เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่นฯ By นคร จันทศร แปล
  • รีวิวเว้ย (1324) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    หลายคนคงเคยได้ยินมุกตลกที่พูดถึงกิจการรถไฟในประเทศสยามกับประเทศญี่ปุ่นที่ทั้ง 2 ประเทศพัฒนาเรื่องของการขนส่งระบบรางในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันในช่วงสมัยของรัชกาลที่ 5 ของสยาม กระทั่งผ่านกาลเวลามากว่า 100 ปี การขนส่งทางรางของไทยก็ดูคล้ายจะหยุดอยู่ในช่วงเวลาภายหลังจากยุคสมัยของการเริ่มต้นไม่เท่าไหร่ กระทั่งมีมุกตลกที่บอกว่า "คนขับรถไฟในญี่ปุ่นมาเจอรถไฟในประเทศไทย และพูดว่ารถไฟรุ่นนี้ในญี่ปุ่นถ้าจะขึ้นไปขับได้คงต้องเปิดหนังสือประวัติศาสตร์รถไฟเพื่อทำความเข้าใจกลไกการทำงานของเครื่อง" น่าสนใจว่าในเมื่อจุดเริ่มต้นของทั้ง 2 ประเทศในเรื่องของหารขนส่งทางรากอยู่ในระนาบที่ใกล้เคียงกัน แล้วอะไรทำให้การรถไฟของประเทศญี่ปุ่นพัฒนาไปได้ไกลกระทั่งกลายเป็นประเทศระดับต้นของโลกในเรื่องของระบบการขนส่งทางราง
    หนังสือ : แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ
    โดย : นคร จันทศร แปล
    จำนวน : 60 หน้า
    .
    "แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ" หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่แปลมาจากต้นฉบับภาษาต่างประเทศที่ว่าด้วยเรื่องของพัฒนาการ การบริหารจัดการและการแปรรูปรถไฟของประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงผ่านการแปรรูปการรถไฟที่เปิดโอกาสให้ภาพเอกชนเข้ามาทำหน้าที่ในการบริหารจัดการการเดินรถไฟในประเทศ ที่ครั้งหนึ่งระบบการขนส่งทางรางของประเทศญีาปุ่นเคยสั่งสมหนี้สินไว้จำนวนมาก กระทั่งการแปรรูปนำพาระบบขนส่งทางรางของญี่ปุ่นมาสู่สถานะของประเทศที่มีระบบการขนส่งทางรางดีเป็นลำดับต้น ๆ ของโลก
    .
    โดยที่เนื้อหาของ "แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ" จะทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านกระบวนการ ขั้นตอน สถิติตัวเลข การวางแผนและการบริหารจัดการ ในเรื่องของการแปรรูปกิจการรถไฟจากแต่เดิมที่เป็นของรัฐและสั่งสมหนี้สินมากกว่าความมั่งคั่ง มาสู่การเข้ามามีบทบาทของภาคเอกชนในรูปของรัฐวิสาหกิจกระทั่งพัฒนาไปสู่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่เข้ามารับหน้าที่ในการบริหารและพัฒนาระบบการขนส่งทางรางของประเทศญี่ปุ่นให้พัฒนาก้าวหน้าขึ้นดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สำหรับเนื้อหาของ "แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ" 3 ตอนหลัก ที่ในแต่ละตอนจะประกอบไปด้วยเนื้อหาในแต่ละส่วนที่บอกเล่าเรื่องราวของการพลิกสถานการณ์จากติดลบกระทั่งสู่การสร้างรายได้และการพัฒนาของระบบขนส่งดังกล่าว
    .
    [ตอนที่ 1 บทบาทสำคัญของรถไฟในการขนส่งผู้โดยสารในประเทศญี่ปุ่น]
    .
    บทที่ 1 บทบาทสำคัญของรถไฟในการขนส่งผู้โดยสารในประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วยเรื่องของ ความหนาแน่นของประชากร และความแออัดของประชากรในโตเกียว
    .
    บทที่ 2 ภาพรวมการขนส่งผู้โดยสาร ประกอบด้วย บทบาทที่สำคัญของรถไฟ, การขนส่งระหว่างเมือง และการขนส่งผู้โดยสารชานเมืองและนักเรียนในพื้นที่เมือง
    .
    [ตอนที่ 2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของการรถไฟแห่งชาติ (JNR)]
    .
    บทที่ 1 ทำไมจึงต้องปรับปรุงโครงสร้างการบริหาร ประกอบไปด้วย ความล้มเหลวในการบริหาร, สาเหตุของความล้มเหลวในการบริหาร และความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างระบบจัดการ
    .
    บทที่ 2 แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารของ JNR ประกอบด้วยเรื่องของเป้าหมายการแยกของ JNR ออกเป็นหน่วยงานขนาดเล็กและบริหารจัดการโดยภาคเอกชน และวิธีการและสาระสำคัญในการปรับโครงสร้าง
    .
    [ตอนที่ 3 แนวทางการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทในเครือ JR หลังการแยกตัวและแปรรูป JNR]
    .
    บทที่ 1 การพยากรณ์ที่รัฐบาลทำไว้เมื่อพิจารณารูปแบบ JNR (ระหว่างปี 2529-2534) ประกอบไปด้วยเรื่องของปริมาณการขนส่ง, อัตราค่าโดยสารและค่าระวาง และผลกำไร
    .
    บทที่ 2 บริษัทในกลุ่ม JR ภายหลังการแยกตัวและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติญี่ปุ่น (2530 ถึง 2534) ประกอบไปด้วยเรื่องของ เงื่อนไขที่เอื้อต่อการบริหาร, ปัจจัยสนับสนุนการบริหารที่ประสบความสำเร็จ
    .
    บทที่ 3 การซื้อโครงสร้างขนส่งของรถไฟชิงคันเซน และการนำหุ้นเข้าจดทะเบียนในตลาดหลังทรัพย์  ประกอบไปด้วยเรื่องของ การซื้อโครงสร้างขนส่งของรถไฟชิงคันเซน และการจดทะเบียนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์
    .
    "แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ" ได้ฉายให้เราเห็นถึงพัฒนาการ รูปแบบ เหตุผลและผลสำเร็จของการแปรรูปกิจการรถไฟของญี่ปุ่นที่เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามาทำหน้าที่ในการพัฒนาและออกแบบบริการ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ "แปรรูปการรถไฟแห่งชาติของประเทศญี่ปุ่น แนวทางการปรับโครงสร้างองค์กรและแปรรูปการรถไฟแห่งชาติ" ช่วยฉายให้เราเห็นคือบทบาทและการตัดสินใจของภาครัฐที่ตั้งใจจะเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการบริหารกิจการสาธารณะ บนฐานของการพัฒนาและสร้างรายได้หากแต่ฐานคิดของการสร้างรายได้ดังกล่าวยังคงวางตัวอยู่บนฐานคิดและการตัดสินใจเพื่อให้ประชาชนได้รับ "บริการสาธารณะ" ที่มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและสอดรับกับวิถีของผู้คนในสังคมได้โดยไม่สร้างภาระที่เกินจำเป็น อีกทั้งไม่ละเลยและไม่ทิ้งใครเอาไว้ข้างหลังบนเส้นทางของรถด่วนขบวนการพัฒนา

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in