุบันอนาคตได้ในเวลาเดียวกัน เคยมีคนเปรียบเทียบไว้ว่า เหมือนการที่เราอ่านหนังสือการ์ตูน เราจะเปิดไปตอนแรก ตอนที่ 5 หรือตอนจบเลยก็ได้ ก็เหมือนที่คน (หรืออะไรก็ตาม) ในมิตินี้สามารถเลือกดูเลือกเห็นช่วงเวลาไหนก็ได้



    จบแล้ว เย้ เราอธิบายแบบพื้น ๆ จริง ๆ ถ้าอธิบายเยอะกว่านี้ก็คง..เฮ้อ มันเรียบเรียงยากมากเลย เอาแค่อะไรคืออะไรก็พอเนอะ ถ้าอยากอ่านแบบละเอียดมากกกก แนะนำหนังสือ The Science of Interstellar เขียนโดย Kip Thorne นักฟิสิกส์ที่เป็นที่ปรึกษาด้านวิทย์ของหนัง ซึ่งเราก็กำลังอ่านอยู่แต่ยังอ่านไม่จบ (ดอง 555) หนังสือแน่นมากจริง สะใจสุด อ่านแล้วอาจอ้วกออกมาเป็นฟิสิกส์

    (อัพเดต ณ 1 ทุ่ม: ทวิตขึ้นแล้ว เย้ ๆ)
    ตามนี้เลย ราคาโหดอยู่ 499 แน่ะ


    ถ้าว่าง ๆ อาจจะลองเขียนเรื่องโลก/จักรวาลคู่ขนานดูค่ะ เพราะดูจะมีคนหลงประเด็นกันเยอะอยู่ น่าจะกลั้นใจเขียนพอสมควร มันฟิสิกส์ควอนตัมอ่ะ อธิบายยาก เฮ้อ 555 ฝากติดตามกันด้วยนะคะ 5555

    ใครสงสัยหรืออยากรู้อะไรเพิ่มเติม ถามมาในทวิตเราตามข้างบนได้เลยค่ะ :D



    ขอจบบทความเพียงเท่านี้

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Joiiz Dragon (@joiizdragon)
เรื่องนี้ดูไปหลายรอบมากเลยค่ะ พอดีชอบเรื่องจักรวาล อวกาศ ไรพวกนี้อยู่แล้ว >___< มันดูลึกลับน่าค้นหาดี รบกวนเขียนแนวนี้เยอะๆนะคะ ^^"
quarlet (@pmzpismn)
@joiizdragon ชอบเหมือนกันค่ะ ถ้าคิดอะไรออกก็จะมาเขียนเรื่อย ๆ ละกันค่ะ 555 ช่วงนี้หัวตัน
matius (@ttheturtle)
เขียนแบบนี้เยอะๆเลยค่ะ ชอบบบบ ^^
quarlet (@pmzpismn)
@ttheturtle เขียนแน่นอนค่ะ เขินจังมีคนชอบด้วย 555 ช่วงนี้กำลังชอบการเขียนของคุณ toothlesstam อยู่เลย แอบตามอ่านอยู่นะคะ 555
matius (@ttheturtle)
@pmzpismn โห เขินเลย555 ติดตามรออ่านของคุณ quarlet เหมือนกันนะคะ แหะๆ