เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง By แถมสุข นุ่มนนท์
  • รีวิวเว้ย (1356) ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรหรือกลุ่มผู้นำคณะราษฎร ในห้วงเวลาหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย (ในแบบเรียน) เวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่ประวัติศาสตร์ขาดหายไปช่วงหนึ่ง (คล้ายตอนทานอสดีดนิ้ว-ที่อยู่ดี ๆ ทุกอย่างก็หายไป) การพูดถึงคณะราษฎรและสิ่งที่เชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับคณะราษฎรกลับมาปรากฏในที่สาธารณะอย่างจริงจังอีกครั้งภายหลัง พ.ศ. 2530 ซึ่งช่วงเวลาก่อนหน้าอาจจะมีงานศึกษาทางวิชาการที่ทำการศึกษาเรื่องของคณะราษฎรอยู่บ้าง หากแต่ไม่ปรากฏชัดและเป็นกระแสดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (2566) การกลับมาอีกครั้งของคณะราษฎรทั้งในฐานะของสัญลักษณ์ประชาธิปไตยและสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนแปลง ในหลายหนการกลับมาอีกครั้งของกลุ่มที่ถูกยกฐานะให้เป็น "วีรบุรุษ/วีรสตรี" ส่งผลต่อการมองชุดข้อมูลอย่างรอบด้านกระทั่งหลายหนมันนำไปสู่การสร้างข้อสรุปที่อาจจะไม่ถูกต้องนัก แน่นอนว่าการกลับมาอีกหนของกระแสงานศึกษาที่เกี่ยวกับคณะราษฎรและเหตุการณ์ในคาบเวลาดังกล่าวปรากฏมากเข้า การย้อนกลับไปอ่านงานยุคแรกที่ทำการศึกษาในเรื่องของคณะราษฎร ทั้งในมิติของเหตุการณ์ บุคคล และสังคมจึงจำเป็นไม่แพ้การศึกษางานกลุ่มใหม่ที่อ่าน ศึกษา ตีความ บุคคล กลุ่มบุคคลและเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น
    หนังสือ : เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
    โดย : แถมสุข นุ่มนนท์
    จำนวน : 168 หน้า
    .
    "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 4 ใน วาระครบรอบ 78 ปีวันสันติภาพไทย ได้มีการปรับปรุงจากการพิมพ์ครั้งก่อนหน้า (พ.ศ. 2548) "โดยบรรณาธิการเล่มได้คงต้นฉบับไว้ตามเดิม แต่ตัดส่วนภาคผนวกออกไป และมีการใช้ภาพประกอบจากหนังสือ 'เมืองไทย: หนังสือภาพ' ที่จัดทำโดยกรมโฆษณาการ เมื่อ พ.ศ. 2484 ..." สำหรับหนังสือ "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง" มุ่งเน้นในการนำเสนอเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมไทย ในห่วงเวลาแห่งสงครามที่เกิดขึ้นทั้วทุกพื้นที่ของโลกใบนี้ และประเทศไทยเองก็เข้าร่วมสงครามครั้งดังกล่างกระทั่งในกาลต่อมาการเข้าร่วมสงครามของรัฐบาลจอมพล ป. ส่งผลกระทบต่อการเมืองไทยอย่างมีนัยสำคัญ
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง" มีลักษณะของการเล่าเรื่องราวของสังคม สภาพการเมือง เศรษฐกิจและการเข้ามาของทัพต่างชาติในช่วงเวลาดังกล่าว ผ่ายรูปแบบของการเล่าเรื่องในลักษณะของบทความขนาดไม่ยาวที่แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ดังนี้
    .
    1. ประเทศไทยเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง
    .
    2. การสร้างชาติของจอมพล ป. พิบูลสงคราม
    .
    3. ญี่ปุ่นกับรัฐบาลไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง
    .
    4. เศรษฐกิจสมัยสงคราม
    .
    5. ขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น
    .
    "เมืองไทยสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง" ทำหน้าที่ในการบอกเล่าเรื่องราว เรื่องเล่าและมุมมองของไทยในช่วงเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ในหลากมิติ ที่หนังสือได้ทำการค้นคว้าและนำเสนอมุมมองต่าง ๆ ทั้งผ่ายเหตุการณ์ ตัวบุคคล สถานการณ์และสภาพการณ์ของสังคมไทยในเวลานั้น ที่ประกอบสร้าง ก่อร่างและเสริมให้เหตุการณ์ต่าง ๆ เดินหน้าไปกระทั่งการก่อเกิดขบวนการต่อต้านญี่ปุ่น จนนำมาสู่การเกิดขึ้นของ "วันสันติภาพ" ดังที่ปรากฏและจัดกิจกรรมกันอยู่ในปัจจุบัน
    .
    อ่านหนังสือได้ที่ https://pr.tu.ac.th/journal/2566/ThaiPeace2566/index.html

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in