เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย By โทเบียส กอมแบร์ และคณะ
  • รีวิวเว้ย (1327) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    กว่า 90 ปี ที่ระบอบประชาธิปไตยได้ปรากฎในประเทศไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในตอนย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 กว่า 90 ปีแล้วที่สังคมสยาม-ไทย ได้รู้จักกับสิ่งที่เรียกว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และก็เป็นเวลาอีกกว่า 90 ปีเล่นกันที่สังคมแห่งนี้ยังคงถกเถียงกันถึง ความหมาย คุณค่า ความสำคัญและความจำเป็นของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่ดู ๆ ไปแล้วความหาย ความสำคัญและความจำเป็นของคำดังกล่าวดูจะมีความลื่นไหลเปลี่ยนไปมาอยู่ตลอดหลายปีมานี้ ประชาธิปไตยถูกฉวยใช้ ต่อท้ายและแต่งเติม (คำคุณศัพท์ต่าง ๆ) เพื่อถูกใช้ในฐานะของเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมบางประการให้กับคนแต่ละกลุ่ม การแย่งยึดกุมความหมายของประชาธิปไตยได้กลายเป็นสนามประลองกำลังทางการเมืองขนาดใหญ่ของสังคมแห่งนี้มาเนิ่นนานกว่า 90 ปี
    หนังสือ : ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย
    โดย : โทเบียส กอมแบร์ และคณะ
    จำนวน : 192 หน้า
    .
    "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" เล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในลักษณะของ "คู่มือเบื้องต้น" สำหรับการเรียนรู้และการทำความเข้าใจในเรื่องของ "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" โดยที่ตัวหนังสือในเล่มถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐานของ "การสร้างความเข้าใจให้กับผู้อ่าน" ด้วยโจทย์หลัก ๆ ของหนังสือเล่มนี้ คือ ทำอย่างไรให้ผู้คนเข้าใจว่าอะไรคือสังคมประชาธิปไตย (?) และทำอย่างไรถึงจะช่วยให้ผู้คนตระหนักและรับรู้ถึงความสำคัญของสังคมที่เป็นประชาธิปไตย
    .
    โดยการเล่าเรื่องของ "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" ได้มีการวางโครงเรื่องและโครงร่างของเนื้อหาให้มีความสอดรับกันไปในแต่ละบทของหนังสือ ที่เนื้อหาใน "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" ถูกแบ่งออกเป็น 5 บทหลัก กับอีก 1 บทสรุป ดังต่อไปนี้
    .
    บทที่ 1 อะไรคือสังคมประชาธิปไตย บทนี้จะชวนให้ผู้อ่านตั้งคำถาม หาคำตอบและเรียนรู้ความหมายของคำว่าสังคมประชาธิปไตย
    .
    บทที่ 2 คุณค่าหลัก เนื้อหาในบทนี้จะว่าด้วยเรื่องของ นิยาม ความหายและความแตกต่างของหลักการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ อิสระภาพ, ความเท่าเทียม/ความเป็นธรรม, ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว, มุมมองาทงความคิดอื่น ๆ, คุณค่าหลักภาคปฏิบัติ
    .
    บทที่ 3 รูปแบบสังคม: การเปรียบเทียบ ในบทนี้จะบอกเล่าเรื่องของรูปแบบของสังคมที่มีความแตกต่างไปในแต่ละรูปแบบ โดยเนื้อหาในบทประกอบไปด้วยเรื่องของ ทุนนิมตลาดและประชาธิปไตย, จุดยืนเสรีนิยม, จุดยืนอนุรักษ์นิยม, สังคมประชาธิปไตยและสังคมนิยมประชาธิปไตย
    .
    บทที่ 4 ทฤษฎีสังคมประชาธิปไตยของโธมัน ไมเยอร์  โดยเนื้อหาในบทประกอบไปด้วยเรื่องของ จุดเริ่มต้นของแนวคิด, แนวคิดเรื่องอิสรนิยมกับสังคมประชาธิปไตย, สิทธิและเสรีภาพพลเมืองเชิงบวกและเชิงลบ และความรับผิดชอบของรัฐ
    .
    บทที่ 5 ประเทศต้นแบบ  โดยเนื้อหาในบทประกอบไปด้วยเรื่องของประเทศต้นแบบของหลักเรื่องของสังคมประชาธิปไตย อันได้แก่ สหรัฐอเมริกา บริเตนใหญ่ เยอรมนี ญี่ปุ่น และสวีเดน
    .
    บทที่้ 6 บทสรุป จุดเริ่มต้น
    .
    ย้อนกลับไปที่การทำความเข้าใจ "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" เราจะพบว่าเนื้อหาในบทต่าง ๆ ของหนังสือช่วยชี้ให้เราเห็นภาพของสังคมประชาธิปไตยตั่งแต่เรื่องของความคิดพื้นฐานกระทั่งให้เห็นแนวทางของประเทศที่เป็นต้นแบบของสังคมที่วางพื้นฐานของสังคมเอาไว้บนหลักการประชาธิปไตยกระทั่งสังคมแห่งนั้น ๆ เป็นสังคมที่มีประชาธิปไตยเป็นฐาน ความน่าสนใจอีกประการหนึ่งที่ "ความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย" ได้ทิ้งไว้ให้กับผู้อ่านคือหลักใหญ่ใจความของสังคมประชาธิปไตย ที่ในท้ายที่สุดแล้วสังคมที่เป็นสังคมประชาธิปไตยมุ่งเน้นในเรื่องของการเปิดพื้นที่ให้กับกลุ่มแนวคิดต่าง ๆ ในสังคม มิใช่ว่าสังคมที่มีประชาธิปไตยเป็นฐายและเบียดบัง กดขี่ บดขยี้และทำลายแนวคิดหรือความหลากหลายในสังคมที่คิด เห็นและเชื่อแตกต่างไปจากตนเอง ดังความพังพินของการฉวยใช้ประชาธิปไตยที่ผิดรูปรอยอยู่ในหลายสังคมดังเช่นปัจจุบัน
    .
    อ่านหนังสือความคิดพื้นฐานว่าด้วยสังคมประชาธิปไตย
    โทเบียส กอมแบร์ และคณะ ฉบับเต็มได้ที่ https://library.fes.de/pdf-files/bueros/thailand/13885.pdf

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in