เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
I READ...januarxx
เจ้าจงตื่นกลัว thou shall fear

  • หนังสือว่าด้วย การก่อการร้าย ความรุนแรง และการครอบงำ
    เขียนโดย กฤดิกร วงศ์สว่างพานิช (จบปริญญาโทด้าน terrorism and international relations @Aberystwyth University)
    พิมพ์โดย สำนักพิมพ์มติชน

    สวัสดีค่ะ สำหรับหนังสือเล่มนี้ เราอาจจบมาได้ปีนึงแล้วแต่เพิ่งจะมีเวลามารีวิวค่ะ ต้องขอเกริ่นก่อนว่าเรารู้จักหนังสือเล่มนี้จากในคลาสเรียนวิชาอาชญาวิทยาของมหาวิทยาลัย ตอนนั้นเราว่างก็เลยซื้อมาอ่านดูแล้วปรากฏว่าสนุก เข้มข้น และได้มุมมองที่หลากหลายต่อเรื่องการก่อการร้ายและความรุนแรงในโลก หนังสือเล่มนี้ค่อนข้างมีความ intense และเขียนในเชิงให้ข้อมูล (informative) แต่ว่าเข้าใจได้ง่ายผ่านตัวอย่างที่ยกประกอบมาด้วย แต่ละบทมีความเชื่อมโยงกันดังนั้นหากอ่านไปส่วนหนึ่งและดองที่เหลือไว้นานเกินก็อาจจะตามไม่ทันในบางส่วนได้ อาจต้อง keep up หน่อยเพื่อความต่อเนื่องของเนื้อหา 

    อย่างที่บอกว่าหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือที่ให้ความบันเทิงสักเท่าไหร่ ดังนั้นหากใครอยากอ่านอะไรชิล ๆ เล่มนี้อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีนัก แต่หากคุณสนใจประเด็นเกี่ยวกับสังคมและต้องการอ่านเอาความรู้แบบเพลิน ๆ หนังสือเล่มนี้ก็อาจเหมาะกับค่ะ

    disclaimer : เล่มนี้สำหรับเราเขียนรีวิวยากจริง ๆ ค่ะ เพราะเรากลัวจะสื่อมันออกมาได้ไม่ดีพอ แต่ถ้าใครเคยอ่านเล่มนี้แล้วก็อาจเข้าใจว่าทำไมมันเขียนยาก เพราะมันเป็นหนังสือเกือบวิชาการที่มีหลักฐานและข้อเท็จจริงจริง ๆ ไม่ใช่เรื่องแต่ง เราหวังว่ารีวิวนี้เราจะสื่อออกมาได้อย่างเข้าใจนะคะ

    ภาพรวมของหนังสือ

    เริ่มเรื่องมาผู้เขียนจะกล่าวถึงสถานการณ์ก่อการร้ายอันเป็นที่โจษจัน การแบ่งยุคของการก่อการร้าย อีกทั้งยังมีการอธิบายถึงทฤษฎีหรือแนวคิดต่อการก่อการร้ายและความรุนแรง เช่น นิยามของมัน ความเห็นของนักคิดหรือนักวิชาการต่อคำว่าก่อการร้ายและความรุนแรง เป็นต้น ที่น่าสนใจคือยังมีการกล่าวถึง 'ความกลัว' ด้วย เพราะเมื่อเราเข้าใจความกลัว เช่น เรากลัวอะไร ทำไมเราจึงกลัว เราก็จะสามารถจัดการความกลัวนันได้


    ความรู้สึกของเราหลังอ่านจบ

    ส่วนตัว เราได้ข้อมูลหลายชุดมาก เพราะผู้เขียนไม่ได้ใส่มาแค่ความเห็นของคน ๆ เดียวต่อเรื่อง ๆ หนึ่ง ดังนั้นก็เป็นวิจารณญาณของเราว่าเห็นด้วยหรือไม่ 

    โดยส่วนตัวเราประทับใจการที่ผู้เขียนไล่เรียงสิ่งที่อยากสื่อได้ดี เข้าใจได้ไม่ยาก แต่ถ้าถามว่าเราชอบบทไหนมากที่สุด เราเลือกไม่ได้จริง ๆ เพราะอย่างที่กล่าวไปว่าทุกบทมีความต่อเนื่องกันเพียงแต่เขียนแยกเป็นบทเพื่อให้อ่านเข้าใจขึ้น และทุกบทมีจุดเด่นที่ทำให้เราเกิดความสงสัยและคิดตาม ซึ่งตรงนี้เราว่ามันดีมาก ๆ 

    ส่วนบทสุดท้ายของหนังสือ คร่าว ๆ คือ เป็นบทที่กล่าวถึงทางออกของการก่อการร้ายและความรุนแรงว่ามีหรือไม่ เราจะหลุดออกจากมันได้หรือไม่ และมีการกล่าวถึงประเทศที่มีการจัดการต่อปัญหานี้ค่อนข้างดีเพียงแต่ต้องใช้เวลา บทสุดท้ายเป็นบทที่เราอาจสามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์การก่อการร้ายและความรุนแรงในปัจจุบันได้ แต่อย่างที่บอกว่ามันต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาใหญ่นี้เพราะมันมีหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดเหตุนั้นๆ 
    ดังนั้นเราก็ไม่รู้ว่ามนุษย์จะก้าวข้ามผ่านปัญหานี้ได้เมื่อไหร่ แต่เราก็หวังว่าปัญหานี้จะจบลงได้ในที่สุด  

    จุดที่น่าสนใจที่เราอยากสรุปทิ้งท้ายไว้คือ หนังสือเล่มนี้ทำให้เราฉุกคิดได้ว่าสุดท้าย เรากลัวอะไร แล้วจริง ๆ ความกลัวที่เกิดจากการก่อการร้ายและความรุนแรงนั้น เกิดโดยตัวมันเองหรือใครสร้างมันขึ้น ขอบเขตหรือนิยามของมันคืออะไร แล้วเราต้องจัดการมันด้วยอะไร ที่ผ่านมาเราจัดการมันด้วยวิธีที่สันติหรือความรุนแรง? 

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in