เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Pupzy's in quarantinePupzyy
ผลกระทบของการยกเลิกโควต้าเยาวชนอายุไม่เกิน21ปีในวงการฟุตบอลไทย
  • สืบเนื่องจากวันที่ 29 เมษายน 2563 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย และ บริษัท ไทยลีค จำกัด ได้ทำการจัดประชุมเพื่อหาแนวทางการจัดการแข่งขันฟุตบอลลีคอาชีพ ที่มีผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 หลังจากการประชุมครั้งนี้ ผลออกมาได้ข้อสรุปมากมาย หนึ่งในนั้นคือ การยกเลิกโควต้าเยาวชนอายุไม่เกิน21ปี สำหรับท่านที่ไม่ทราบ กฏการแข่งขันเดิมจะต้องมีผู้เล่นที่อายุน้อยกว่า21ปีลงสนามเป็นตัวจริงอย่างน้อยสองคน แต่อย่างไรก็ตามทางสมาคมก็มีแนวคิดที่จะทำลีคยู21 เพื่อที่จะไม่เป็นการลดโอกาสของเยาวชน จากประเด็นนี้ผมมองว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจและอยากจะยกมาพูด ว่าการยกเลิกโควต้ายู21จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร แล้วใครบ้างที่ได้รับประโยชน์จากเรื่องนี้ จากการที่ได้ทำการพูดคุยและสอบถามจากใครหลายๆท่านไม่ว่าจะเป็นนักเตะเยาวชน นักเตะที่มีอายุมากแล้ว โค้ช ผู้จัดการทีม หรือแม้กระทั้งแฟนบอล ในมุมมองแรกที่คนบางกลุ่มให้ความคิดเห็น คือทีมบางทีมจะทำการยกเลิกสัญญาเยาวชนเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะเยาวชนไม่ถูกยกเป็นเงื่อนไขของการแข่งขันอีกต่อไป จากการกระทำแบบนี้จะส่งผลให้เยาวชนมีโอกาสและพื้นที่ในการเล่นฟุตบอลอาชีพน้อยลง และจะไม่มีผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะมีโอกาสแสดงผลงาน ประการต่อมา การทำแบบนี้จะเพิ่มพื้นที่ให้กับผู้เล่นหน้าเดิมๆและผู้เล่นเหล่านั้นอาจจะไม่มีการพัฒนาตัวเองเพื่อที่จะแข่งขันกับผู้เล่นหน้าใหม่ซึ่งจะทำให้วงการฟุตบอลพัฒนาไปอย่างล่าช้าเช่นกัน ในทางกลับกันบางกลุ่มมองว่า อาจจะเป็นการแก้ปัญหาทางเศรฐกิจสืบเนื่องมาจากการมีอยู่ของโรคระบาดโควิด-19 คือ หนึ่ง สโมสรจะมีโอกาสในการลดค่าใช้จ่ายเพื่อความอยู่รอดของคนส่วนใหญ่ในทีมและทางตัวสโมสรเอง อย่างที่สองคือ โอกาสที่จะหางานใหม่ของผู้เล่นที่มีอายุค่อนข้างที่จะยากกว่าผู้เล่นเยาวชนหากพวกเขาเหล่านั้นถูกยกเลิกสัญญา เพราะถ้ายังมีกฏโควต้ายู21อยู่ สโมสรก็จะมีโอกาสที่จะต้องใช้ผู้เล่นเยาวชนมากกว่าผู้เล่นที่มีอายุและถ้าหากงบประมาณของสโมสรมีอยู่อย่างจำกัด ผู้เล่นที่มีอายุอาจจะกลายเป็นคนว่างงานได้ เพราะฉะนั้น การทำแบบนี้จะเป็นการช่วยให้ผู้เล่นเหล่านั้นยังมีงานทำและสามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างไม่ขัดสน อย่างที่ผมได้กล่าวไปเบื้อต้นว่า ถึงกะนั้นสมาคมก็มีแนวคิดที่จะจัดลีคยู21ขึ้นมา เพื่อไม่เป็นการลดโอกาสแก่ผู้เล่นเยาวชน เราจะมาดูกันว่าความคิดเห็นของแต่ละคนจะเป็นอย่างไร? คนกลุ่มแรกได้มองว่าการทำลีคยู21เป็นการนำระบบของทางต่างประเทศมาใช้ยกตัวอย่างเช่นประเทศอังกฤษเป็นต้น โดยผู้เล่นที่เล่นอยู่ในลีคนี้จะมีโอกาสขึ้นชุดใหญ่เพื่อไปเป็นนักฟุตบอลอาชีพ มันคล้ายกับการสร้างบันไดขึ้นมาอีกก้าวเพื่อเตรียมตัวก่อนที่จะเป็นนักฟุตบอลอาชีพ แต่น่าเสียดายคนบางกลุ่มไม่ได้มองแบบนั้น พวกเขามองว่าในความเป็นจริงมันอาจจะไม่เป็นแบบนั้น สำหรับทีมบางทีมที่ไม่ได้มีแนวคิดในการพัฒนานักเตะในระยะยาวและเป็นขั้นเป็นตอนอาจจะไม่ทำแบบนี้ พอถึงก้าวที่นักเตะจะต้องก้าวข้ามหน้าผาจากลีคยู21สู่ลีคอาชีพ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าพวกเขารู้ตัวเมื่อสายไปว่าจริงๆแล้วไม่มีใครที่คอยรอรับพวกเขาในอีกฝั่งของหน้าผา สุดท้ายแล้วนักเตะเหล่านั้นก็จะต้องมาพบกับจุดจบเหมือนเดิมหรือเปล่า? แล้วทำไมระบบแบบนี้ยกตัวอย่างในอังกฤษสามารถใช้และได้ผลอย่างมากในการพัฒนาวงการฟุตบอลในบ้านเขา? ในมุมมองของผู้มีประสบการณ์และได้สัมผัสกับฟุตบอลอังกฤษได้กล่าวว่า หนึ่ง ฟุตบอลอังกฤษใส่ใจและให้ความสำคัญกับโครงสร้างรากฐานตั้งแต่เยาวชนขึ้นมา เริ่มจาก ยู8 ยู9 ยู10 12 14 16 และต่อๆไปจนถึงยู23 เพราะฉะนั้นพวกเขาจะมั่นใจว่าผู้เล่นเยาวชนของพวกเขาจะมีคุณภาพและเข้าใจวิธีการเล่นเล่นของทีมนั้นๆ มันเลยทำให้พวกเขากล้าที่จะลองใช้ผู้เล่นหน้าใหม่ที่พวกเขาคุ้นหน้าคุ้นตามาตั้งแต่เด็กๆ และพวกเขาทำให้นักเตะเยาวชนทุกคนที่มีศักยภาพและความสามารถมากพอมั่นใจว่าจะมีคนรอรับเขาที่ปลายหน้าผาอีกด้าน ส่วนผู้เล่นที่ยังไม่พร้อมหล่ะ? ทีมชุดใหญ่ก็ยังมีสิทธ์ที่จะปฏิเสธใช่ไหม? คำตอบคือใช่ครับนักเตะเยวชนทุกคน ข้อย้ำว่าทุกคน ไม่มีทางที่จะขึ้นชุดใหญ์แต่ต้องเป็นเพราะเหตุผลเดียวเท่านั้นคือ จากการประเมินของคณะโค้ชและผู้ใหญ่หลายๆท่านในสโมสรแล้วว่าเขายังไม่มีความสามารถ บุคลิคหรือศักยภาพมากพอที่จะขึ้นชุดใหญ่ เพราะฉะนั้นเขาจะต่ออยู่ในลีคยู23 ต่อไป แน่นอนครับนี่อาจจะเป็นช่องโหว่ที่สามารถถูกยกมาอ้างในหลายๆทีมที่ไม่ได้มีแนวทางในการพัฒนาเยาวชนหรือไม่ได้ต้องการผู้เล่นเยาวชน อย่างไรก็ตามระบบและรากฐานมันอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะปรับเปลี่ยนแก้ไข แต่สิ่งสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากคือ การมีระบบที่ยั่งยืนและมั่นคงควรเริ่มจากการมีรากฐานที่มั่นคง หากต้นไม้ไม่มีรากที่มั่นคงพอเวลามีลมพายุพัดสาดเข้ามาต้นทั้งต้นอาจจะล้มตายได้ในเวลาอันสั้น วงการฟุตบอลก็เป็นแบบนั้น วงการฟุตบอลในบ้านเราควรเปิดใจให้โอกาสเยาวชนเพื่อที่พวกเขาจะได้แสดงศักยภาพออกมาอย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตามการทำแบบนี้อาจจะมีความเสี่ยงในเรื่องของผลลัพธ์แต่ผมคิดว่ามันยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะเมื่อความแตกต่างของนักเตะที่มีช่วงอายุต่างกันคือประสบการณ์ แต่พวกเรากลับไม่ให้ประสบการณ์แก่เขา แล้วเมื่อไหร่เขาถึงจะมีประสบการณ์มากพอเพื่อที่จะเติมเต็มตัวเขาและเป็นผู้เล่นที่ดีในอนาคต


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in