เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่ By ศิบดี นพประเสริฐ
  • รีวิวเว้ย (1402) ในยุคหนึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคนที่เล่นมุขเกี่ยวกับประเทศไทย ว่าชาวต่างชาติมักจะเข้าใจว่าประเทศไทยเท่า "ไต้หวัน" และในยุคหนึ่งชาวต่างชาติก็อาจจะยังเข้าใจว่าคนไทย "ขี่ช้างไปโรงเรียน" เมื่อย้อนกลับไปในอดีตความรับรู้เกี่ยวกับประเทศไทยในมุมมองดังกล่าวอาจจะเป็นเรื่องปกติ เพราะประเทศไทยไม่ได้เป็นหมุดหมายสำคัญในสายตาของชาวโลกเท่าใดนัก โดยเฉพาะเมื่อเทียบเคียงกับความรับรู้ที่มีต่อประเทศหลายประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ด้วยสถานะของความครึ่ง ๆ กลาง ๆ ในการรับรู้ของชาวต่างชาติต่างภาษายังผลให้การสร้างความรับรู้ในเวทีระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นยิ่งประการหนึ่ง และการสร้างความรับรู้ในลักษณะนี้ของประเทศไทย (สยาม) มิได้จำกัดอยู่แค่เพียงเรื่องของบทบาททางการเมือง การทหารหรือการส่งออกทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ แต่เพียงเท่านั้นหากแต่ในครั้งอดีตกระทั่งปัจจุบัน ยังมีอีกหลายอย่างที่สยาม-ไทย ใช้ในการสร้างความรับรู้ในเวทีระหว่างประเทศ
    หนังสือ : พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่
    โดย : ศิบดี นพประเสริฐ
    จำนวน : 218 หน้า
    .
    เครื่องแต่งกาย เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ความรับรู้ในเวทีระหว่างประเทศ อย่างในกรณีของชุดประจำชาติ ชุดที่เป็นสัญญะทางวัฒนธรรมหรือแสดงถึงจุดยืนบางประการ หรือแม้กระทั่งชุดของ "สตรีหมายเลข 1" ของรัฐนั้น ๆ ก็สามารถสร้างพื้นที่ของความรับรู้ได้ไม่แพ้การดำเนินนโยบายด้านอื่น ๆ การสร้างภาพจำผ่านเครื่องแบบและเครื่องแต่งกายมิได้ผูกติดแนวคิดเหล่านี้เอาไว้แต่เสื้ผ้าของสตรีแต่เพียงเท่านั้น หากแต่เสื้อผ้าของผู้คนได้กลายมาเป็นมาตรวัดความเจริญศิวิไลซ์ ของบ้านเมืองและผู้คนไปโดยปริยาย ดังที่เราจะเห็นได้กับการเกิดขึ้นของแนวคิดเรื่องของเสื้อผ้ากับความเป็นสมัยใหม่ ที่ในสังคมสยาม-ไทย เองสิ่งเหล่านี้เริ่มต้นและส่งต่อกันมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ยุดต้นรัตนโกสินทร์ สู่ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุคสงคราม กระทั่งสมัยปัจจุบัน
    .
    "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" หนังสือที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัย ที่มุ่งเน้นการศึกษาไปที่เรื่องของ "พัสตราภรณ์" อันหมายถึง ๒
    "เครื่องแต่งกาย เสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม ที่มีความงามและทรงคุณค่า" ที่เชื่อมโยงเข้ากับเรื่องของ "การต่างประเทศ" ของสยามถึงไทย ที่เรื่องของเสื้อผ้าของชนชั้นสูงเข้าไปมีส่วนสำคัญในการสร้างและกำหนดการรับรู้ในระดับระหว่างประเทศ ในฐานะของหนึ่งในเครื่องมือที่กำหนดสถานะบางประการของสยาม-ไทย ในความรับรู้ในสายตาของชาวต่างชาติต่างภาษาและต่างวัฒนธรรม อย่างกรณีของการแสดงสถานะของความเป็น "สมัยใหม่" แสดงถึงการมีความศิวิไลซ์ของสยาม-ไทย ผ่านการใส่เสื้อผ้าแทนการเปลือนท่อนบนในยุคอดีต และอีกหลายกรณีดังที่มีปรากฏเรื่องเล่าและบันทึกเรื่องราวในหนังสือ
    .
    "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" ให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษาเรื่องของเครื่องแต่งกายของชนชั้นสูง ที่เข้าไปเชื่อมโยงกับเรื่องของงานที่เกี่ยวกัลการระหว่างประเทศของสยาม-ไทย ด้วยการพาผู้อ่านย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์ เพื่อศึกษาเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของผู้หญิงชั้นสูงในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผ่านยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ยุคสมัยแห่งสงคราม กระทั่งถึงยุคปัจจุบัน ที่รูปแบบของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายได้เข้าไปมีบทบาทสำคัญในการสร้างความรับรู้และภาพจำบางประการในระดับระหว่างประเทศ
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" เริ่นต้นขึ้นด้วยเรื่องของการนำเสนอมุมมองที่นำมาใช้เป็นกรอบโครงของงานศึกษาชิ้นนี้ผ่านกรอบแนวคิดและทฤษฎี เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ผ่าน"พัสตราภรณ์" ที่ส่งผลกระทบต่อกับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่ ด้วยการแบ่งเนื้อหาของการนำเสนอออกเป็น 6 บทดังนี้
    .
    บทนำ
    .
    กรอบแนวคิด
    .
    พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศของไทยในยุคจักรวรรดินิยมจนถึงสงครามโลกครั้งที่ 2
    .
    พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศของไทยในยุคสงครามเย็น
    .
    พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศของไทย: แนวโน้มหลังสิ้นสุดสงครามเย็นจนถึงปัจจุบัน
    .
    สรุป
    .
    "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาในเรื่องของเครื่องแต่งกายที่เข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้องกับเรื่องของการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทย ทั้งการกำหนดและสร้างความรับรู้เกี่ยวกัลสยาม-ไทย แบบใหม่ลงใยการจดจำของชาวต่างชาติ และ "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" ยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญในบทบาทของผู้หญิงที่ถูกปรับเปลี่ยนสถานะ ถูกหยิบชูและให้ความสำคัญ ที่มีความเปลี่ยนแปลงไปจากในครั้งอดีตของสังคมสยาม-ไทย อีกทั้ง "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" ยังชวนให้เราคิดต่อไปอีกว่า แล้วเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของคนกลุ่มอื่น ๆ ในสังคมสยาม-ไทย มันสร้างความรับรู้ที่แตกต่าง หรือสะท้อนอะไรบางอย่างออกมาได้มากน้อยเพียงใด น่าสนใจว่าหสกในภายหน้ามีการหยิบเอาเรื่อง "พัสตราภรณ์กับการต่างประเทศไทยสมัยใหม่" ไปขยายขอบเขตหรือเปลี่ยนบริบทในการศึกษา เพื่อให้เกิดบทสนทนาทางวิชาการในมุมและด้านที่หลายหนผู้คนก็เลือกที่จะละเลยมันด้วยความตั้งใจ เพียงเพราะมันเป็นสิ่งที่หลุดพ้นไปจากความเคยชินของผู้คนทั้งมวล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in