เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บริหารการเงินแบบใสใสตาโต B.E.
บทที่ 6 กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
  • กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) คืออะไร
    กองทุนที่รัฐจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันการจ่ายบำเหน็จบำนาญให้แก่ข้าราชการเมื่อออกจากราชการ

    ผู้เป็นสมาชิก
    1. ข้าราชการทุกประเภท ยกเว้นข้าราชการการเมือง
    2. ผู้เป็นข้าราชการอยู่ก่อนวันที่ 27 มีนาคม 2540 และสมัครเป็นสมาชิก ภายในวันที่ 26 มีนาคม 2540
    3. ผู้ที่เข้ารับราชการหรือโอนมาเป็นข้าราชการ ตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม 2540 เป็นต้นไป

    กรณีที่เกษียณอายุ และมีเวลาราชการ 25 ปีขึ้นไปจะได้อะไรบ้าง
    มีสิทธิเลือกรับบำเหน็จหรือบำนาญ 

    บำเหน็จ จะได้รับ 2 ส่วนคือ 
    1. บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณเวลาราชการ
    2. เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว

    บำนาญ จะได้รับ 2 ส่วนคือ
    1. บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายคูณเวลาราชการหารด้วย 50 (แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินเดือนเฉลี่ย)
    2. เงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย เงินประเดิม (ถ้ามี) และผลประโยชน์ของเงินดังกล่าว

    ผลตอบแทนการลงทุน
    ข้อมูลจาก https://www.gpf.or.th

    มีต่อหน้า 2





  • ทางเลือกในการบริหารเงินออม
    1. การออมเพิ่ม (จาก 3% สามารถออมเพิ่มได้ถึง 15%)
    เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกมีการวางแผนการออมระยะยาวที่จะช่วยให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตภายหลังเกษียณอายุราชการที่ดีและมั่นคง

    2. ปรับแผนการลงทุน มีทั้งหมด 5 แผน
         2.1 แผนหลัก - ความเสี่ยงระดับปานกลางและคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาวที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ
         2.2 แผนผสมหุ้นทวี - เหมาะสำหรับสมาชิกที่มีความรู้เรื่องการลงทุนและสามารถยอมรับความเสี่ยง
         2.3 แผนตราสารหนี้ - เหมาะสำหรับสมาชิกที่ต้องการความเสี่ยงต่ำ
         2.4 แผนตลาดเงิน - เหมาะสำหรับกับสมาชิกที่มุ่งเน้นการคุ้มครองเงินต้น
         2.5 แผนสมดุลตามอายุ - บริหารเงินทุนและปรับความเสี่ยงโดยอัตโนมัติจนสมาชิกเกษียณอายุ

    ข้อมูลจาก https://www.gpf.or.th

    สำหรับในบทความต่อไปจะกล่าวถึง ประโยชน์ของบริหารเงินออม 
    ด้วยการออมเพิ่ม และการปรับแผนการลงทุนจากแผนหลักเป็นแผนสมดุลตามอายุ


    หากท่านใดมีข้อสงสัย ต้องการสอบถามเกี่ยวกับ
    เรื่องการวางแผนการเงิน ทั้งเรื่อง การวางแผนภาษี การวางแผนเกษียณ ทุนการศึกษาบุตร 
    สามารถติดต่อได้ที่ Inbox

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in