เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ By ทิวาพร ใจก้อน
  • รีวิวเว้ย (1395) การปฏิวัติเขียว หรือ การปฏิวัติเกษตรกรรมครั้งที่สาม เป็นชุดการริเริ่มการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1950 ถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 ส่งผลให้หลายพื้นที่ในโลกมีผลผลิตทางการเกษตรเพิ่มขึ้น ซึ่งปรากฏชัดช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1960 และได้กลายมาเป็นยรากฐานสำคัญของแนวคิดในเรื่องของการขับเคลื่อนเรื่องของการเกษตรกรรมของโลก เพราะการปฏิวัติเขียวนี้เองที่นำพามาสู่รูปแบบของการผลิตผลผลิตทางการเกษตรในปริมาณมาก ทำให้ระบบการบริหารจัดการทืางด้านเกษตรกรรมต้องมีพัฒนาการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งเรื่องของเทคโนโลยีในการปลูก เก็บเกี่ยว และการกำจัดศัตรูพืชที่เป็นปัญหาใหญ่ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อีกทั้ง การปฏิวัติเขียว ยังนำพามาสู่การขยายตัวขององค์ความรู้ในหลากหลายด้าน อาทิ ด้านระบบการเกษตร ด้านการกำจัดศัตรูพืช และในด้านของระบบการบริหารจัดการนำ เพื่อให้ระบบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของการปฏิวัติเขียว ไปได้โดยตลอด และแน่นอนว่าไม่มีประเทศใดในโลกหลบหนีแนวคิดดังกล่าวได้พ้น หากแต่ความน่าสนใจคือการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงบริบทของสังคมนั้น ๆ ไปสู่สังคมเกษตรกรรมแบบมุ่งเน้นผลผลิตจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง 
    หนังสือ : รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ 
    โดย : ทิวาพร ใจก้อน 
    จำนวน : 312 หน้า
    .
    "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" ในชื่อเต็ม ๆ ของหนังสือว่า "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ แนวคิด และความรู้ เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทย พ.ศ. 2435-2487" หนังสือที่ปรับปรุงจากวิทยานิพันธ์ของผู้เขียนที่ทำเรื่องของประวัติศาสตร์ของรัฐสยาม-ไทย ที่มีต่อการกำจัดศัตรูพืช โดยที่ผู้เขียนพาย้อนกลับไปทำความเข้าใจในเรื่องของการกำจัดศัตรูพื้ชของรัฐสยาม-ไทย ผ่านบริบทต่าง ๆ นับตั้งแต่ช่วงก่อน พ.ศ. 2535 กระทั่งถึงช่วงเวลาของการก้าวเข้ามามีบทบาทของบรรดาภาคธุรกิจเคมีภัณฑ์ในรัฐไทย ที่บริษัทเหล่านี้ได้กลายมาเป็นกลไกหลักและปัจจัยสำคัญของการดำเนินงานทั้งในภาคนโยบายและภาคปฏิบัติของไทยในเรื่องของการเกษตร 
    .
    "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" นำเสนอมุมองในเรื่องของความสัมพันธ์ของผู้คนในสยาม-ไทย ต่อแนวคิดในเรื่องของการกำจัดศัตรูพืชที่ผ่านพัฒนาการทั้งทางวัฒนธรรมความเชื่อ การปพร่กระจายของอิทธิพลการศึกษาในเรื่องของการจัดการเกษตรตามแบบฉบับของต่างประเทศในกาลสมัยที่สยามส่งบุคลากรไปเรียนต่อในต่างประเทศและรับเอาองค์ความรู้หลายประการจากต่างประเทศมาปรับใช้ กระทั่งนำมาสู่การขยายตัวและก่อเกิดเป็นกระทรวงเกษตร ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวให้ความสำคัญกับการกลายเป็นสมัยใหม่ขจองกลไกในการจัดการเกษตรกรรมของรัฐ 
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" แบ่งออกเป็น 6 บท ที่จะบอกเล่าเรื่องราวของสยาม-ไทย กับการจัดการจัดการธรรมชาติ นับตั้งแต่ก่อนการเข้ามาของแนวคิดสมัยใหม่ โดยฉายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติ กระทั่งการก้าวเข้ามาขององค์ความรู้ในการจัดการธรรมชาติแบบสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ และด้วยความที่ "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" ปรับปรุงมาจากงานวิชาการที่มีขนบและรูปแบบของการขจัดวางเนื้อหาในแบบฉบับของวิธีทางวิชาการ ทำให้บทที่ 1 ของหนังสือเป็นการบอกเล่าเรื่องราวตามกรอบวิธีการของระเบียบวิธีวิจัยอีกต่อหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้โดยง่ายว่าหนังสือ "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" กำลังจะบอกเล่าสิ่งใด และมีวัตถุประสงค์อย่างไร โดยเนื้อหาของ "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ 
    .
    บทที่ 2 แนวคิดและความรู้ศัตรูพืชแบบดั้งเดิมในสังคมไทย (ก่อน พ.ศ 2435)
    .
    บทที่ 3 แนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทย พ.ศ. 2435-2487
    .
    บทที่ 4 กระทรวงเกษตรกับแนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชในสังคมไทยหลัง พ.ศ. 2435
    .
    บทที่ 5 แนวคิดและความรู้เรื่องศัตรูพืชสมัยใหม่แบบตะวันตกกับการเปลี่ยนปลงด้านการเกษตรในสังคมไทย
    .
    บทที่ 6 บทสรุป
    .
    เมื่ออ่าน "รัฐสยามกับการจัดการธรรมชาติ" จบลง คำถาม 2 ประการที่เกิดขึ้นหลังอ่านจบ ประการแรกคือ หากการนำเข้าองค์ความรู้ในเรื่องของการจัดการธรรมชาติและเกษตรกรรม มิได้เป็นชุดความรู้ของชาติที่ถูกเรียกว่าเป็นมหาอำนาจในช่วงเวลานั้น หาดกแต่เป็นชุดความรู้การจัดการธรรมชาติจากอีกกลุ่มชนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตและชุดความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง น่าสนใจว่าแนวทางในการจัดการธรรมชาติที่ยังผลมาสู่ปัจจุบันจะมีลักษณะหน้าตาเป็นเช่นไร และประการต่อมา การเรียนรู้ประเด็นเรื่องของการควบคุมธรรมชาติของรัฐสยาม-ไทย ช่วยให้เรามองเห็นบริบทบาทประการของการขับเคลื่อนแนวทางและนโยบายในเรื่องของการจัดการเกษตรกรรมของรัฐไทยดังที่ปรากฎรูปอยู่ในปัจจุบัน และยังช่วยให้เราเข้าใจรากฐานของวิธีคิดบางประการในการขับเคลื่อนนโยบายทางการเกษตรดังที่ได้ก่อรูปมาตั้งแต่ช่วงแรกรับเอาแนวงความคิดเรื่องของการควบคุมธรรนมชาติเข้ามาใช้ในรัฐ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in