เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
SONG WAT GUIDEBOOK By ภัทริยา พัวพงศกร
  • รีวิวเว้ย (1459) ย่านเก่าและชุมชนเก่าหลายแห่งให้กรุงเทพฯ กำลังถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นย่านที่ละทิ้งความทรงจำเดิมของพื้นที่ ซึ่งกระบวนการในการเปลี่ยนพื้นที่กำลังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและในหลายพื้นที่ได้ส่งผลให้วิถีชีวิตดั้งเดิมของเมืองและคนมนเมืองเปลี่ยนไปตลอดกาล ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมิใช่ของใหม่หากแต่เกิดขึ้นมาเนิ่นนานโดยเฉพาะกับพื้นที่ที่ถูกหยิบชูจุดขายในเรื่องของความเก่าแก่ของเมืองกระทั่งเกิดเป็นกระแสของการย้ายเข้าของอุตสาหกรรมที่อาศัยความเก่าแก่เป็นจุดขาย ซึ่งส่งผลให้คนที่อยู่เดิมต้องย้ายออกอันเป็นผลจากความเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน อย่างเรื่องของการเพิ่มขึ้นของค่าเช่าหรือการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้คนจากต่างถิ่น ปัจจุบันหลายย่านเก่าในกรุงเทพฯ กำลังเผชิญปัญหาดังกล่าวแต่ผู้คนละเลยที่จะมองมันในฐานะของปัญหาของเมือง ผู้คนมองแค่ว่าการทำให้ย่านเก่ากลับมามีชีวิตอีกหนจากกิจกรรมทีถมเติมเข้ามาในพื้นที่ ขณะเดียวกันกิจกรรมเหล่านั้นก็สร้างเงื่อนไขในการกีดกันคนในเมืองและย่านนั้นออกไปจากวิถีเดิมของเมือง กระบวนการดังกล่าวถูกเรียกว่า Gentrification ยิ่งกับในวิธีคิดแบบไทยที่เป็น State-Led Gentrification ด้วยแล้วยิ่งเป็นกระบวนการของการพัฒนาเมืองแบบไม่สนใจผู้คนที่เคยอาศัยอยู่ในเมือง
    หนังสือ : SONG WAT GUIDEBOOK
    โดย : ภัทริยา พัวพงศกร
    จำนวน : 95 หน้า

    "SONG WAT GUIDEBOOK" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของย่าน "ทรงวาด" ย่านการค้าเก่าแกของกรุงเทพฯ และของไทย ที่มีประวัติศาสตร์ย้อนกลับไปได้ตั้งแต่ช่วงก่อนจะใช้ชื่อว่าประเทศไทยเสียอีก โดยที่หนังสือ "SONG WAT GUIDEBOOK" บอกเล่าเรื่องราวของย่านทรงวาดผ่านลักษณะของการบอกเล่าในแบบของ Guidebook ที่หลายคนอาจจะแปลว่า "หนังสือนำเที่ยว" แต่ในบางความหมายคำนี้ก็อาจจะแปลว่าหนังสือคู่มือหรือคำแนะนำได้เช่นกัน ดังนั้น "SONG WAT GUIDEBOOK" จึงทำหน้าที่คล้ายเป็นทั้งหนังสือที่แนะนำย่านทรงวาดให้ผู้คนได้เข้าใจเรื่องราว บริบทชุมชนและประวัติศาสตร์ของย่าน ไปพร้อม ๆ กับการแนะนำอาหาร ผู้คน วัฒนธรรมและสถานที่ให้กับหลาย ๆ คนได้รู้จักด้วยในเวลาเดียวกัน
    .
    โดยความตั้งใจของเหล่าผู้คนที่ร่วมแรงกันในการทำหนังสือ "SONG WAT GUIDEBOOK" ปรากฏอยู่ในคำนำของหนังสือที่ว่า "หลังจากตกหลุมรักทรงวาดมานานหลายปีดีดัก เราก็ค้นพบว่าคนรักย่านเก่าไม่ได้มีแค่เราคนเดียว ผู้เขียนมาส่งว่าตั้งแต่เด็ก โตขึ้นก็ได้เขียนถึงบริเวณนี้บ่อยครั้ง จนได้พบกับกลุ่ม Made in Song Wat กลุ่มผู้ประกอบการรุ่นใหม่ที่พากิจกรรมใหม่ ๆ สู่ทรงวาด ประกอบกับได้แรงสนับสนุนจากร้านค้าเก่าแก่ และความร่วมมือจากศาสนสถาน พลังของทุกคนที่อยากขับเคลื่อนยานทำให้ Guidebook ทรงวาดปี 2023 เกิดขึ้น หลายเดือนที่ผ่านมาเราเก็บข้อมูลของสถานที่ท่องเที่ยว ร้านค้า ร้านอาหาร บาร์ คาเฟ่ โรงแรม รวมกว่า 50 แห่ง ไล่เรียงจากถนนทรงวาดไปจนถึงเพื่อนบ้านใกล้เคียงอย่างถนนพาดสายและซอยวานิช หนึ่ง ซึ่งจะพาคุณไปค้นพบไชน่าทาวน์ที่ไม่ได้มีแค่เยาวราช พื้นที่หลังถนนสายมังกรมีอะไรอีกมากให้ค้นหา นี่ไม่ใช่แค่หนังสือนำเที่ยวแต่เป็นจดหมายรักตญาณ ที่เราขอชวนคุณมาทำความรู้จักและรักทรงวาดไปด้วยกัน" (น. คำนำ)
    .
    เมื่ออ่าน "SONG WAT GUIDEBOOK" จบลง มันทำให่เราย้อนกลับไปนึงถึงคำว่า Gentrification ที่สะท้อนผ่านความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ และส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในพื้นที่ทรงวาด หากแต่สิ่งที่ปรากฏอยู่ในหนังสือให้อารมณ์ที่แตกต่างไปจากวิธีการแบบ State-Led Gentrification เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นในย่านทรงวาดคือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากผู้คนและชุมชนร่วมมือกันในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และแน่นอนว่าในอีกหลายย่านของกรุงเทพฯ ก็กำลังดำเนินไปในรูปแบบเดียวกันกับย่านทรงวาด อย่างกรณีของ "ถนนสายไม้ ย่านบางโพ" ก็ให้อารมณ์และความรู้สึกในแบบเดียวกันที่ผู้คนและชุมชนร่วมกันเปลี่ยนแปลงย่านของตนผ่านรากฐานทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของพื้นที่

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in