เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
JJ'S THAI DIALECTS DIARYjjjaypc
[หน้า 2] ความรู้พื้นฐานและแนวคิด
  • มโนทัศน์เกี่ยวกับภาษา ภาษาย่อย ภาษาถิ่น ภาษามาตรฐาน

    ภาษา ภาษาย่อย ภาษาถิ่น คำว่า dialect มันกว้างและครอบคลุม 
    ภาษาย่อย คือ
    1. ภาษาใดก็ตามที่ต่างจากอีกภาษาเพราะใช้ในถิ่น ต่างกัน
    2. ภาษาใดก็ตามที่ต่างจากอีกภาษาด้วยปัจจัย ทางสังคมของผู้พูด
    ภาษาถิ่นทุกภาษาเป็นภาษาย่อย พอดีว่าในภาษาอังกฤษ ภาษาถิ่นคือ dialect แต่ในภาษาไทยใช้ว่า “ถิ่น” ภาษาที่แปรไปตามถิ่นผู้พูด แต่แท้จริงแล้วนั้นภาษาที่แปรไปตามปัจจัยสังคม อายุ เพศ อาชีพ ก็นับเป็นภาษาย่อยเหมือนกัน ดังนั้น เราอาจแบ่งได้ย่า ภาษาย่อยแบ่งเป็น 1. ภาษาถิ่น แต่ละถิ่นใช้ต่างกัน 2. ภาษาย่อยสังคม แปรตามปัจจัยสังคม 

    ภาษามาตรฐานก็นับเป็นภาษาถิ่นเหมือนกัน นั่นก็คือภาษาที่เป็นตัวแทนของภาษาถิ่นอื่น ได้รับการยอมรับในสังคมว่าถูกต้องและเป็นตัวแทนของภาษาและวิธภาษาทั้งหลายในสังคมนั้น ๆ คล้องกับภาษาราชการมีศักดิ์ศรี (prestige) มากกว่า

    ภาษามาตรฐานไม่จำเป็นต้องเป็นภาษาเมืองหลวงนะ ภาษาเขมรใช้ภาษาเขมรเหนือ เสียมเรียบ
    ภาษาเวียดนามใช้เวียดนามเหนือ ในขณะที่นครโฮจิมินห์อยู่เวียดนามใต้
    ซึ่งภาษามาตรฐานเหล่านี้ก็คือภาษาถิ่นที่ชาวต่างชาติได้เรียน อีกอย่างประเทศลาว กัมพูชา เวียดนมาไม่มีระบบเปลี่ยนภาษา ก็คือไม่ต้องเปลี่ยนภาษาถิ่นเป็นภาษากลางเวลาพูดคุยหรือทางการก็ตาม ไม่เหมือนประเทศไทยเลย

    และหลายคนอาจไม่รู้ว่า ในภาคกลางเองก็มีภาษาถิ่นย่อยไปอีก คนในภาคกลางไม่ได้พูดสำเนียงกรุงเทพฯ กันเป็นปกตินะ



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in