เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
ธีสิสแบบกรุ๊ปโอMarmalade on toast
ตัวประถม
  • ระยะเวลา 15 มีนา - 18 เมษา 2566  
    ระหว่างทางก่อน 70 %

     

           หลังจากวันนั้นเราค่อนข้างคิดหนักว่าจะไปทางไหนดีระหว่างทำงานสำหรับเด็ก 0-3 ปี โดยเน้นไปที่เพลงอย่างเดียว หรือปรับอายุกลุ่มเป้าหมายเป็น 3-6 ปี แล้วยกระดับงานให้โตขึ้น อย่างเพิ่มเนื้อเพลง เพื่อให้เด็กในวัยนี้ฟังแล้วสามารถจินตนาการตามได้ 


           มีการไปปรึกษาครูแจ๊พว่าถ้าจะปรับกลุ่มเป้าหมายเป็น 3-6ปี ควรจะเพิ่มเนื้อหาของงานอย่างไรบ้าง ครูแจ๊พก็ให้คำแนะนำมาว่า ก่อนอื่นเลยควรศึกษาว่าเด็กในวัยนี้ยังฟังเพลงกล่อมเด็กอยู่ไหม ส่วนชิ้นงาน ควรจะเพิ่มโดยการแต่งเนื้อเพลงให้เพลงกล่อมเด็กมีความยาวมากขึ้น เนื่องจากเพลงกล่อมเด็กมีความยาวไม่กี่บรรทัด ทำให้เนื้อหาอาจจะน้อยไปสำหรับเด็กวัย 3-6ปีนั่นเอง


          


          เราเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก 3-6ปี ว่ายังฟังเพลงกล่อมเด็กอยู่หรือไม่ เสิร์ชหาเป็นภาษาไทย ก็ไม่เจอแม้แต่ความเกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ต้องการ เมื่อลองเสิร์ชหาข้อมูลภาษาอังกฤษก็เจอข้อมูลเกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็กและการออกเสียง ซึ่งยังไม่ตรงกับความต้องการและจุดประสงค์ในการทำงานนี้ของเรา เป็นช่วงที่เราแทบจะไม่ได้ลงมือทำงานอะไรเพิ่มเท่าไหร่ เพราะรู้สึกหลงทางนิดหน่อย เราคิดว่ามีข้อมูลอยู่แน่นอน ทั้งในออนไลน์และข้อมูลจากหนังสือต่างๆ แต่ใจมันยอมแพ้แล้ว เราก็เลยคิดว่า เปลี่ยนหัวข้อเลยละกัน! แต่ก็ยังอยู่ในเค้าโครงของความเป็นเพลงสำหรับเด็กอยู่ 



      หลังจากปรึกษากับครูที่ปรึกษาอีกครั้งว่าควรไปในทิศทางไหนกับคำถามข้างต้น
    ก็ตัดสินใจว่าจะเบนเข็มจาก “เพลงกล่อมเด็ก” เป็น “เพลงร้องเล่นสำหรับเด็ก”
    เพื่อให้ครอบคลุมกับกลุ่มอายุของเป้าหมายมากขึ้น 



           สำหรับคำถามที่ว่าผลงานชิ้นนี้มีความโดดเด่น/แตกต่างจากในท้องตลาดอย่างไร ตรงนี้เรามองว่ายังไม่ค่อยมีและยังมีน้อยมาก ที่จะนำเพลงกล่อมเด็กเก่าๆมาแต่งเนื้อหาเพิ่มเติม และเรียบเรียงดนตรี/ทำนองขึ้นใหม่ คิดว่าเด็กๆหรือผู้ฟังก็จะมีโอกาสรู้จักเพลงกล่อมเด็กซึ่งเป็นที่มาของเพลงร้องเล่นเหล่านี้ได้มากขึ้นอีกด้วย


    มีการนำคำแนะนำจากครั้งที่แล้วมาปรับแก้ อย่างเรื่องภาพประกอบที่หัวขาด ก็ไปวาดใหม่ 








           


            ช่วงนี้เราไม่ค่อยสนใจกับภาพประกอบเท่าไหร่ เพราะมัวแต่ไปทำส่วนของเพลง โดยระหว่างที่ศึกษาเรื่องการทำเพลงไปด้วย ก็ได้รู้จักกับแอพทำเพลงอีกแอพนึง ชื่อว่า  Bandlab เราลองใช้แล้วรู้สึกเข้ามือกว่า Garageband มาก เลยใช้ Bandlab ในการอัดเสียง มิกซ์เสียงต่างๆ แล้วใช้ Garageband ในการทำดนตรี 


            สำหรับตัวดนตรีเอง เรานำเบสดนตรีที่มีจังหวะมาให้มามิกซ์เสียงเพิ่ม กระบวนการนี้เราเริ่มจากเสิร์ชหาเมโลดี้ที่แจกฟรีและถูกลิขสิทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้ฟรีทั้งเชิงส่วนตัวและเชิงพาณิชย์  ซึ่งมีศิลปินหลายท่านได้อัพโหลดไว้ให้ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดไปใช้กันได้โดยไม่จำเป็นต้องให้เครดิต (ใจดีมากๆ ขอบคุณค่ะ) ซึ่งเว็บไซต์สำหรับดาวน์โหลดเมโลดี้เหล่านี้ก็มีเยอะมากเช่นกัน 


           แต่ก่อนจะโหลดแนะนำให้อ่านรายละเอียดการนำไปใช้ด้วยนะทุกคน เพราะศิลปินบางท่านก็ไม่อนุญาตให้ใช้เพื่อเชิงพาณิชย์ หรือต้องให้เครดิตทุกครั้ง ฯลฯ



    ยังไงก็ต้องขอขอบคุณศิลปินทุกท่านไว้ ณ ที่นี้อีกครั้งด้วยค่ะ ที่ทำให้ธีสิสของเราเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้  

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in