เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
My First StoryEndless
รัก(ในหลายทัศ)นะ
  •      ฉันมีโอกาสได้อ่านปรัชญาความรัก หรือ Symposium เป็นผลงานการเขียนของเพลโตซึ่งทำให้ฉันได้เห็นมุมมองของความรักในหลายทัศนะของบุคคลต่างๆ ในหนังสือเล่มนี้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับความรักในหลายมุมมอง เช่น ความรักเป็นพลังสร้างสรรค์เป็นพลังแห่งความกล้าหาญ ความเป็นอมตะของความรัก ตำนานของความรัก เป็นต้น ฉันจึงอยากแชร์เนื้อหาบางส่วนในหนังสือเล่มนี้ให้ทุกคนได้อ่านในเมื่อความรักเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคนแต่ความรักที่ดีนั้นไม่ใช่ทุกคนที่จะพบเจอดังนั้นการที่เราได้รับมุมมองจากหลายๆมุมมองจะเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ทำให้เรามองเห็นความรักกระจ่างและชัดเจนขึ้น

         
         ประโยคคุ้นหูอย่าง  "Call me by your name and I'll call you by mine" จนมาเป็นชื่อหนังในปัจจุบันอย่าง Call me by your name เป็นหนังที่สื่อความรักของชายที่รักในเพศเดียวกัน ซึ่งความรักในรูปแบบนี้ได้มีมาตั้งแต่สมัยกรีกโบราณแล้ว  ในสุนทรพจน์ของอริสโตเฟนีสจากปรัชญาความรักได้นิยามความรักในรูปแบบนี้ด้วยเหมือนกัน โดยเริ่มต้นเล่านิทานปรัมปรากล่าวว่าในสมัยก่อนมนุษย์มี3เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง และสมเพศ มีรูปร่างกลมมีสี่มือสี่เท้าและพลังของมนุษย์เหล่านี้น่าสะพรึงกลัวมากจิตใจที่กล้าแข็งทำให้มนุษย์ทำสงครามกับเทพเจ้า เทพเจ้าจึงจัดการโดยการแบ่งมนุษย์เหล่านี้ออกเป็นสองส่วนเพื่อลดทอนกำลังของมนุษย์ลงหลังจากถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนแต่ละส่วนก็โหยหาอีกส่วนหนึ่งและเมื่อมาพบกันก็จะพุ่งเข้าสู่อ้อมกอดของอีกฝ่ายเพื่อที่ต้องการกลายเป็นส่วนเดียวกัน   

    จึงกล่าวได้ว่าความรักที่เราทุกคนปรารถนาเป็นสิ่งที่มีมาแต่แรกเริ่มแล้ว เราต่างมีความต้องการจะกลับสู่สภาพเดิมคือการรวมสองส่วนเป็นส่วนเดียวกัน "เรียกชื่อฉันด้วยชื่อของเธอแล้วฉันจะเรียกเธอด้วยชื่อของฉัน" เปรียบได้ว่าเราทั้งคู่ต่างเป็นคนคนเดียวกันนั่นเอง  ความรักสำหรับอริสโตเติลจึงมีเป้าหมายเพื่อให้มนุษย์กลับสู่สภาพเดิมหรือมีเอกภาพอีกครั้งหนึ่ง 

         ในสมัยก่อนความรักของชายชายเป็นเรื่องที่พบได้มากเนื่องจากสมัยนั้นเพศชายจะมีความรู้มากกว่าเพศหญิงทำให้เหล่าเพศชายใช้เวลาทั้งวันไปกับการถกความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดกับเพศชายด้วยกันใน Syposium ยังได้ยกย่องว่าความสัมพันธ์ของเพศชายด้วยกันเป็นสิ่งที่สูงส่งและมีปัญญาอีกด้วย

        
         ต้องรักเพศเดียวกันเท่านั้นหรือถึงถือว่าได้ครอบครองสิ่งที่สูงส่งและเป็นผู้มีปัญญา ?

    คำถามนี้ ในปรัชญาความรักก็ได้มีคำตอบให้เหมือนกัน ประโยชน์ของความรักนั้นมีมากมายแต่ที่เห็นเด่นชัดที่สุดคือ ความรักทำให้เราได้ครอบครองสิ่งที่เป็นอมตะ ในทีนี่สามารถแบ่งได้3ประเภทคือ การสืบพันธ์โดยการมีลูกทางร่างกายเพื่อคงสายพันธุ์เราให้มีต่ออย่างไม่สิ้นสุด  ต่อมาคือการทิ้งเกียรติยศและชื่อเสียงไว้ให้คนอื่นได้พูดถึง หมายถึงความรักในสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนกระทั่งยอมสละชีพเพื่อให้ชื่อของเราเป็นที่กล่าวขานและน่ายกย่องเช่น สืบ นาคะเสถียรเป็นนักอนุรักษ์และนักวิชาการด้านทรัพยากรธรรมเขาได้จบชีวิตลงเพื่อเรียกร้องให้สังคมเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติจนในปัจจุบันเขายังเป็นบุคคลสำคัญที่ถูกพูดถึงและควรค่าแก่การเชิดชู และสุดท้ายคือการมีลูกทางปัญญาหรือการทิ้งผลงานต่างๆให้ประจักรแก่โลกนี้แม้ว่าตัวคนจะไม่ได้อยู่ในโลกนี้แล้วก็ตาม เช่น งานศิลปะ บทกวี เป็นต้น แต่สำหรับเพลโตมองว่าความรักเหล่านี้ยังไม่ใช่ความรักที่สูงส่ง แต่ความรักที่สูงส่งแท้จริงแล้ว คือการเข้าถึงแบบของความงามหรือการเข้าถึงแก่นแท้ความงามให้ได้นั่นเอง หรือถ้าพูดทางธรรมคือเป็นผู้เข้าถึงสัจธรรมนั่นแหละค่ะ

         ถ้าให้เข้าใจง่ายก็คือความรักที่สูงส่งและน่ายกย่องจริงๆนั้นไม่เกี่ยวข้องกับเพศสภาพและไม่ขึ้นอยู่กับผู้อื่นแต่ขึ้นอยู่ที่ตัวเราเองต่างหากที่สามารถมองทุกสิ่งให้ทะลุรูปลักษณ์ภายนอกเข้าไปถึงแก่นของมัน เมื่อเรามองเห็นในจุดนี้จะทำให้เราไม่ยึดติดกับสิ่งที่ไม่คงทนถาวรที่อยู่ในรูปลักษณ์ภายนอกแต่กลับมองเข้าไปถึงความงามที่เป็นเอกภาพของสิ่งนั้นแทน  

         ปัญหาสังคมในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นเรื่องการหย่าร้างหรือการทำร้ายร่างกายกันของคู่รักเป็นตัวอย่างที่ดีที่ทำให้เราเห็นถึงผลร้ายจากการมีความรักที่ไม่ดี แม้ว่าแต่ละสุนทรพจน์จะมีความเห็นที่ต่างกันในบางมุม แต่ทุกสุนทรพจน์ที่ปรากฏในปรัชญาความรักมีจุดร่วมที่เหมือนกันอยู่ คือการมีความรักที่ดีเป็นเรื่องที่น่ายกย่องและความรักที่ดีคือสิ่งที่ควรค่าแก่การครอบครอง สิ่งที่ได้จากการอ่านสุนทรพจน์เหล่านี้แน่นอนที่สุดคือการที่ทำให้หันกลับมาถามตัวเองว่าทุกวันนี้เรามีมุมมองของความรักในรูปแบบไหนและจะดำเนินชีวิตเพื่อค้นพบความรักรูปแบบไหนแต่ก่อนที่หวังเจอความรักที่ดีสิ่งสำคัญคือต้องเป็นฝ่ายมอบความรักที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่นก่อนและมองความสัมพันธ์ของทุกสิ่งอย่างลึกซึ้งให้ถึงแก่นแท้ของมันเพื่อให้ตัวเราเองไม่หลงระเริงในภาพมายาของสิ่งต่างๆเมื่อนั้นเราจะกลายเป็นผู้ที่พบเจอความรักที่ดีในที่สุด

        
         อ้างอิงจาก หนังสือปรัชญาความรัก  พินิจ รัตนกุล


         
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in