เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม By ประภาส ปิ่นตบแต่ง
  • รีวิวเว้ย (1416) ย้อนกลับไปเมื่อกว่า 15 ปีก่อน สมัยที่ยังไม่เข้าเรียนหนังสือในมหาวิทยาลัย เรามักจะได้ยิ่นข่าวเรื่องของ "ม็อบ" หรือกลุ่มคนที่ออกมาชุมนุมประทวงเรื่องต่าง ๆ จากรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาปาก-ท้อง ของกลุ่มคนที่ออกมาประทวง อาทิ ม็อบโคนม ม็อบมัน ม็อบข้าวโพด และอีกหลายม็อบที่สมัยเด็กเราเคยเห็นจากข่าวตามสื่อต่าง ๆ แต่เมื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย การได้เรียนวิชา "การเมืองภาคประชาชน" ทำให้เราเข้าใจเรื่องของม็อบหรือกลุ่มคนที่ออกมาประทวงเรียกร้องเรื่องต่าง ๆ จากรัฐบาลมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเมื่อได้อ่านหนังสือเรื่อง "การเมืองบนท้องถนน : 99 วัน สมัชชาคนจน และประวัติศาสตร์การเดินขบวน ชุมนุมประท้วงในสังคมไทย" มุมมอง ความรับรู้และความเข้าใจในเรื่องของการเมืองภาคพลเมืองของตัวเราเปลี่ยนไปอย่างชัดเจน จากเดิมที่เคยมองว่าการกระทำของคนกลุ่มนี้เป็นเพียงด้านเดียวอันเป็นผลมาจากความต้องการของกลุ่มคน แต่ในความเป็นจริงแล้วในปัญหาเรื่องหนึ่งอาจจะมีองค์ประกอบที่หลากหลายและเหตุการณ์มากมายกระทั่งนำมาสู่การลงถนนของผู้คนที่เขาต้องการทางออกของปัญหา
    หนังสือ : กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม
    โดย : ประภาส ปิ่นตบแต่ง
    จำนวน : 208 หน้า
    .
    หากจะกล่าวว่าหนังสือเรื่อง "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" เป็นการหยิบเอาหลักทางทฤษฎีมาใช้ในดารอธิบายปรากฏการณ์ของกลุ่ม/ขบวนการทางสังคม ก็ไม่ผิด เพราะหนังสือ "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" มุ่งหวังที่จะอธิบายเรื่องของขบวนการทางสังคมที่ไกลไปกว่าการบอกปัดแบบผ่าน ๆ ว่าการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมเป็นเพรียงเรื่องของ "ผลประโยชน์" ทั้งที่ในความเป็นจริงสิ่งที่อยู่เบื้อหลังขบวนการหรือกลุ่มทางสังคมมันมีมากไปกว่าเรื่องของ "ผลประโยชน์" แต่เพียงประการเดียว หากแต่มีอีกหลากหลายเงื่อนไขที่เป็นแรงขับเคลื่อนของขบวนการทางสังคมกลุ่มต่าง ๆ
    .
    เนื้อหาในแต่ละบทของ "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" แบ่งวิธีการนำเสนอเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนหลักได้แก่ บทนำ, ตัวทฤษฎีบท ฐานคิดและแนวคิดที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับทฤษฎีต่าง ๆ, บทสรุป ซึ่งในแต่ละบทของ "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" จะมีการขมวดปมในส่วนท้ายของบทเพื่อเป็นการสรุปภาพร่วมของทฤษฎีแต่ละเรื่อง โดยแต่ละบทของเนื้อหาแบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 ทฤษฎีพฤติกรรมรวมหมู่
    .
    บทที่ 2 ทฤษฎีการระดมทรัพยากร
    .
    บทที่ 3 ทฤษฎีกระบวนการทางการเมือง
    .
    บทที่ 4 ทฤษฎีขบวนการทางสังคมใหม่
    .
    บทที่ 5 ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคม
    .
    บทที่ 6 ผลสำเร็จ ล้มเหลว หรือผลสะเทือนของขบวนการทั้งสังคม
    .
    การกลับมาอ่าน "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" อีกครั้งหลังจากที่เคยอ่านไปเมื่อหลายปีก่อน ทำให้เราย้อนกลับมานึงถึงความเปลี่ยนแปลงของแนวทางในการต่อสู้ของขบวนการทางสังคม ที่รูปแบบ วิธีการ ขั้นตอน แนวทาง การรวมกลุ่มของผู้คน ประเด็นปัญหา และอื่น ๆ เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อสมัยเด็กที่เรานั่งดูข่าวเรื่องของการเคลื่อนไหวชุมนุนประทางของกลุ่มเกษตรกร นับตั้งแต่เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มเด็กและเยาวชนในช่วงปี พ.ศ. 2562 การได้กลับมาอ่าน "กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม" ทำให้เราย้อนกลับไปมองการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นและครั้งต่อ ๆ มาได้อย่างมีมิติมากยิ่งขึ้น เพราะหลายปีที่ผ่านมาเราอาจจะหลงลืมไปเองว่า "ขบวนการทางสังคม" หลายกลุ่มเขาขับเคลื่อนปัญหาของตัวเองบนฐานคิดที่มากไปกว่าสิ่งที่เราเข้าใจและมองเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in