เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Pupzy's in quarantinePupzyy
ทำไมเราไม่ควรพูดถึงโรคซึมเศร้า
  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ถูกพูดถึงน้อยมากในสังคม ณ ปัจจุบัน นี้ แต่กลับกัน ตัวเลขของผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจากเว็ปไซต์ https://save.org/about-suicide/suicide-facts/ ได้กล่าวว่า ชาวอเมริกันเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายราว 44,965 คน ในทุกๆวันจะมีชาวอเมริกันเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ประมาณ123 คน ซึ่งแปลว่าจะมีการสูญเสียทุกๆ12นาที และเฉลี่ยทุกๆ 25ครั้งของการพยายามฆ่าตัวตายจะมี 1 ครั้งที่ประสบความสำเร็จ จากข้อมูลดังกล่าวมันทำให้ผมเกิดความสงสัยว่า เราได้มีการสูญเสียไม่น้อยในทุกๆวันสืบเนื่องมากจากโรคซึมเศร้าแต่ทำไมหลายๆคนยังบอกว่าเราไม่ควรพูดเรื่องแบบนี้?

    ผมได้มีโอกาสสนทนากับอดีตผู้ป่วนโรคซึมเศร้าท่านหนึ่ง เขาบอกว่าเหตุผลที่เขาไม่อยากที่จะเปิดเผยว่าเขามีอาการป่วยเพราะว่าเขาคิดว่าการขอร้องให้คนอื่นมาช่วยมันเป็นการเพิ่มภาระให้กับคนอื่น ซึ่งเขารู้สึกลำคาญตัวเองและไม่อยากเป็นแบบนั้น จากประเด็นนี้จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าค่อนข้างที่จะละเอียดอ่อนในด้านของอารมณ์และมีการคิดแทนคนอื่นไปซะส่วนใหญ่ประกอบกับความคิดที่คิดลบอยู่ตลอดเวลามันจึงยากมากที่คนปกติคนหนึ่งอย่างพวกเราๆจะสามารถพูดให้เขารู้สึกดีหรือหายจากอาการซึมเศร้า เพราะบ้างทีเขาไม่ได้ความต้องการที่จะรับฟังหรืออาจจะต้องการที่จะอยู่คนเดียวมากกว่า

    คำถามต่อมาผมก็เลยถามเขากลับไปว่า พอรู้ตัวว่าเป็นโรคซึมเศร้าแล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงไม่ไปรับการรักษาหรือไปหาจิตแพทย์ อ้างอิงจากเว็ปไซต์ดังกล่าว มีเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันที่เป็นโรคซึมเศร้าเท่านั้นที่ตัดสินใจเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคำตอบที่ผมได้รับจากเขาคือ การเข้ารับการรักษามันค่อนข้างที่จะเป็นไปได้ยาก เริ่มจากการตัดสินใจเข้าไปพบจิตแพทย์ ในตอนนั้นเขารู้สึกไม่อยากทำอะไรแม้กระทั้งลุกออกจากเตียง อย่างต่อมา สิ่งที่เขาได้รับคือการปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ซึ่งเขายอมรับว่ามันก็อาจจะช่วยได้บางส่วน แต่สิ่งที่ช่วยได้มากที่สุดคือการทานยา การทานยาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดก็จริงแต่ผลข้างเคียงของฤทธิ์ยาก็ไม่น้อยเช่นกัน เขาได้กล่าวว่า การกินยาหนักๆมันทำให้บางทีเขาอยากที่จะอาเจียนหรือมากไปกว่านั้นคือไม่อยากทานอะไรเลย
    ซึ่งจากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นมันจึงทำให้ตัวเลขของผู้ได้รับการรักษายังถือว่าน้อยอยู่ หนึ่งในนั้นมาจากการถอดใจหลังจากการเข้ารับการรักษา

    สิ่งต่อมาที่ผมได้ถามเขาคือ แล้วคนซึมเศร้าที่มีความคิดที่อยากจะฆ่าตัวตาย ลึกๆแล้วเขากำลังคิดอะไรอยู่ คำตอบที่ได้ค่อนข้างที่จะสะกิดใจผม เขากล่าวว่า ไม่ใช่ว่าเขาไม่พยายามที่จะหาความสุขหรือไม่พยายามที่จะทำอะไรให้สถานณ์มีดีขึ้น เขาได้ลองทำมาทุกๆอย่างเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่สิ่งที่เขาค้นพบก็คือ การจากไปคงจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและทำให้เขามีความสุขที่สุด เขาได้กล่าวเพิ่มเติมถึงญาติและครอบครัวของผู้ที่เสียชีวิตอีกว่า เขาเชื่อว่าในมุมของผู้เสียชีวิตเขาไม่ได้ต้องการให้คนอื่นเสียใจหรอก เขาแค่ต้องการที่จะมีความสุขบ้าง

    ประเด็นต่อมาที่ผมอยากจะทราบก็คือ แล้วในด้านของสังคมซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับผู้ป่วยโดยตรงหล่ะ ทำไมยังหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงเรื่องนี้อยู่ จากหลายๆท่านที่ผมได้สอบถามและได้หาข้อมูล ผมได้คำตอบว่า  เหตุผลจริงๆแล้วที่ผู้คนไม่อยากพูดถึงเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพราะว่าพวกเขาอยากจะละเลย แต่พวกเขาไม่ต้องการที่จะตอกย้ำจากการพูดถึงเพราะคำบางคำที่เขาพูดอาจจะส่งผลเสียต่อสภาพจิตใจผู้ป่วยซึ่งอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกแย่เข้าไปกันใหญ่ เหตุผลนี้ดูค่อนข้างเป็นเหตุเป็นผล แต่อย่างไรก็ตามผู้คนบางกลุ่มยังมองว่า โรคนี้เป็นโรคที่น่ารักเกียจซึ่งจะทำให้คนรอบข้างรู้สึกแย่ไปด้วย เพราะฉะนั้นคนกลุ่มนี้จึงเลือกที่จะลีกเลียงผู้ป่วยประเภทนี้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประกอบกับว่าโรคนี้ถูกจัดอยู่ในประเภทของ โรคทางจิต ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมุมมองที่มีต่อคำว่า โรคจิต ในสังคมปัจจุบันค่อนข้างที่จะเป็นไปทางลบ 

    อย่างสุดท้ายที่ผมอยากจะพูดถึงคือ แล้วเราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากโรคซึมเศร้า ส่วนตัวแล้วการเฝ้าระวังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ถึงแม้ว่ามันอาจจะยากในการรับรู้ว่าใครกำลังเป็นอยู่ แต่ผมเชื่อว่าการใส่ใจที่มากพอถึงความผิดปกติของเขา รายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เขาเปลี่ยนไป จากการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ มันเป็นตัวช่วยที่ดีในการช่วยและสังเกตผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า อย่างต่อมาคือ การละเลยเป็นสิ่งที่รับไม่ได้สำหรับสถาณการณ์นี้ การที่เราทราบว่าคนๆนึ่งเป็นโรคซึมเศร้าแต่เรากลับนิ่งเฉย ผมมองว่ามันเป็นสิ่งที่แย่กว่า การไม่ทราบอะไรเลย  ในด้านของรัฐควรจะดูแลและเอาใจใส่กับเรื่องนี้ให้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการจัดเตรียมบุคลากรทางด้านการแพทย์ที่มากพอและมีประสิทธิภาพ จากเว็ปไซต์ข้างต้นสถิติได้ระบุว่า 80-90 เปอร์เซนของผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาจะหายจากอาการซึมเศร้า ทางด้านของโรงเรียนควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพจิตให้มากและเข้มข้นขึ้น รวมทั้งสอนวิธีรับมืออย่างถูกต้อง สื่อโซเชียลมีเดียควรถ่ายทอดสื่อที่ให้ความรู้และเป็นประโยชน์ให้กับสังคม เพื่อที่ผู้คนในสังคมจะได้ปรับเปลี่ยนทัศนคติที่มีต่อโรคซึมเศร้าอย่างถูกต้อง

     ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าว่าพวกเราทุกคนจะกล้าเปิดปากพูดเรื่องนี้อย่างไม่อาย และผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทุกท่านจะได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและทันเวลาครับ

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in