เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก By แทนไท ประเสริฐกุล แปล
  • รีวิวเว้ย (1430) ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อน จุดเริ่มต้นการอ่านหนังสือเล่มแรก ๆ ที่ทำให้ทุกคนอ่านหนังสือมาจนถึงวันนี้ ยังมีใครจำได้บ้างว่าจุดเริ่มต้นกับความทรงจำหนังสือเล่มแรกของแต่ละคนมันเริ่มต้นที่เล่มไหนกัน (?) สำหรับเราย้อนกลับไปสมัยที่เรียนมัธยมหนังสือเล่มแรกที่ทำให้เด็กสายวิทยาศาสตร์ผู้ชอบวิชาสังคมศาสตร์ หันมาสนใจวิทยาศาสตร์อีกหนหลังจากเรียกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แบบพอผ่าน คือ หนังสือที่ชื่อว่า "โลกจิต" และหลังจากนั้นเราก็ตามอ่านหนังสืออีกหลายเล่มของผู้เขียน และขยายจักรวาลมาสู่หนังสือความรู้วิทยาศาสตร์หลังจากที่เข็ดขยาดกับวิทยาศาสตร์ในชั้นเรียนมาเนิ่นนาน น่าแปลกใจว่าทำไมในห้องเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ หรือในทุก ๆ วิชาในโรงเรียนไทยความรู้จึงถูกทำให้ดูยากทั้งความเข้าใจ และยากต่อการเข้าถึง คล้ายกับว่าความรู้ในห้องเรียนเป็น "สิ่งศักดิ์สิทธิ์" ที่มีไว้ให้บูชามากกว่าจะมีไว้ให้ "เข้าใจ" อย่างนั้นแหละ ทั้งที่ในปัจจุบันหนังสือหลายเล่ม นักเขียนหลายคน แสดงให้เห็นแล้วว่า "ความรู้" คือสิ่งที่ผู้คนพึงเข้าถึงในแบบที้เป็นเพื่อนคู่คิดมิตรคู่ตัว เช่นนั้นหนังสือทุกแบบหากเราอ่านมันดูดี ๆ ในนั้นมีความรู้ที่น่าสนใจซุกตัวอยู่เต็มไปหมด ไม่เว้นแม้แต่หนังสือนิยาย
    หนังสือ : คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก
    โดย : แทนไท ประเสริฐกุล แปล
    จำนวน : 288 หน้า
    .
    บนคำโปรยปกหลังของหนังสือ "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" มีข้อความกำกับเอาไว้ว่า "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก ซีรีย์นิยายไซไฟสุดคลาสสิก ... เปิดตำนานการพจญภัยสุดวายป่วง ที่นำไปสู่คำถามยิ่งใหญ่ระดับอภิปรัชญาแห่งชีสิวิ จักรวาล และสรรพสิ่ง" ย้อนกลับไปเมื่อหลายปีก่อนเราเคยอ่านหนังสือเล่มนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง หากแต่ในช่วงเวลานั้นสิ่งที่ได้จาก "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" คือความรู้สึกสนุกปนกับคำถามที่ว่าเราเข้าใจอะไรบางอย่างถูกต้องรึเปล่านะ (?)
    .
    กระทั่งเมื่อมีโอกาสได้กลับมาอ่าน "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" อีกครั้งในฉบับพิมพ์ใหม่ และในวันที่ตัวเองอยู่ในวัย 30 สายตายและสิ่งที่เราให้ความสนใจในหนังสือเล่มนี้กลับเปลี่ยนไปจากการอ่านครั้งแรกมากนัก ทั้งที่ความสนุกของหนังสือยังคงอยู่เช่นเดิม หากแต่สิ่งที่เพิ่มเติมคำมาคือคำถามต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของชีวิต ความบังเอิญ ความจำเป็นของการทำลายบางสิ่งเพื่อสร้างบางอย่างที่อาจจะเชื่อกันไปเองว่าดีและจำเป็น ทั้งที่เมื่อถึงเวลานั้นสิ่งเหล่านั้นมันอาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไปเมื่ออนาคตอันใกล้วิ่งไล่หลังมาติด ๆ
    .
    "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" เป็นนวนิยานไซไฟที่ถูกเขียนขึ้นเมื่อหลายสิ่งปีก่อนหน้า หากแต่บริบทหลายอย่างยังคงอยู่และปรากฏชัด โดยเฉพาะในสังคมไทย (โดยตัวเราเองมองมันจากสายตาของนักเรียนรัฐศาสตร์) ที่ก็แปลกดีที่ไม่รู้จะอธิบายว่าบริบทของสังคมไทยเปลี่ยนน้อยไป หรือว่ามันไปไม่พ้นเรื่องเดิม ๆ ในสังคมแห่งนี้ "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" เป็นเรื่องราวของ อาร์เธอร์ เดนต์ (มนุษย์โลก) และ ฟอร์ด พรีเฟกต์ (นักโบกต่าวดาวที่มาเยื่อนโลก) ที่ต่างต้องมาเผชิญเรื่องหายนะอย่างไม่มันคิดฝัน และหายนะเหล่านั้นก็ดูจะนำพาไปสู่จุดต่อไปในความเปลี่ยนแปลงของตัวแสดงทั้ง 2 ของเรื่อง ที่เรื่องราวแต่ละอย่างที่ปรากฏในหนังสือ "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" จะทำให้ผู้อ่านเผลออุทานว่า "อะไรวะเนี่ย" อยู่บ่อยครั้ง กระทั่งในท้ายที่สุด "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" จะชวนให้เราตั้งคำถามต่อตัวตนในจุดที่เรากำลังหยัดยืน ซึ่งเราเองการได้อ่าน "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" อีกครั้งในวันที่อายุ 30 ปี เราเกิดคำถามขึ้นมากมายโดยเฉพาะการตั้งคำถามในเรื่องของชีวิตและตัวตน ที่หลายคนชอบบอกว่าและเตือนว่าให้ใช้ชีวิตแบบนั้นแบบนี้ ทั้งที่เราก็ลืมคิดไปว่าไม่แน่เราอาจจะมีโอกาสหายไปเมื่อไหร่ก็ได้ และโลกทั้งใบก็อาจจะหายไปเมื่อไหร่ก็ได้เช่นเดียวกัน "คู่มือท่องกาแล็กซีฉบับนักโบก" เตือนเราเอาไว้ว่าจงกระชับผ้าเช็ดตัวเอาไว้ให้ดี ๆ และจงมีมันติดตัวเอาไว้ซะ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in