เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า
  • รีวิวเว้ย (1357) ในช่วงเวลาหนึ่งในอดีต สังคมไทยเคยมีสำนวนหรือประโยคย่ำล้อเกี่ยวกับเรื่องของคนต่างชาติพันธุ์และต่างศาสนากับคนไทย อาทิ "ถ้าเจองูกับเจอแขกให้ตีแขกก่อนตีงู" ในช่วงเวลานั้นเราเองไม่ได้เข้าใจความหมายของคำดังกล่าว หากแต่เข้าใจว่าเป็นคำที่ผู้เฒ่าผู้แก้นิยมพูดกัน กระทั่งไม่นานมานี้เราพึงเข้าใจในบริบทและที่มาที่ไปของคำดังกล่าวว่ามาจากเหตุที่ "แขก" ในยุคนั้นบ้างมีอาชีพปล่อยเงินกู้ บ้างมีอาชีพขายมุ้งและที่นอน ซึ่งสินค้าที่พวกเขาจำหน่ายต่างเป็นสินค้าหรือบริการที่เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการสามารถจ่ายแบบเงินผ่อนได้ กระทั่งกลายมาเป็นที่มาของประโยคอย่าง "ถ้าเจองูกับเจอแขกให้ตีแขกก่อนตีงู" ซึ่งบริบทของการผ่อนสินค้ากับแขกยังมีปรากฏอยู่ในเพลงของพุ่มพวง ดวงจันทร์ (เงินนะมีไหม) ด้วยเช่นเดียวกัน
    หนังสือ : ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า
    โดย : อารตี อยุทธคร, อริยา เศวตามร์ และยศ สันตสมบัติ
    จำนวน : 256 หน้า
    .
    "ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า" หนังสือเล่มนี้มาจากโครงการวิจัยเรื่อง "เครือข่ายข้ามแดนและการสร้างอัตลักษณ์ของชุมชนชาวอินเดียในเชียงใหม่" ที่มุ่งการศึกษาไปที่เรื่องของอัตลักษณ์ทางชาติพุนธุ์ของคนอินเดียในพื้นที่จังหวักเชียงใหม่ ซึ่งนี่เป็นครั้งแรกที่เราในฐานะของผู้อ่านได้เห็นถึงความยิ่งใหญ่และความสำคัญของชุมชนอินเดียในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ที่แพร่กระจายไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของภาคเหนือของประเทศไทยในกาลต่อมา
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า" วิธีการเล่าเรื่องของหนังสือนั้นจะอยู่ในลักษณะที่ในแต่ละบทของหนังสือจะมี "สรุปท้ายบท" ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการช่วยขมวดปมในตอนท้ายของเนื้อหาในแต่ละส่วนเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความเชื่อมร้อยของเนื้อหาในบทนั้น ๆ ได้ โดยเนื้อหาในแต่ละบทของ "ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า" ประกอบไปด้วย
    .
    บทนำ
    .
    บทที่ 1 อัตลักษณ์การข้ามแดนและการเมืองเรื่องการข้ามชาติ
    .
    บทที่ 2 การตั้งถิ่นฐานของชาวอินเดียในเชียงใหม่
    .
    บทที่ 3 เครือข่ายศาสนากับการสร้างอัตลักษณ์กลุ่มของชาวอินเดีย
    .
    บทที่ 4 การสร้างอัตลักษณ์ของชาวอินเดียผ่านเครือข่ายครอบครัวและเครือข่ายการค้า
    .
    บทที่ 5 ชาตินิยม ความเป็นพลเมือง และความสัมพันธ์กับสถาบัน
    .
    บทที่ 6 บทสรุป
    .
    "ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า" แสดงให้เราเห็นและเข้าใจถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่นของชุมชนอินเดียในจังหวัดเชียงใหม่ ที่มิใช่แค่กลุ่มชนชนที่เกิดขึ้นมาจากการรวมกลุ่มของกลุ่มคนอินเดียที่ตั้งรกรากในพื้นที่เชียงใหม่เท่านั้น หากแต่ "ชุมชนอินเดียเชียงใหม่: อัตลักษณ์ ศาสนา และเครือข่ายการค้า" ได้ฉายให้เราเห็นเครือข่ายและโครงข่ายคงามสำคัญและความสัมพันธ์ของชุมชนอินเดียในเชียงใหม่ที่ส่งผลและมีอิทธิพลต่อชุมชนอินเดียในท้องถิ่นพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคเหนือ ทั้งในมิติของชุมชน ศาสนาความเชื่อและกลไกทางการค้า ที่ทุกสิ่งต่างส่งผลกระทบต่อกันในการสร้างปฏิสัมพันธ์ของชุมชนท้องถิ่นของคนอินเดียอพยบทั้งในเชียงใหม่และในท้องที่ต่าง ๆ ของภาคเหนือ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in