เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
SELF CONCEPTkhingdom.
Buddhism Philosophy x My interpretation
  • เรื่อง gender fluid x buddhism philosophy

    “คอนเส็ป ‘เพศลื่นไหล’ เป็นสิ่งที่เด็กรุ่นเราพูดถึงกันเยอะ ถ้าพวกคุณสับสนอยู่ ไม่รู้จะนิยามตัวเองยังไง ไม่ว่าคุณจะชอบเพศไหน มันโอเค เหมือนปรัชญาพุทธที่ว่าชีวิตมันไม่แน่นอน และถ้ามีคนไม่เข้าใจคุณ มันก็โอเคเหมือนกัน คุณไม่ได้ถูกกำหนดให้พิสูจน์ตัวเองกับคนอื่น คุณบอกเขาไปก็ได้ว่าคุณเป็นชาวพุธ และนี่คือเหตุผลที่ทำไมปรัชญาพุธมันถึงเจ๋ง เพราะมันไม่เคยบอกให้เราแบ่งแยก ตราบใดที่เราไม่ได้ทำร้ายตัวเองหรือคนอื่น เราก็แค่เข้าใจสัจธรรมของความไม่เที่ยง ตัวเรา เพศสภาพ และทุกอย่าง”


    ธรรมมะ = ธรรมชาติ

    อย่างที่บอกแก่นพุทธจริงๆแล้วมันพูดเรื่อง self-reflection ทั้งนั้น พวกความเชื่อที่คนยึดติดอ่ะ มนุษย์สร้างขึ้นเองทั้งหมด ความจริงแก่นพุทธบอกด้วยซ้ำว่าศาสนาไม่จำเป็น เป็นแค่ concept ถ้าจะหลุดพ้นคุณต้องวาง เพราะธรรมะมันมาจากธรรมชาติ เข้าใจตัวเอง to the core ให้ได้ก่อน

    ถ้าสิทธัตถะ dude ยังมีชีวิตอยู่ ฮีจะต้องบอกกับพวกคนที่งมงายนรก สวรรค์ว่า มีแล้วยังไง ไม่มีแล้วยังไง มันจำเป็นมั้ยกับการรู้ รู้ไปแล้วช่วยให้ละกิเลสได้หรอ หรือรู้ไปเพิ่มอีโก้โมหะตัวเอง + การละกิเลสไม่ได้หมายความว่าต้อง shaming ตัวเอง เพราะมันคือเรื่อง ‘ธรรมชาติ’ ของมนุษย์ที่จะมี

    ชอบความพูดถึง human emotion แล้วบอกว่ามันคือเรื่องธรรมชาตินะ เธออย่าไปตัดมัน ละกิเลสที่แท้จริงคือใช้ปัญญาพิจารณา และเมตตากับตัวเองว่าทำความเข้าใจตัวเองหน่อย แล้วจะมองมันอย่างเป็นกลางได้เอง สุดจะจิตวิทยาเลย ที่พูดมาทั้งหมดนี่ อ่านจากหนังสือภาษาอังกฤษที่พูดถึงปรัชญา buddhism y—y

    ทุกคนเล่มนี้ดีมาก แก่นพุทธสุดๆ เป็นการเอาคำสอนบท heart sutra ของสิทธัตถะdude มาวิเคราะห์ (by ดาไลลามะ) มีการยกปรัชญาของ western มาเปรียบเทียบด้วย เพราะงั้นเข้าถึงได้ง่าย

    ยก nihilism philosophy ของนิเช่มาวิเคราะห์ว่ามันไม่เหมือนกับปรัชญาพุทธตรงไหนที่พูดถึง no-self concept


    พูดถึง self-love / self-compassion ด้วย การรักตัวเอง การมีเมตตากับตัวเอง เธอต้องรักตัวเองให้ได้ก่อน ไม่งั้นเธอจะไปรักคนอื่นไม่ได้เลย พิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ตามสภาวะอารมณ์ตัวเองนะ มันสุดแสนจะ introspective


    ที่บอกว่าแก่นของพุทธมัน advanced มากแต่ศาสนาพุทธในไทยมันถูกเอามาตีความแบบจำกัดผสม fixed belief และค่อนข้างยึดกับเปลือก ก็คือไม่เกินจริง ไปอ่านเจอสัทธรรมปุณฑรีกสูตร (คำสอนพระพุทธเจ้า) อันนี้มา แล้วแบบ global mindset, 21st century skill มาก ความพลเมืองโลก




    Siddhartha dude ไม่เคยบอกให้บูชาอะไรทั้งนั้น ตัวเขาเองยังบอกเลยว่าอย่าเชื่อทุกอย่างที่เขาพูดโดยศรัทธา แต่ให้ไปลองด้วยตัวเองแล้วเข้าใจมันด้วยปัญญา แล้วคุณเป็นอะไรไปยึดโยงมนุษย์คนนึงที่สถาปนาตัวเองเป็นเจ้าแล้วสมาธานศาสนาเข้ากับตัวเอง นั่นก็เปลือก

    และบุญตามปรัชญาพุทธ ก็คือความสบายใจ ความรู้สึกสงบ ไม่ใช่การที่แกเอาอีโก้ไปยึดกับ imaginary reality ในหัวของตัวเองแล้วสะใจเวลาคนที่ออกมาเรียกร้องชีวิตที่ดีเพื่อเพื่อนมนุษย์คนอื่นคือบุญ ปลอมอ่ะ พวกเด็กที่ออกมาเรียกร้องแล้วเข้าใจถึง humanism อาจจะเข้าถึงแก่นของมันมากกว่าคุณด้วยซ้ำ

    ความจริงแล้วศาสนาไม่จำเป็นด้วยซ้ำกับการเข้าถึงแก่นธรรม เพราะธรรมะ ก็คือ ธรรมชาติ ตาม Buddhism philosophy แล้วมันจิตวิทยามากๆ พูดถึงเรื่องไตรสิกขา

    อธิศีลสิกขา — physical development
    อธิศีลสิกขา — emotional development
    อธิปัญญาสิกขา — cognitive development

    ปรัชญาจริงๆก็คือ บอกว่าการ enlighten ไม่ใช่ something new นะ แต่เป็นการ surrender ต่อ reality ที่อยู่ในตัวคุณนั่น

    แต่มนุษย์เองนั่นแหละ ที่สร้างเงื่อนไขต่างๆขึ้นมา แบ่งแยกนั่นนี่ ต้องทำนั่นทำนี่ คุณแค่ต้องเข้าใจตัวเอง คุณคือจักวาล itself ในตัวคุณมาหลากหลายเรื่องมากมายให้หาคำตอบ

    the human nature transcend that, dont lock urself up in the conceptual cumbrance ศาสนา กรอบ ความเชื่อนรกสวรรค์ยังถูกแต่งพันปีหลังฮีตายเลย

    ที่พูดมาทั้งหมดคือ ถ้ายังทำความเข้าใจกับเรื่องเบสิคอย่าง compassion ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

    — 🤎🪷

    ชอบความ simple ของคอนเส็ป ‘ศรัทธา’ ในปรัชญาพุทธนะ ที่ไม่ได้บอกให้คนงมงายกราบไหว้ด้วยความเชื่อโดยไร้ปัญญา แบ่งสิ่งที่คุณสามารถศรัทธาได้เป็นสี่อย่าง

    - เชื่อว่าแอคชั่น = รีแอคชั่น
    - เชื่อว่าทุกอย่างที่ทำไปมีผลลัพเสมอ
    - กรรมเป็นของเฉพาะตน
    - และเชื่อในธรรมชาติของสรรพสิ่ง

    1. กัมมสัทธา — action = reaction always, ยกตัวอย่างแบบโมเดิน ทั้งความคิด คำพูด ส่งผลต่อร่องรอยในสมองละ
    2. วิบากสัทธา — เชื่อว่าทุกอย่างที่ทำออกไปจะมีผลลัพเสมอ
    3. กัมมัสกสตาสัทธา — การกระทำของเราเป็นของเรา แชร์ไม่ได้ ตัดทิ้งไม่ได้
    4. ตถาคตโพธิสัทธา — ธรรมชาติคือทุกอย่างไม่เที่ยง

    ที่พูดไปข้างต้นไปเอามาจากเวสารัชชกรณธรรม, มันมีข้อไหนมั้ยที่บอกให้หลับหูหลับตายกยอกราบไหว้ hierarchy ความสูงส่งที่มองไม่เห็น จับต้องไม่ได้ มีแต่ให้จดจ่อและเชื่อมั่นในการกระทำตัวเอง ทำที่ตัวเอง จบที่ตัวเอง, ถ้าจะอ้างศรัทธาต้องเข้าใจว่ามันคือความเชื่อที่ประกอบไปด้วยเหตุผล

    — 🕺🌈✨

    หลังจากค้นอ่านปรัชญาพุทธ เจอเรื่องนึงว้าวมาก ที่สามารถเอามา debunk แนวคิด victim blaming โดยอ้างเหตุผลว่าเพราะเป็นกรรมเก่า เราไม่ต้องไปแจ้งความหรือเรียกร้องอะไรให้ ในแก่นพุทธ stated ว่าความคิดแบบนี้คือการติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย (สีลัพพัตตุปาทาน) หนึ่งในอุปทานที่เป็นมิจฉาทิฐิ

    ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดนี้ยังถูกมองว่าสุดโต่งและไม่ทิ้งทิฏฐิ ปรัชญาพุทธบอกเสมอว่าต้องทำหน้าที่ตัวเองให้ดี หน้าที่ของ ปชช. คือ monitor ความโปร่งใสของระบบ, การไม่ทำอะไรเลยแล้วอ้างกรรมเก่าคือไม่หลุดจากกามสุขัลลิกานุโยค ติดสุข ติดความเชื่อจนไม่ อยู่กับปัจจุบันและรู้เห็นตามความเป็นจริง

    (ก็ถ้าอยากย้อนตรรกะ ก็ต้องลงไปเข้าใจสิ่งที่เขาอ้างก่อน และค้นพบว่ายิ่งอ่านไปตัวปรัชญามัน makes sense ด้วยตัวของมันเองอยู่แล้วแหละ แต่คนนำไปเผยแพร่ คนยึดเปลือกนี่สิ สุดวุ่นวาย hahaha)

                                               —

    People consequently ascribe immense importance to what they feel, craving to experience more and more pleasures, while avoiding pain. Whatever we do throughout our lives, whether scratching our leg, fidgeting slightly in the chair, or fighting world wars, we are just trying to get pleasant feelings. 


    The problem, according to Buddhism, is that our feelings are no more than fleeting vibrations, changing every moment, like the ocean waves. If five minutes ago I felt joyful and purposeful, now these feelings are gone, and I might well feel sad and dejected. So if I want to experience pleasant feelings, I have to constantly chase them, while driving away the unpleasant feelings. Even if I succeed, I immediately have to start all over again, without ever getting any lasting reward for my troubles.


    According to Buddhism, the root of suffering is neither the feeling of pain nor of sadness nor even of meaninglessness. Rather, the real root of suffering is this never-ending and pointless pursuit of ephemeral feelings, which causes us to be in a constant state of tension, restlessness and dissatisfaction. Due to this pursuit, the mind is never satisfied. 


    Even when experiencing pleasure, it is not content, because it fears this feeling might soon disappear, and craves that this feeling should stay and intensify. People are liberated from suffering not when they experience this or that fleeting pleasure, but rather when they understand the impermanent nature of all their feelings, and stop craving them. 


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in