เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
บทความหอมกรุ่นจากเตาสำหรับสายรักสิ่งแวดล้อมblairrose_bth
โซลาร์เซลล์เป็นอันตรายจริงหรือ?
  • มีการคาดการจากทั้งสำนักข่าวและนักเขียนบทความมากมายในอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่ช่วงปี 2561 ที่กล่าวถึงปัญหาขยะจากซากแผงโซลาร์เซลล์ โซลาร์เซลล์สร้างขยะพิษจริงหรือไม่? แผงโซลาร์เซลล์ใช้งานได้นานเพียงใด? การกำจัดโซลาร์เซลล์ทำอย่างไร? และแผนกำจัดขยะโซลาร์เซลล์ในประเทศไทยมีอะไรบ้าง? วันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็นเหล่านี้กัน

    "พลังงานแสงอาทิตย์" คือพลังงานสะอาดที่ได้รับความสนใจจากผู้คนทั่วโลก ในประเทศไทยเองนับตั้งแต่ปี 2013 โซลาร์เซลล์ก็กลายเป็นที่รู้จักและถูกนำมาใช้มากขึ้นเป็นพลังงานทดแทนเพื่อลดการสร้างมลภาวะจากพลังงานเชื้อเพลิงที่ต้องผ่านการเผาไหม้และทำให้เกิดมลภาวะในอากาศ มีการตั้งเป้าไว้ว่าในปี 2036 กำลังการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์จะมีมากถึง 6,000 MW โดยคาดการจากปริมาณการเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวนับตั้งแต่ 2013 ถึง 2015 เป็นต้นมา กระทั่งช่วงเดือนกรกฎาคม 2561 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2562 หรือช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ก็มีสถิติผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในไทยค้นหาคำว่า 'solar cell' ในกูเกิ้ลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากประเทศจีนที่เป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตสูงสุด

    วัฏจักรชีวิตของแผงโซลาร์เซลล์

    ก่อนที่เราจะเข้าสู่เรื่องของขยะและการกำจัดขยะจากโซลาร์เซลล์ เราจำเป็นจะต้องรู้ก่อนว่าวัฎจักรชีวิตของแผงโซลาร์เซลล์นั้นมีอะไรบ้าง จากการศึกษาพบว่า อายุของแผงโซลาร์เซลล์ (life expactancy of solar panels) จะอยู่ในราว 20-30 ปีก่อนปลดระวาง แต่จากประสบการณ์จริงพบว่า ประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์จะลดลงเพียงร้อยละ 6-8 เมื่อใช้งานไป 25 ปี จึงอาจสรุปได้ว่าช่วงชีวิตการใช้งานของแผงโซลาร์เซลล์นั้นอาจนานกว่าที่มีการประมาณอย่างเป็นทางการ ราว 40 ปีขึ้นไปและยังคงทำงานได้หลังจากประสิทธิภาพลดลง

    ในเชิงกฏหมาย แผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานจะถูกจำแนกให้เป็น "กากของเสีย" ในกรณีของสหภาพยุโรป แผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานเป็น "ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (e-waste) ภายใต้ "กฎหมายการจัดการซากผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (Waste Electrical and Electronic Equipment Directive หรือ WEEE) ผู้ผลิตโซลาร์เซลล์จะต้องทำตามข้อกำหนดเฉพาะในกฎหมายและมาตรฐานการรีไซเคิลเพื่อทำให้เกิดความมั่นใจว่าแผงโซลาร์เซลล์จะไม่กลายเป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อมเมื่อหมดอายุการใช้งาน 


    สิ่งที่อยู่ในแผงโซลาร์เซลล์

    โมโนคริสตัลไลน์ และ โพลีคริสตัลไลน์ คือแผงโซลาร์เซลล์สองแบบที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ โดยกระบวนการผลิตโซลาร์เซลล์นั่น จะผลิตแผ่นกระจกจากซิลิคอน ผลิตกรอบจากอะลูมิเนียมและผลิตสายจากทองแดง โดยมีขั้นตอนการใช้สารเคมีอันตรายโดยมีการใช้สารเคมีหรือโลหะที่เป็นพิษ เพียงแค่บางชนิดอันได้แก่ กรดไฮโตรคลอริก กรดไนตริก และไฮโดรเจนฟลูออกไรด์ เพื่อทำความสะอาดผิวหน้าแผงโซลาร์ แม้ว่าแผ่นฟิล์มพลังงานแสงอาทิตย์บางแบบอาจมีส่วนประกอบของโลหะหนักผสมอยู่บ้างเช่น แคดเมียมและเทลโลไรด์ แต่งานวิจัยจำนวนมากกล่าวว่าไม่พบหลักฐานที่ชี้ว่ามีสารพิษรั่วไหลจากแผงโซลาร์เซลล์ประเภทนี้


    การกำจัดโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย

    นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.๗ เปิดเผยว่า กรอ. เตรียมออกประกาศขอบเขตและเงื่อไนขการลงทุน (ทีโออาร์) เพื่อว่าจ้างบริษัทศึกษาความเหมาะสมในการสร้างโรงงานกำจัดซากโซลาร์เซลล์ที่ในปี 2563 จะมีปริมาณสะสมที่ต้องกำจัด 550,000 ตัน หรือ 18 ล้านแผง

    "โรงงานกำจัดซากโซลาร์เซลล์ที่จะก่อสร้างแห่งใหม่นี้ เอกชนที่ๆได้รับเลือกเข้ามาลงทุนจะได้สิทธิพิเศษส่งเสริมการลงทุนด้วย แต่ต้องดำเนินการตามนโยบายกรีนอุตสาหกรรม หรือปลอดมลพิษ และต้องได้รับรองมาตรฐาน ISO14000 ด้วย โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการก่อสร้างจะอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะเป็นแหล่งที่มีการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จำนวนมาก" 

    นายทองชัยยังกล่าวว่า ในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการลงทุนสร้างโรงงานกำจัดซากโซลาร์เซลล์โดยเฉพาะ แต่มีเพียงการลงทุนสร้างโรงงานรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์เพียง 1 แห่งที่จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยเป็นการนำแผงเก่าที่หมดอายุใช้งานมาเปลี่ยนแผ่นเซลล์เพื่อนำกลับไปใช้ใหม่ ส่วนแผ่นโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุก็ใช้วิธีส่งคืนผู้ผลิตต่างประเทศ หรือนำมาบดย่อยซากโซลาร์เซลล์และฝังกลมในหลุมฝังกลมอุตสาหกรรม


    แล้วต่างประเทศจัดการกับปัญหานี้ยังไง? 

    วิธีการบริหารจัดการแผงโซลาร์เซลล์เสื่อมสภาพ จะมีการรวบรวมโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุการใช้งานนำมาทำการถอดแยกชิ้นส่วนเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ โดยหลังการรวบรวมแล้ว จะมีกรรมวิธีการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดความคุ้มค่าโดยสามารถแบ่งเป็น 4 กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
    1.การถอดแยกเบื้องต้นและฝังกลมส่วนที่เหลือ 2.การถอดแยกเบื้องต้น บด และทำการคัดแยกวัสดุหลังบด 3. การถอดแยกเบื้องต้น และใช้เครื่องมือในการแยกส่วนกระจกออกไป และ 4.การถอดแยกเบื้องต้น และการแยกส่วนวัสดุให้สามารถนำกลับไปทำแผงโซลาร์เซลล์ได้อีก

    ในประเทศเยอรมนี แนวทางการจัดการแผงโซลาร์เซลล์ที่เป็นของเสียนั้นได้รับอิทธิพลมาจาก WEEE เช่นกัน โดยมีผลบังคับใช้ให้ ผู้ผลิตที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการของเสียจากแผงโซลาร์เซลล์ มีหน้าที่จัดให้มีระบบการเรียกคืนและรีไซเคิล ซึ่งครอบคลุมถึงการบริหารจัดการ การรายงาน รวมไปถึงการให้หลักประกันทางการเงินเพื่อให้มีการบูรการณ์กับระบบโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเก็บรวบรวมและจัดการของชุมชนที่มีไว้เพื่อจัดการของเสียจากอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และในปี 2550 ในที่สุดกลุ่มผู้ผลิตแผงในสหภาพยุโรปก็ได้รวมตัวกันก่อตั้งองค์กรชื่อ PV Cycle เพื่อจัดการบริหารจัดการแผงหมดความคุ้มค่า โดยทำหน้าที่ประสานนการจัดเก็บรวบรวม การขนส่ง และการทำรีไซเคิลในพื้นที่ต่างๆทั่วทวีปยุโรป ซึ่งมีการประกาศในเดือน กุมภาพันธืของปี 2559 ว่าสามารถรีไซเคลิได้ถึง 90-97% ทั้งในแผงกลุ่มที่มีวัสดุเป็น Silicon-based และ Non silicon

    ส่วนประเทศญี่ปุ่นที่มีการใช้งานเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์มากเป็นอันดับต้นๆของโลก ผู้ทิ้งของเสียอุปกรณ์ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 44 ล้านครัวเรือนจะมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะโดยคิดค่าบริการ 8 ยูโรต่อเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผงมาตั้งแต่เดือน มกราคม 2557 โดยของเสียเหล่านี้จะถูกทิ้งได้ตามจุดที่มีการจำหน่ายหรือจุดเก็บที่ได้ตกลงกันไว้ประมาณ 80,000 จุดทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์เหล่านี้จะถูกบริหารจัดการโดยกลุ่มผู้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้ารายใหญ่ เืพ่อนำไปรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยศูนย์รวบรวมเหล่านี้จะมีความรับผิดชอบในการรวบรวมและขนส่งไปยังสถานที่ที่สามารถทำการรีไซเคิลได้ตามกฎหมายประมาณ 41 แห่งต่อไป


    ดังนั้นสิ่งที่คนมักเข้าใจผิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์คือปัญหาการสร้างขยะแผงโซลาร์ เช่นบทวิเคราะห์หนึ่งที่กล่าวอ้างว่าแผงโซลาร์นั้นสร้างขยะมากกว่านิวเคลียร์ถึง 300 เท่านั้นไม่เป็นความจริง เนื่องจากไม่ได้ตระหนักถึงอายุการใช้งานที่ยาวนานถึง 40 ปี และเรื่องที่ส่วนประกอบเกือบทุกอย่างของงแผงโซลาร์นั้นสามารถนำมารีไซเคิลและกลับมาใช้ซ้ำได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทจำนวนมากกำลังทำกันอยู่ในปัจจุบัน

    ยังมีการวิจัยที่ชี้ว่ามลพิษที่เกิดจากพลังงานหมุนเวียนอย่างพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานน้ำนั้นน้อยว่ามลพิษที่เกิดที่เกิดจากพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างมหาศาล โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระดับที่น้อยมากแม้ว่าจะต้องใช้วัตถุดิบจำนวนมากก็ตาม อีกทั้งกระบวนการผลิตไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานแสงอาทิตย์นั้นปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและคนงานมากกว่าพลังงานจากถ่ายหิน ก๊าซธรรมชาติ และนิวเคลียร์อีกด้วย


    บทสรุป

    ความเสี่ยงด้านสุขภาพของมนุษย์จากการได้รับสารพิษในวัตถุดิบที่ใช้ผลิตแผงโซลาร์นั้นน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการกำจัดอย่างถูกวิธีและเป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังจะเห็นได้จากการกำจัดและรีไซเคิลที่ต่างประเทศกำลังดำเนินการอยู่ ประเทศไทยจึงต้องการการร่วมมือจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การกำจัดเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดตั้งศูนย์รีไซเคิล และโรงกำจัดซากโซลาร์เซลล์ให้สมดุลกับปริมาณฟาร์มโซลาร์ที่กำลังดำเนินการอยู่ เพื่อให้พลังงานจากแสงอาทิตย์นี้สามารถใช้เป็นทางเลือกในการลดมลภาวะจากกระบวนการผลิตพลังงานอื่นๆได้ต่อไปในอนาคต



    เครดิต
    https://www.thansettakij.com/content/257088
    https://www.thairath.co.th/news/business/1561915
    https://www.tcijthai.com/news/2018/3/watch/7790
    https://www.greenpeace.org/thailand/story/2883/renewable-energy-myth-solar-cells-toxic/


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in